การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Phytophthora capsici
#1
การศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Phytophthora capsici {[(Leonian) emend. A. Alizadeh and P. H. Tsao] Tsao } Mchan and Coffey
อมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี และพีระวรรณ พัฒนวิภาส
ผู้เชี่ยวชาญ และกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

         ได้เก็บรวบรวมตัวอย่างโรคเหี่ยวของพริก ระหว่างเดือนตุลาคม 2553 - เดือนกันยายน 2555 จากจังหวัดเชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน เพชรบูรณ์ ตาก และศรีสะเกษ เพื่อศึกษาชีววิทยาและนิเวศวิทยาของรา Phytophthora capsici พบโรครากเน่าโคนเน่าพริกหวานหรือพริกยักษ์ โรครากเน่าโคนเน่าพริกขี้หนู โรครากเน่าโคนเน่ามะเขือยาว โรครากเน่าโคนเน่าพริกขี้หนู และโรครากเน่าโคนเน่าพริกหนุ่ม เมื่อแยกเชื้อบริสุทธิ์ได้รา Phytophthora sp. จำนวน 14 ไอโซเลท ราทำให้พืชแสดงอาการเหี่ยวทั้งต้น ตั้งแต่ยอด ใบ และผล รากและโคนต้นถูกทำลาย เกิดอาการรากเน่า โคนเน่า และทำให้เกิดอาการเน่าคอดิน ราสร้างเส้นใยที่เจริญได้ดีบนอาหารวุ้นแครอท และสร้างสปอร์จำนวนมากบนอาหารแข็ง เมื่อสปอร์มีอายุมากขึ้นจะหลุดออกจากก้านชูสปอร์ได้ง่าย โดยมีก้านสปอร์ขนาดยาวติดอยู่ ด้านบนของสปอร์มีส่วนเปิดสำหรับเป็นทางออกของสปอร์ที่มีหางและว่ายน้ำได้เด่นชัด รา P. capsici ทำให้พืชทดสอบ ได้แก่ พริกหวาน พริกหยวก พริกชี้ฟ้า พริกขี้หนู มะเขือเทศ ตำลึง และเส็ง เป็นโรค แผลขยาย 10 – 20 มิลลิเมตร แสดงอาการแผลเน่าสีน้ำตาลดำถึงสีดำ


ไฟล์แนบ
.pdf   2509_2555.pdf (ขนาด: 296.87 KB / ดาวน์โหลด: 2,047)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม