ศึกษาสายพันธุ์แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus ที่มีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชเศรษ
#1
ศึกษาสายพันธุ์แบคทีเรียกลุ่ม Bacillus ที่มีศักยภาพในการยับยั้งเชื้อราสาเหตุโรคพืชเศรษฐกิจ
บุษราคัม อุดมศักดิ์ และณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          ในปีที่ 1 - 3 (ต.ค. 2548 – ก.ย. 2551) ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของเชื้อรา Colletrotrichum gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสของพริก Fusarium oxysporum สาเหตุโรคเหี่ยวมะเขือเทศ F. solani สาเหตุโรคเหี่ยวของแตงกวา C. gloeosporioides สาเหตุโรคหอมเลื้อยของหอมหัวใหญ่ และ Phytopthora capsici สาเหตุโรคไหม้ของพริก โดยทำการทดลองที่ห้องปฏิบัติการและเรือนทดลองของกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช การทดสอบในระดับโรงเรือนทดลองพบว่า ไอโซเลท 22W10 และ 20W8 มีประสิทธิภาพในการควบคุมโรคหอมเลื้อยได้สูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลท 2G4 22W10 20W12 17G18 และ 20W4 สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวมะเขือเทศได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ไอโซเลท 17G18 สามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวของแตงกวาได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และไอโซเลท 20W16 สามารถควบคุมโรคไหม้พริกสูงสุดได้ 79.17 เปอร์เซ็นต์ โดยพบว่า ไอโซเลท 17G18 สามารถควบคุมโรคพืชที่ทดสอบในระดับโรงเรือนได้ทุกโรค โดยสามารถควบคุมการเกิดโรคเหี่ยวในแตงกวาและมะเขือเทศได้ 100 เปอร์เซ็นต์ ควบคุมโรคแอนแทรคโนสพริก โรคหอมเลื้อยในหอมหัวใหญ่ และโรคไหม้พริกได้ 99.46 90.50 และ 56.25 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ ในปี พ.ศ. 2550 - 2551 ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus sp. ในการยับยั้งเชื้อรา A. brassicicola สาเหตุโรคใบจุดคะน้า และ C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง และ S. rolfsii สาเหตุโรคลำต้นเน่าถั่วลิสงจากผลการทดลองสามารถคัดเลือก Bacillus sp. 5 ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งเส้นใยเชื้อราสาเหตุโรคพืชที่นำมาทดสอบทั้ง 3 ชนิดคือ ไอโซเลท 20W4 20W1 20W5 20W12 และ17G18 ในการยับยั้งเส้นใยเชื้อรา A. brassicicola สาเหตุโรคใบจุดคะน้า ไอโซเลท 20W1 20W16 20W5 20W17 และ 20W18 ในการยับยั้งเส้นใยเชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง และไอโซเลท 20W16 20W5 20W24 20W21 และ 20W1 ในการยับยั้งเส้นใยเชื้อรา S. rolfsii สาเหตุ โรคลำต้นเน่าถั่วลิสง

          ปีที่4 (ต.ค. 2551 – ก.ย. 2552) ได้ทำการทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus sp. ในการยับยั้งเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำกล้วยไม้สกุลแวนด้า เชื้อรา A. brassicicola สาเหตุโรคใบจุดคะน้า เชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง ในระดับห้องปฏิบัติการ ผลการทดลองพบว่า แบคทีเรีย Bacillus sp. 5 ไอโซเลทที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการยับยั้งเชื้อรา P. palmivora สาเหตุโรคเน่าดำกล้วยไม้สกุลแวนด้า ได้แก่ 2G19 19W42 1G8 (2) 3G23 2G23 ยับยั้งเชื้อรา A. brassicicola สาเหตุโรคใบจุดคะน้า ได้แก่ SA6 20W1 9W14 KA15 20W21 และยับยั้งเชื้อรา C. gloeosporioides สาเหตุโรคแอนแทรคโนสมะม่วง ได้แก่ KA2 9W14 KA16 KA3 และ SA9(= SA4) การทดสอบประสิทธิภาพของ Bacillus sp. ในการควบคุมโรคใบจุดคะน้าในระดับโรงเรือนพบว่า การพ่น Bacillus sp. ก่อนพ่นเชื้อรา Ab ทุกไอโซเลทสามารถลดการเกิดโรคได้เมื่อเปรียบเทียบกับกรรมวิธีควบคุม โดยไอโซเลท 20W1 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการลดการเกิดโรค รองลงมา ได้แก่ 20W5 20W4 20W12 SA6 และ 17G18 ตามลำดับ สำหรับกรรมวิธีการพ่นเชื้อรา Ab ก่อนพ่น Bacillus sp. พบว่า ไอโซเลท 20W12 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมโรค และจากผลการทดลองพบว่า การพ่นแบคทีเรีย Bacillus sp. ก่อนการพ่นเชื้อรา Ab เปอร์เซ็นต์การเกิดโรคต่ำกว่าการพ่น Ab ก่อนพ่น Bacillus sp. การทดสอบการจุ่มผลมะม่วงด้วย cell suspension ของแบคทีเรีย Bacillus sp. จำนวน 5 ไอโซเลทพบว่า ไอโซเลท 20W18 มีประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมการเกิดโรคแอนแทรคโนสบนผลมะม่วง รองลงมาได้แก่ ไอโซเลท 20W5 20W17 20W16 และ 20W17 ตามลำดับ


ไฟล์แนบ
.pdf   1274_2552.pdf (ขนาด: 257.49 KB / ดาวน์โหลด: 704)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม