ศึกษาผลของสภาพน้ำที่มีต่อประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงและอายุการใช้งานของหัวฉีด
#1
ศึกษาผลของสภาพน้ำที่มีต่อประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงและอายุการใช้งานของหัวฉีดที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย (Thrips palmi Karny) ในกล้วยไม้
พฤทธิชาติ ปุญวัฒโท, นลินา ไชยสิงห์, ศรีจ้านรรจ์ ศรีจันทรา, สุภางคนา ถิรวุธ, สิริกัญญา ขุนวิเศษ และสุชาดา สุพรศิลป์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบผลของสภาพน้ำที่มีต่อประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงและอายุการใช้งานของหัวฉีดที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้าย; Thrips palmi Karny ในกล้วยไม้ ระหว่างเดือนตุลาคม 2558 ถึงเดือนกันยายน 2560 ณ. ห้องปฏิบัติการของกลุ่มงานวิจัยการใช้สารป้องกันกำจัดศัตรูพืชและแปลงกล้วยไม้ของเกษตรกร จังหวัดนครปฐม โดยใช้สารฆ่าแมลงแนะนำทั้ง 4 ชนิด ได้แก่ spinetoram 12 %SC อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, carbosulfan 20% EC อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร, emamectin benzoate 1.92% EC อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร และ fipronil 5%SC อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ผสมน้ำที่คุณลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความเป็นกรด - ด่างที่ระดับ pH 4 - 9, ความเค็มที่ระดับ 0.2, 0.5, 1.5 และ 3 g l-1, การน้ำไฟฟ้าของเกลือในน้ำที่ระดับ 250, 750, 1,250 และ 2,500 μmhos cm-1 และความกระด้างที่ระดับ 75, 150, 300 และ 600 mg l-1 as CaCO3 ผลการทดลองพบว่า สารฆ่าแมลงแนะนำทั้ง 4 ชนิด สามารถละลายได้ดีในน้ำทุกคุณลักษณะโดยไม่เกิดการแยกชั้นที่เห็นด้วยสายตา และไม่พบความเป็นพิษต่อพืชบนต้นกล้วยไม้ที่เกิดจากการผสมสารฆ่า แมลงแนะนำในอัตราสูงสุดกับน้ำที่มีคุณลักษณะต่างๆ สำหรับการทดสอบด้านประสิทธิภาพด้วยวิธี bioassays และการทดสอบในสภาพแปลงทดลองพบว่า สภาพน้ำไม่มีผลต่อประสิทธิภาพของสารฆ่าแมลงแนะนำทั้ง 4 ชนิด นอกจากนี้ยังไม่พบผลกระทบของสภาพน้ำที่มีต่ออายุการใช้งานของหัวฉีดชนิดต่างๆ ที่ใช้ในการป้องกันกำจัดเพลี้ยไฟฝ้ายในกล้วยไม้


ไฟล์แนบ
.pdf   79_2560.pdf (ขนาด: 398.8 KB / ดาวน์โหลด: 502)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม