การเปรียบเทียบมาตรฐาน: โคลนอ้อยชุด 2548 เพื่อผลผลิตสูงและไว้ตอได้ดี
#1
การเปรียบเทียบมาตรฐาน: โคลนอ้อยชุด 2548 เพื่อผลผลิตสูงและไว้ตอได้ดี
วีระพล พลรักดี , สุชาติ คำอ่อน, บุญญาภา ศรีหาตา, เบญจมาส คำสืบ และอำพร ทองปลิว
ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร, ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย

          การเปรียบเทียบมาตรฐาน: โคลนอ้อยชุด 2548 เพื่อผลผลิตสูงและไว้ตอได้ดี วางแผนการทดลองแบบ RCB มี 20 พันธุ์/โคลน 3 ซ้ำ ขอนแก่น 3 และ เค88-92 เป็นพันธุ์เปรียบเทียบ ดำเนินการทดลองจำนวน 5 แปลง ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ขอนแก่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรร้อยเอ็ด ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรมุกดาหาร ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรเลย และศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา โคลนTPJ04-229 TPJ04-775 TPJ04-713 และTPJ04-627 ให้ผลผลิตอ้อยเฉลี่ยของอ้อยปลูกและตอ1สูง 17.4 17.0 16.5 และ 16.0 ตันต่อไร่ ตามลำดับ มีแนวโน้มสูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 ที่เท่ากับ 15.8 ตันต่อไร่ พันธุ์ขอนแก่น 3 ให้ผลผลิตน้ำตาลและบริกซ์เฉลี่ยของอ้อยปลูกและตอ1สูงที่สุด (2.24 และ 3.12 ตัน/ไร่ ตามลำดับ) และสูงกว่าทุกพันธุ์อย่างมีนัยสำคัญ TPJ04-715 TPJ04-775 TPJ04-229 TPJ04-515 TPJ04-264 TPJ04-627 TPJ04-768 TPJ04-120 TPJ04-713 และ TPJ04-669 ให้ผลผลิตชานอ้อยเฉลี่ยของอ้อยปลูกและตอ1 ในช่วง 2.62-2.37 ตันต่อไร่ สูงกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 2.05 ตันต่อไร่ อย่างมีนัยสำคัญ TPJ04-264 TPJ04-627 TPJ04-715 TPJ04-775 TPJ04-229 TPJ04-120 TPJ04-768 TPJ04-515 และ TPJ04-669 ให้ผลผลิตชีวมวลเฉลี่ยของอ้อยปลูกและตอ1ในช่วง 8.04-6.84ตันต่อไร่ มากกว่าพันธุ์ขอนแก่น 3 5.98 ตันต่อไร่ อย่างมีนัยสำคัญ อ้อยชุด2548 เป็นลูกผสมกลับครั้งที่1ของอ้อยกับพง น้ำหนักต่อลำ ขนาดของลำ และค่าซีซีเอส จะน้อยกว่าอ้อยทั่วๆไป แต่จะมีจำนวนลำเก็บเกี่ยวและเปอร์เซ็นต์เยื่อใยมากว่า และการไว้ตอจะดีกว่าอ้อยทั่วๆ ไป 


ไฟล์แนบ
.pdf   3_2557.pdf (ขนาด: 163.59 KB / ดาวน์โหลด: 859)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม