การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดแมลงหางดีดในเห็ด
#1
การศึกษาชีววิทยา นิเวศวิทยา และการป้องกันกำจัดแมลงหางดีดในเห็ด
อุราพร หนูนารถ, เทวินทร์ กุลปิยะวัฒน์ และสัญญาณี ศรีคชา
กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          จากการสำรวจแมลงหางดีดในปี พ.ศ. 2552 จากแปลงเพาะเห็ดในเขตภาคกลางพบว่า แมลงหางดีดเป็นแมลงขนาดเล็กจัดอยู่ใน Subclass Apterygota ในอันดับ Collembola และพบกระจายทั่วไป แมลงหางดีดมีสีที่หลากหลายมาก เช่น สีขาว สีเทา สีส้ม สีเขียว และสีแดง แมลงหางดีดมีท่อเล็ก ๆ ติดอยู่บริเวณปลายท้องเรียกว่า collophore ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะที่พบในแมลงหางดีด ทำหน้าที่ยึดติดกับพื้นผิวสัมผัส แมลงหางดีดมีลักษณะเฉพาะคล้ายส้อมที่เรียกว่า furcula ซึ่งอยู่บริเวณตอนปลายส่วนท้อง ใช้ในการกระโดดเมื่อถูกรบกวน แมลงหางดีดพบระบาดในแปลงเห็ดที่มีความชื้นซึ่งสามารถปรับตัว และขยายพันธุ์ได้รวดเร็วจึงทำให้เกิดการระบาดของแมลงหางดีดได้อย่างกว้างขวาง ทำการเก็บตัวอย่าง เลี้ยงขยายและทำสไลด์เพื่อจำแนกชนิด สามารถจำแนกชนิดได้ว่าเป็น Lapidocyrtus cyaneus มีสีน้ำตาลเงินอยู่รวมกันเป็นกลุ่มๆ และดำเนินการเลี้ยงขยายในกระป๋องพลาสติกทรงกลม เพื่อให้มีปริมาณมากและนำมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ และหาแนวทางในการป้องกันกำจัด


ไฟล์แนบ
.pdf   1301_2552.pdf (ขนาด: 117.48 KB / ดาวน์โหลด: 527)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม