คลังผลงานวิจัย กรมวิชาการเกษตร

เวอร์ชั่นเต็ม: การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดแมลงหางดีดในเห็ด
หมายเหตุ ดูเวอร์ชันเต็ม
การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดแมลงหางดีดในเห็ด
อุราพร หนูนารถ, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ และสัญญาณี ศรีคชา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการสำรวจแมลงหางดีดในปี พ.ศ. 2552 จากแปลงเพาะเห็ดในเขตภาคกลางพบว่า แมลงหางดีดเป็นแมลงขนาดเล็กจัดอยู่ใน Subclass Apterygota ในอันดับ Collembola และพบกระจายทั่วไป แมลงหางดีดมีสีที่หลากหลายมาก เช่น สีขาว สีเทา สีส้ม สีเขียว และสีแดง แมลงหางดีดมีท่อเล็ก ๆ ติดอยู่บริเวณปลายท้องเรียกว่า collophore ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พบในแมลงหางดีด ทำหน้าที่ยึดติดกับพื้นผิวสัมผัส แมลงหางดีดมีลักษณะเฉพาะคล้ายส้อมที่เรียกว่า furcula ซึ่งอยู่บริเวณตอนปลายส่วนท้อง ใช้ในการกระโดดเมื่อถูกรบกวน แมลงหางดีดพบระบาดในแปลงเห็ดที่มีความชื้นซึ่งสามารถปรับตัว และขยายพันธุ์ได้รวดเร็วจึงทำให้เกิดการระบาดของแมลงหางดีดได้อย่างกว้างขวาง ทำการเก็บตัวอย่าง เลี้ยงขยายและทำสไลด์เพื่อจำแนกชนิด สามารถจำแนกชนิดได้ว่าเป็น Lapidocyrtus cyaneus มีสีน้ำตาลเงินอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ และดำเนินการเลี้ยงขยายในกระป๋องพลาสติกทรงกลม เพื่อให้มีปริมาณมากและนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ และหาแนวทางในการป้องกันกำจัด