ชีวประวัติและลักษณะทางอนุกรมวิธานของเพลี้ยแป้งมะละกอ
#1
ชีวประวัติและลักษณะทางอนุกรมวิธานของเพลี้ยแป้งมะละกอ
ชมัยพร บัวมาศ, จารุวัตถ์ แต้กุล, ยุวรินทร์ บุญทบ, สุนัดดา เชาวลิต, อิทธิพล บรรณาการ, เกศสุดา สนศิริ, อาทิตย์ รักกสิกร, จอมสุรางค์ ดวงธิสาร และสิทธิศิโรดม แก้วสวัสดิ์
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การศึกษาชีววิทยาของเพลี้ยแป้งมะละกอ (papaya mealybug) Paracoccus marginatus Williams and Granara De Willink โดยนำมาเลี้ยงบนพืชอาหารจ านวน 2 ชนิด ได้แก่ มะละกอและมันสำปะหลัง ณ ห้องปฏิบัติการ กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช พบว่าเพลี้ยแป้งชนิดนี้มีการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ตัวเต็มวัยเมื่อได้รับการผสมพันธุ์จากตัวผู้จะออกลูกเป็นไข่ (oviparity) มีถุงไข่ (ovisac) ปกคุลมไข่ไว้บริเวณปลายส่วนท้องไข่มีลักษณะกลมรี สีของไข่จะค่อยๆ เข้มขึ้นเมื่อใกล้ฟัก การเลี้ยงเพลี้ยแป้งบนใบมะละกอภายในห้องปฏิบัติการที่อุณหภูมิ 27 ± 2 องศาเซลเซียส พบว่าเพลี้ยแป้งมีอายุ 30 - 41 วัน โดยตัวอ่อนวัยที่ 1 อายุ 5 - 9 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 2 อายุ 7 - 15 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 3 อายุ 12 - 18 สามารถวางไข่ได้ 50 – 150 ตัว และการเลี้ยงบนใบมันสำปะหลัง เพลี้ยแป้งมีอายุ 30 - 39 วัน โดยตัวอ่อนวัยที่ 1 อายุ 4 - 9 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 2 อายุ 7 - 15 วัน ตัวอ่อนวัยที่ 3 อายุ 8 - 20 สามารถวางไข่ได้ 50 – 120 ตัว สำหรับตัวอย่างของเพลี้ยแป้งได้นำมาทำสไลด์ถาวรเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลเปรียบเทียบ จัดทำเป็นคู่มือในการจำแนกพร้อมจัดเก็บรักษาไว้ในพิพิธภัณฑ์แมลง


ไฟล์แนบ
.pdf   173_2560.pdf (ขนาด: 524.99 KB / ดาวน์โหลด: 605)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม