การคัดเลือกต้นตอที่ต้านทานหรือทนทานต่อโรคเหี่ยวและโรครากปมของฝรั่ง
#1
การคัดเลือกต้นตอที่ต้า นทานหรือทนทานต่อโรคเหี่ยวและโรครากปมของฝรั่ง
มนตรี เอี่ยมวิมังสา, ธิติยา สารพัฒน์ ไตรเดช ข่ายทอง และอดุลยรัตน์ แคล้วคลาด
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และศูนยวิจัยและพัฒนาการเกษตรนครปฐม สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5
         
       เรื่องการคัดเลือกต้นตอที่ต้านทานต่อโรคเหี่ยวและโรครากปมของฝรั่ง วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ต้นตอฝรั่งชนิดใดชนิดหนึ่งที่สามารถทนทานหรือต้านทานต่อโรครากปมฝรั่งได้และเหมาะสมต่อฝรั่งพันธุ์การค้า เช่น พันธุ์กิมจู แป้นสีทอง เย็น2 และพันธุ์อื่นๆ ทั้งที่ผลรับประทานสดและผลิตเพื่อป้อนโรงงานอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ สามารถแก้ปัญหาโรครากปมฝรั่งให้แก่เกษตรได้ทุกแหล่งปลูก เนื่องจากปัจจุบันเกษตรกร อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี หรืออ.บ้านแพ้ว จ.สมุทรสาคร และอ.สามพราน จ.นครปฐม มีปัญหาการระบาดของไส้เดือนฝอยรากปมในฝรั่งรุนแรงมากในขณะนี้ทำให้ได้ผลผลิตน้อยลงมาก และอายุของฝรั่งสั้นลง เหลือง แคระแกร็น ต้นโทรมเร็ว และที่สำคัญยังไม่มีหน่วยงานของรัฐเข้าไปช่วยเหลือและแนะนำเกษตรกรอย่างเต็มที่ เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ยังขาดความรู้เกี่ยวกับไส้เดือนฝอยและการจัดการอย่างถูกต้อง การลงทุนของเกษตรกรจึงสูงแต่กลับได้ผลตอบแทนน้อย เกิดภาวะไม่คุ้มทุน จนสุดท้ายเกษตรกรต้องตัดต้นฝรั่งทิ้ง ดังนั้นขั้นแรกจึงต้องทำการสำรวจแหล่งระบาดของโรครากปมฝรั่งในแหล่งปลูกต่างๆ เสียก่อน เนื่องจากไส้เดือนฝอยรากปมสาเหตุโรครากปมฝรั่งอาศัยอยูในดินการควบคุมโรคจะต้องมีการจัดการที่ดีเพราะมีสภาพอากาศเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของไส้เดือนฝอย ชนิดของพืชอาศัยก็หลากหลาย ไส้เดือนฝอยรากปมสามารถมีชีวิตอยู่ได้อย่างสบายมีอาหารกินตลอดปี ฝรั่งพันธุ์แป้นสีทอง กิมจู เป็นพันธุ์การค้าที่นิยมรับประทานและเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรครากปม เชื้อสามารถเข้าทำลายรากทำให้เกิดรากปมง่ายสำหรับการแก้ปัญหาในระยะเร่งด่วนคือ การใช้สารเคมีแต่สารเคมีที่ใช้ในการควบคุมไส้เดือนฝอยยังมีน้อยมากในปัจจุบัน การแก้ปัญหาในระยะยาวคือ การใช้ต้นตอฝรั่งพันธุ์ทนทานหรือต้านทานการเข้าทำลายระบบรากฝรั่งของไส้เดือนฝอยรากปม

          ดังนั้นจึงต้องหาต้นตอฝรั่งที่ทนทานหรือต้านทานของฝรั่งให้ได้โดยการคัดเลือกจากต้นฝรั่งพันธุ์พื้นเมืองหรือพันธุ์ไทยซึ่งมีความหลากหลายอยู่แล้วในประเทศไทย นำมาใช้ในการผลิตกิ่งพันธุ์ฝรั่งพร้อมปลูกทดแทนการใช้กิ่งตอนซึ่งไม่เหมาะในการนำมาใช้เป็นกิ่งพันธุ์อีกต่อไปเพราะไม่สามารถต่อสู้กับไส้เดือนฝอยรากปมได้เลย


ไฟล์แนบ
.pdf   2049_2554.pdf (ขนาด: 101.88 KB / ดาวน์โหลด: 723)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม