ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชประเภทหลังงอกในอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ
#1
ทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชประเภทหลังงอก (post-emergence) ในอ้อยปลูกใหม่และอ้อยตอ
สิริชัย สาธุวิจารณ์, สุพัตรา ชาวกงจักร์, นิมิต วงศ์สุวรรณ, จรรยา มณีโชติ และตรียนัย ตุงคะเสน
กลุ่มบริหารศัตรูพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ผู้เชี่ยวชาญ สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3 และสถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน

การทดสอบประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชของสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอกในอ้อย เพื่อให้ได้วิธีการจัดการวัชพืชประเภทหลังงอกที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด ปลอดภัย ลดต้นทุน และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในการผลิตอ้อย ดำเนินการทดลองระหว่างเดือนตุลาคม 2555-กันยายน 2556 ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาฬสินธุ์ อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ ทำการทดลอง 2 แปลงทดลอง คือ แปลงอ้อยปลูกใหม่ และแปลงอ้อยตอ วางแผนการทดลองแบบ RCB จ านวน 4 ซ้ำ มี 10 กรรมวิธี ได้แก่ การพ่นสารกำจัดวัชพืช ametryn, 2,4-D, hexazinone/diuron, paraquat, trifloxysulfuron-sodium/ ametryn, trifloxysulfuron /ametryn+paraquat, ametryn+2,4-D และ paraquat+diuron อัตรา 480, 200, 200, 200, 300, 240+55.2, 400+200 และ 180+320 กรัมสารออกฤทธิ์/ไร่ ตามลำดับ กรรมวิธีกำจัดวัชพืชด้วยแรงงานและกรรมวิธีไม่กำจัดวัชพืช ปฏิบัติและดูแลรักษาอ้อยที่ปลูกตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ผลการทดลองพบว่า การพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat+diuron สามารถควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยปลูกใหม่ได้ดี ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืช และไม่เป็นพิษต่ออ้อยเล็กน้อย วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.). Scop.) หญ้าขจรจบดอกเล็ก (Pennisetum polystachyon (L.) Schult.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) ต้นลิ้นงู (Hedyotis corymbosa L.) หญ้าท่าพระ (Richardia brasiliensis Gomez) และสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M. King) การพ่นสารกำจัดวัชพืช paraquat, trifloxysulfuron/ ametryn+paraquat และ paraquat+ diuron สามารถควบคุมวัชพืชในแปลงอ้อยตอได้ดี ที่ระยะ 60 วัน หลังพ่นสารกำจัดวัชพืชและไม่เป็นพิษต่ออ้อย วัชพืชหลักที่สามารถควบคุมได้ คือ หญ้าตีนนก (Digitaria sanguinalis (L.). Scop.) หญ้าปากควาย (Dactyloctenium aegyptium L.) หญ้าแพรก (Cynodon dactylon (L.) Pres.) และสาบม่วง (Praxelis clematidea R.M. King)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม