การจำแนกข้อมูลด้วยดาวเทียมและระดับการให้ผลผลิตของมันสาปะหลังในจังหวัดกาแพงเพชร
#1
การจำแนกข้อมูลด้วยดาวเทียมและระดับการให้ผลผลิตของมันสาปะหลังในจังหวัดกาแพงเพชร
วลัยพร  ศะศิประภา, นรีลักษณ์ วรรณสาย, สุกิจ รัตนศรีวงษ์, สุภาพร ราจันทึก และณิชา โป๋ทอง
ศูนย์สารสนเทศ

          ข้อมูลด้วยดาวเทียมธีออสนำมาศึกษาใช้จำแนกระดับการให้ผลผลิตของมันสาปะหลัง โดยใช้จังหวัดกำแพงเพชรเป็นพื้นที่ศึกษา ซึ่งมีความแตกต่างของการใช้พันธุ์ของเกษตรกรน้อยที่สุด เพื่อศึกษาการใช้ดัชนีพืชพรรณในการจำแนกระดับการให้ผลผลิตของมันสำปะหลัง และศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้มาจากกระบวนการจำแนกข้อมูลด้วยดาวเทียม THEOS กับผลผลิตคาดการณ์ที่ได้จากแบบจำลองการผลิตมันสำปะหลัง ดำเนินการศึกษาระหว่างปี พ.ศ. 2552-2554 พบว่า ผลผลิตมันสำปะหลังโดยรวมมีสหสัมพันธ์กับดัชนีพืชพรรณ NDVI ของข้อมูลดาวเทียมธีออสในเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2552 ที่ 99% (R2=0. 294** and 0.380** ตามลาดับ) แต่เมื่อพิจารณาเป็นกลุ่มพันธุ์และอายุรวม 6 กลุ่ม (1.พันธุ์ระยอง 5 รอเก็บเกี่ยวข้ามปี 2.พันธุ์ระยอง 5 ปีเดียว 3.พันธุ์ระยอง 5 ข้ามปี 4.พันธุ์อื่นๆ รอเก็บข้ามปี 5.พันธุ์อื่นๆ ปีเดียว 6.พันธุ์อื่นๆ ข้ามปี) แล้วพบว่า มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ที่ปลูกและเก็บเกี่ยวภายใน 1 ปี ผลผลิตมีสหสัมพันธ์ทางบวกกับดัชนีพืชพรรณ NDVI ของเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม 2552 ที่ 99% (R2=0. 596** and 0.619**ตามลาดับ) ส่วนกลุ่มอื่นๆ ของระยอง 5 ทั้งที่เป็นมันสำปะหลัง 2 ปี และมันสำปะหลังที่จะข้ามปีหรือเก็บเกี่ยวในปีหน้าไม่มีสหสัมพันธ์กับดัชนีพืชพรรณ NDVI และสามารถใช้ดัชนีพืชพรรณ NDVI ของเดือนพฤศจิกายนเพียงตัวแปรเดียวทำนายผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ที่เก็บเกี่ยวใน 1 ปีได้ (R2 = 0.386*) ด้วยสมการถดถอย = 2.2 + 8.065 (NDVI เดือนพฤศจิกายน) แต่ดัชนีพืชพรรณ NDVI ไม่สามารถใช้ประเมินผลผลิตมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ที่ปลูกข้ามปีมาหรือไม่สามารถคาดการณ์ผลผลิตของมันสำปะหลังที่จะเก็บเกี่ยวในปีถัดไปได้ รวมทั้งมันสำปะหลังพันธุ์คละ อย่างไรก็ตาม มันสำปะหลังที่เก็บเกี่ยวข้ามปีผลผลิตจะสูงกว่ามันสำปะหลังที่ปลูกและเก็บเกี่ยวใน 1 ปี จึงทำให้พบความสัมพันธ์ระหว่างดัชนีพืชพรรณ NDVI กับผลผลิตในทางบวกเมื่อวิเคราะห์ในภาพรวม ส่วนผลผลิตคาดการณ์ที่ได้จากแบบจาลองมันสำปะหลัง GUMCAS ไม่มีสหสัมพันธ์กับคำดัชนีพืชพรรณ NDVI ในเดือนพฤศจิกายนและเดือนธันวาคม ในมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 เก็บเกี่ยวที่อายุ 1 ปี เนื่องจากผลผลิตคาดการณ์จากแบบจำลองพืชของพื้นที่จังหวัดกำแพงเพชรมีสภาพแวดล้อมไม่แตกต่างกันมาก ทำให้ผลผลิตคาดการณ์ที่ได้ไม่แตกต่างกันมากนัก จึงเป็นข้อจำกัดในการใช้ข้อมูลดาวเทียมร่วมกับผลผลิตคาดการณ์จากแบบจำลองพืชสำหรับพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีสภาพแวดล้อมไม่แตกต่างกันมากนัก แต่ในพันธุ์คละกลับมีความสัมพันธ์ทางบวกกับดัชนีพืชพรรณ NDVI


ไฟล์แนบ
.pdf   1871_2554.pdf (ขนาด: 159.36 KB / ดาวน์โหลด: 779)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม