เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงวันทองพริก Bactrocera latifrons (Hendel) โดยวิธีผสมผสาน
#1
เทคโนโลยีการป้องกันกำจัดแมลงวันทองพริก Bactrocera latifrons (Hendel) โดยวิธีผสมผสาน
กรกต ดำรักษ์, สัญญาณี ศรีคชา และวิภาดา ปลอดครบุรี
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การทดสอบหาระยะห่างที่เหมาะสมในการใช้เหยื่อพิษโปรตีนในรูปแบบกับดัก สำหรับการป้องกันกำจัดแมลงวันทองพริก Bactrocera latifrons (Hendel) ดำเนินการในแปลงปลูกพริกพันธุ์จินดาของเกษตรที่ ต.หนองพลวง อ.จักราช จ.นครราชสีมา พื้นที่ 2.5 ไร่ โดยทำการเปรียบเทียบวิธีการติดตั้งกับดักเหยื่อพิษโปรตีนรอบแปลงปลูกที่ระยะ 5 เมตร และวิธีการติดตั้งกับดักเหยื่อพิษโปรตีนรอบแปลงปลูกที่ระยะ 10 เมตร โดยมีวิธีการไม่ติดกับดักเหยื่อพิษโปรตีนเป็นตัวเปรียบเทียบในการประเมินการทำลายของแมลงวันทองพริก จากการทดลองพบว่า ในระยะเก็บเกี่ยวผลพริกจนถึงเก็บเกี่ยวผลผลิตรุ่นสุดท้าย พบแมลงวันผลไม้ 3 ชนิด ในกับดักเหยื่อพิษโปรตีน ได้แก่ แมลงวันทองพริก B. latifrons แมลงวันทอง B. dorsalis (Hendel) และแมลงวันแตง B. cucurbitae (Coquillett) โดยพบแมลงวันทองพริก B. latifrons มากที่สุด และพบจำนวนแมลงวันทองพริกเฉลี่ยมากที่สุดในวิธีที่ 1 จำนวน 0.40 ตัว/กับดัก/สัปดาห์ ส่วนเปอร์เซ็นต์การทำลายของแมลงวันทองพริกเฉลี่ยพบต่ำสุด 40.50% ในวิธีที่ 1 และสูงสุด 89.50% ในวิธีที่ 2 สำหรับจำนวนหนอนที่พบในผลพริก พบจำนวนเฉลี่ยมากที่สุดในวิธีที่ไม่ติดกับดักจำนวน 10 ตัว รองลงมา จำนวน 9 ตัว ในวิธีที่ 1 และจำนวน 7.90 ตัว ในวิธีที่ 2 โดยพบในช่วงกลางของระยะการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซึ่งเป็นช่วงที่แปลงปลูกกำลังมีผลผลิตพริกออกมาอย่างต่อเนื่อง และเป็นช่วงเวลาเดียวกันกับที่พบจำนวนแมลงวันทองพริกเฉลี่ย/กับดัก/สัปดาห์ สูงที่สุดเช่นกัน แต่เนื่องจากการดำเนินงานทดลองได้ผลการทดลองเพียงแปลงเดียวจึงยังไม่สามารถสรุปผลการทดลองได้ ต้องมีการทดสอบซ้ำอีกแปลง


ไฟล์แนบ
.pdf   228_2560.pdf (ขนาด: 404.7 KB / ดาวน์โหลด: 1,497)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม