พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมา สาเหตุโรคใบขาวอ้อยด้วยกรดนิวคลีอิกตัวตรวจ
#1
พัฒนาเทคนิคการตรวจสอบเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อยด้วยกรดนิวคลีอิกตัวตรวจ
กาญจนา วาระวิชะนี, วันเพ็ญ ศรีทองชัย และปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาสน์
กลุ่มงานไวรัสวิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช


          อ้อยเป็นพืชอุตสาหกรรมหลักอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทยที่น ารายได้เข้าประเทศในปีหนึ่งๆ มากกว่าหมื่นล้านบาท และในปัจจุบันอ้อยยังเป็นวัตถุดิบที่สำคัญอย่างหนึ่งในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล จากศักยภาพดังกล่าวจึงต้องมีการขยายพื้นที่ปลูกให้เพิ่มมากขึ้นซึ่งส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แต่ผลผลิตที่ได้ต่อหน่วยพื้นที่ปลูกกลับมีแนวโน้มลดลง ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้อ้อยสูญเสียผลผลิตไปมาก คือ ปัญหาของโรคใบขาวที่เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา ในปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีใดที่สามารถแก้ไขปัญหานี้ได้ ดังนั้นวิธีการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคที่ดีที่สุด คือ การปลูกอ้อยโดยใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากโรคควบคู่กับการจัดการในแปลงผลิต ดังนั้น วิธีการตรวจสอบที่มีความแม่นยำจึงสามารถตรวจการปนเปื้อนโรค โดยทำการออกแบบไพร์เมอร์ที่มีความจำเพาะเจาะจงกับเชื้อไฟโตพลาสมาสาเหตุโรคใบขาวอ้อย คือ ยีนในส่วน Sec A gene โดยออกแบบไพร์เมอร์ 2 คู่ คือ SecA-F & SecA-R และ SecAfor1 & SecArev3 ที่ให้แถบดีเอ็นเอขนาดประมาณ 400 เบส และ 800 เบส ตามลำดับ เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับข้อมูลใน genbank พบว่าเหมือนมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ จึงทำการออกแบบไพร์เมอร์ใหม่ให้ได้ขนาดยีนของ Sec A ที่ยาวขึ้น เพื่อประโยชน์สำหรับการหาตำแหน่งที่เหมาะสมของการสร้างกรดนิวคลีอิกตัวตรวจ และหายีนตำแหน่งอื่นๆ เพิ่มเติม พร้อมหายีนใหม่มาเพื่อประโยชน์สำหรับการหาตำแหน่งที่เหมาะสมของการสร้างกรดนิวคลีอิกตัวตรวจและนำมาเปรียบเทียบกับประสิทธิภาพของกรดนิวคลีอิกตัวตรวจในส่วน 16 SDNA ต่อไปในปีงบประมาณ 2556


ไฟล์แนบ
.pdf   2531_2555.pdf (ขนาด: 178.89 KB / ดาวน์โหลด: 1,277)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม