อิทธิพลของระบบกรีดที่มีผลต่อพันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 251
#1
อิทธิพลของระบบกรีดที่มีผลต่อพันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 251
ศจีรัตน์  แรมลี, นภาวรรณ  เลขะวิพัฒน์ และสุรเดช  ปัจฉิมกุล
ศูนย์วิจัยยางหนองคาย  สถาบันวิจัยยาง

          การทดลองเรื่องอิทธิพลของระบบกรีดต่อพันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 251 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลกระทบของระบบกรีดต่อพันธุ์ยางสถาบันวิจัยยาง 251 โดยศึกษาในแปลงยางพันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 ภายในศูนย์วิจัยยางหนองคาย วางแผนการทดลองวางแผนการทดลองแบบ Randomized Complete Block Design จำนวน 3 ซ้ำ 7 วิธีการ ๆ ละ 12 ต้น ได้แก่ วิธีการที่ 1 กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน (1/2S d/2) วิธีการที่ 2 กรีดครึ่งลำต้นกรีดสองวันเว้นหนึ่งวัน (1/2S 2d/3) วิธีการที่ 3 กรีดครึ่งลำต้นกรีดสามวันเว้นหนึ่งวัน (1/2S 3d/4) วิธีการที่ 4 กรีดหนึ่งในสามของลำต้น กรีดสองวันเว้นหนึ่งวัน (1/3S 2d/3) วิธีการที่ 5 กรีดหนึ่งในสามของลำต้น กรีดสามวันเว้นหนึ่งวัน (1/3S 3d/4) วิธีการที่ 6 กรีดครึ่งลำต้นสลับหน้ากรีดวันเว้นวัน (1/2S d/2, Double cut) วิธีการที่ 7 กรีดครึ่งลำต้นสลับหน้ากรีดวันเว้นสองวัน (1/2S d/3, Double cut) ระหว่างเดือนตุลาคม 2551 ถึงเดือนกันยายน 2553 เป็นเวลา 2 ปี ผลการทดลองพบว่า วิธีการที่ 6 กรีดครึ่งลำต้นสลับหน้ากรีดวันเว้นวันให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นต่อครั้งกรีดสูงที่สุดให้ผลผลิตเฉลี่ย 60.39 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด สูงกว่าระบบกรีดปกติคือวิธีการที่ 1 กรีดครึ่งลำต้นวันเว้นวัน 41.3 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่การใช้ระบบกรีดถี่และหน้ากรีดสั้นคือ วิธีการที่ 4 กรีดหนึ่งในสามของลำต้นกรีดสองวันเว้นหนึ่งวันและวิธีการที่ 5 กรีดหนึ่งในสามของลำต้นกรีดสามวันเว้นหนึ่งวัน ให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อต้นต่ำที่สุดคือ 31.06 และ 32.93 กรัมต่อต้นต่อครั้งกรีด ต่ำกว่าวิธีการกรีดปกติ  27.3 และ 23.0 เปอร์เซ็นต์ ความยาวของหน้ากรีดมีผลต่อผลผลิตเฉลี่ยของยางโดยความยาวของหน้ากรีด 1/3 ของลำต้นให้ผลผลิตเฉลี่ยต่อครั้งกรีดต่ำกว่าความยาวของหน้ากรีด 1/2 ของลำต้นในความถี่การกรีดที่เหมือนกันและผลผลิตรวมของวิธีการที่ 3 กรีดครึ่งลำต้นกรีดสามวันเว้นหนึ่งวัน ถึงแม้จะให้ผลผลิตรวมสูงที่สุดคือ 326.3 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปี แต่การสิ้นเปลืองเปลือกสูงเช่นเดียวกัน


ไฟล์แนบ
.pdf   1526_2552.pdf (ขนาด: 279.66 KB / ดาวน์โหลด: 978)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม