ความหลากชนิดและประชากรของหอยทากและทากในโรงเรือนปลูกพืช
#1
ความหลากชนิดและประชากรของหอยทากและทากในโรงเรือนปลูกพืช
ปราสาททอง พรหมเกิด, ปิยาณี หนูกาฬ, ดาราพร รินทะรักษ์, สมเกียรติ กล้าแข็ง และทรงทัพ แก้วตา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          การสำรวจชนิดและประชากรหอยทากและทากในโรงเรือนปลูกพืช ได้แก่ โรงเรือนไม้ดอกไม้ประดับ เช่น กล้วยไม้ ดอกเบญจมาศ ดอกหน้าวัว โรงเรือนปลูกผัก เช่น ผักชีฝรั่ง ผักกาด ผักคะน้า โรงเรือน เพาะชำกล้าไม้ เช่น เพาะชำกล้าไม้ยืนต้นของกรมป่าไม้ เพาะชำกล้าไม้สำหรับขาย เพาะชำกล้าต้นหม่อน เพาะชำกล้าไม้ยางพารา และโรงเรือนส้มปลอดโรค พื้นที่จังหวัดต่างๆ ในภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก และภาคใต้ของประเทศ ด้วยการใช้ตารางสุ่มขนาด 1 ตารางเมตร สุ่มนับประมาณ 10 จุดต่อไร่ ให้กระจายทั่วพื้นที่ อาจเดินสุ่มตามแนวเส้นทแยงมุมทั้งสองด้าน หรือแนวขนานกับพื้นที่ พร้อมทั้งเก็บหอยที่มีชีวิตอยู่มาเลี้ยงที่กลุ่มงานสัตววิทยาการเกษตร และเก็บรวบรวมเปลือกหอยมาทำความสะอาดเพื่อชั่งน้ำหนักและวัดขนาดแล้วเก็บไว้เป็นตัวอย่างใช้จำแนกชนิดของหอยพร้อมทั้งเก็บดินหรือวัสดุปลูกจากแปลงมาวัดความชื้นและความเป็นกรด - ด่าง และบันทึกสภาพแวดล้อมในโรงเรือน จากการสำรวจพบว่าหอยและทากหลายชนิดในโรงเรือน ปลูกพืชต่างๆ จำแนกเป็นชนิด (ช่วงจำนวนประชากรหอยทากหรือทากเฉลี่ย ตัว/ม2 ) ได้แก่ ชนิดที่เป็นศัตรูพืชที่สำคัญ พบทากเล็บมือนาง (0.1 – 2.9) หอยดักดาน (0.1 - 12.2) หอยสาริกา (0.1 – 4.3) หอยทากยักษ์แอฟริกา (0.2 – 5.3) หอยเจดีย์เล็ก (0.1 – 4.3) หอยเจดีย์ใหญ่ (0.2- 3.4) หอยแรบบิดินา (4.2) และหอยซัคซิเนีย (0.3 - 45.0)


ไฟล์แนบ
.pdf   2502_2555.pdf (ขนาด: 666.52 KB / ดาวน์โหลด: 1,575)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม