ศึกษาชนิดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งสกุล Phenacoccus
#1
ศึกษาชนิดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งสกุล Phenacoccus
จรรยา มณีโชติ, ชลิดา อุณหวุฒิ, สุพัตรา ชาวกงจักร์, ปรัชญา เอกฐิน, ชมัยพร บัวมาศ, วนิดา ธารถวิล และยุรวรรณ อนันตนมณี
ผู้เชี่ยวชาญ, กลุ่มวิจัยวัชพืช และกลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนย์วิจัยและพัฒนาการการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3

          ผลการสำรวจแปลงปลูกมันสำปะหลัง 42 แปลง ในภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ ในระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2553 - มีนาคม 2554 เพื่อศึกษาชนิดของวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งในสกุล Phenacoccus พบว่ามีการระบาดของเพลี้ยแป้งสกุล Phenacoccus จำนวน 2 ชนิด คือ เพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู (P. manihoti) และเพลี้ยแป้งเขียว (P. madeirensis) ส่วนใหญ่ที่พบเป็นเพลี้ยแป้งมันสำปะหลังสีชมพู มากกว่าเพลี้ยแป้งเขียว พบวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งสกุล Phenacoccus ทั้งหมด 10 ชนิด ได้แก่ สาบม่วง (Praxelis clematidae) ครอบจักวาล (Abutilon indicum) หญ้าท่าพระ (Ricardia brasiliensis) ถั่วลิสงนา (Alysicarpus vaginalis) พันงูขาว(Achyranthes aspera) ตดหมูตดหมา (Paederia spp.) สะอึก (Ipomoea spp.) กระต่ายจาม (Scoparia dulcis) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium) และหญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum pedicellatum) โดยที่สาบม่วงเป็นวัชพืชที่พบเพลี้ยแป้งทั้งสองชนิดอาศัยมากที่สุด โดยเฉลี่ยพบเพลี้ยแป้งสีชมพู (P. manihoti) จำนวน 99 ตัว และถุงไข่ 15 ถุงต่อต้น เพลี้ยแป้งสีเขียว (P. madeirensis) จำนวน 9 ตัว และถุงไข่ 4 ถุงต่อต้น ดังนั้น การกำจัดวัชพืชที่เป็นพืชอาศัยของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง นอกจากจะช่วยลดการระบาดของเพลี้ยแป้งแล้ว ยังช่วยลดการแก่งแย่งน้ำ แสงแดด และธาตุอาหาร ในมันสำปะหลังได้


ไฟล์แนบ
.pdf   2522_2555.pdf (ขนาด: 534.17 KB / ดาวน์โหลด: 873)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม