การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของรา S. rayssiae และ S. macrospora
#1
การเฝ้าระวังการเกิดและการแพร่กระจายของรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างของข้าวโพด
พีระวรรณ พัฒนวิภาส, ทัศนาพร ทัศคร, บูรณี พั่ววงษ์แพทย์ และอมรรัตน์ ภู่ไพบูลย์
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          รวบรวมข้อมูลพื้นฐานของข้าวโพดและของเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora จากเอกสารวิชาการและเวบไซด์ ได้สำรวจพื้นที่และวางแผนการเก็บข้อมูลโรคราน้ำค้างข้าวโพดในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ ในปี พ.ศ. 2551 จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.เชียงราย จ.ตาก จ.นครราชสีมา และจ.สระบุรี สุ่มเก็บตัวอย่างโรคราน้ำค้างข้าวโพดจำนวน 2 ครั้ง เมื่อข้าวโพดอายุประมาณ 3 - 4 สัปดาห์ และเมื่อข้าวโพดที่อายุประมาณ 7 - 8 สัปดาห์ ที่อ.เมือง จังหวัดเชียงราย จำนวน 2 แปลง ที่อ.แม่ระมาด และอ.แม่สอด จังหวัดตาก จำนวน 4 แปลง ที่อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา จำนวน 3 แปลง อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี จำนวน 1 แปลง ไม่พบเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างข้าวโพดในแปลงเก็บข้อมูล และปี พ.ศ. 2552 ได้สำรวจพื้นที่และวางแผนการเก็บข้อมูลโรคราน้ำค้างข้าวโพดซ้ำในพื้นที่เดิม ไม่พบเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างข้าวโพดในแปลงเก็บข้อมูล ในปี พ.ศ. 2553 ได้สำรวจพื้นที่และวางแผนการเก็บข้อมูลโรคราน้ำค้างข้าวโพดในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดเพื่อผลิตเมล็ดพันธุ์ จำนวน 4 จังหวัด ได้แก่ จ.กาญจนบุรี จ.นครสวรรค์ จ.สระบุรี และจ.ลพบุรี เก็บตัวอย่างโรคราน้ำค้างข้าวโพด ที่อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ อ.เมือง อ.ท่าม่วง จ.กาญจนบุรี จำนวน 4 แปลง แปลงปลูกข้าวโพด อ.เมือง อ.พัฒนานิคม จ.ลพบุรี และกิ่งอ.วังม่วง จ.สระบุรี จำนวน 16 แปลง ไม่พบเชื้อรา Sclerophthora rayssiae และ Sclerophthora macrospora สาเหตุโรคราน้ำค้างข้าวโพดในแปลงเก็บข้อมูล


ไฟล์แนบ
.pdf   1673_2553.pdf (ขนาด: 86.08 KB / ดาวน์โหลด: 720)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม