การพัฒนาเครื่องมือและเทคนิคการแยกไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่ติดมากับพืชนำเข้าและส่งออก
#1
การพัฒนาเครื่องมือและเทคนิคการแยกไส้เดือนฝอยศัตรูพืชที่ติดมากับพืชนำเข้าและส่งออก
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และวานิช คำพานิช
กลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          การพัฒนาเครื่องชนิดพ่นหมอก (Mist chamber) เพื่อใช้เป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการตรวจรับรองพืชที่อาจปนเปื้อนไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกัน ติดไปกับชิ้นส่วนของพืชส่งออกและ/หรือพืชนำเข้าโดยประดิษฐ์เป็นเครื่องต้นแบบ 3 รุ่น คือ A B และ C มีโครงสร้างเป็นตู้สี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาด กว้าง x ยาว x สูง เท่ากับ 40 x 150 x 60 45 x 135 x 80 และ 50 x 90 x 65 เซนติเมตร ตามลำดับ โดย Mist chamber รุ่น A และ C ใช้วัสดุราคาถูก โครงสร้างเป็นอลูมิเนียม ผนังตู้เป็นแผ่นพลาสติกใสหนา 3 มิลลิเมตร สามารถประกอบได้ง่ายมีราคา 8,200 และ 5,500 บาท ติดตั้งหัวพ่นหมอก 5 และ 4 หัว เป็นละอองฝอยลงบนกรวยที่วางตัวอย่างรากพืชได้ครั้งละ 20 และ 12 ตัวอย่างของรุ่น A และ C ตามลำดับ สำหรับรุ่น B ใช้โครงสร้างที่แข็งแรงทนทานกว่ารุ่น A และ C เป็นโครงสแตนเลสสั่งทำในประเทศ ราคา 47,508 บาท ประกอบด้วยหัวพ่นหมอก 4 หัว ตรวจได้ครั้งละ 16 ตัวอย่าง เมื่อนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการแยกไส้เดือนฝอย Radopholus similis ที่ปนเปื้อนในรากไม้น้ำ พบว่า ทั้ง 3 รุ่น มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกันในทุกการทดสอบโดยการพ่นหมอกตลอด 48 ชั่วโมง มีผลให้ไส้เดือนฝอยหลุดลอดจากรากพืชมากที่สุดเท่ากับ 7.4 6.8 และ 7.6 ตัวของรุ่น A B และ C ตามลำดับ ในขณะที่การแยกด้วยวิธีเขย่ารากบนเครื่องเขย่า 120 รอบต่อนาที และวิธีแช่รากในน้ำ แยกได้เพียง 0.4 และ 0.2 ตัว ตามลำดับ ในเวลา 48 ชั่วโมง เท่ากัน รวมทั้งมีประสิทธิภาพในการแยก ไส้เดือนฝอยศัตรูพืชชนิดอื่นๆ ได้แก่ Hirschmanniella oryzae ในรากข้าว Aphelenchoides bicaudatus ในรากกล้วยไม้ และ Pratylenchus penetrans ในรากกล้วย ได้ดีกว่าวิธีแยกแบบเขย่ารากและแช่รากในน้ำเช่นกัน จากนั้นนำ Mist chamber รุ่น C ไปติดตั้งให้กับเกษตรกรผู้ผลิตไม้น้ำเพื่อการส่งออก ผลการประเมินการใช้งาน พบว่า เกษตรกรมีความพึงพอใจ เนื่องจากสามารถตรวจแยกไส้เดือนฝอยได้ด้วยตนเอง โดยนำไปใช้ตรวจสอบการแพร่ระบาดของไส้เดือนฝอยศัตรูพืชในบ่อปลูกเพื่อป้องกันกำจัดไม่ให้ระบาดในแหล่งผลิต รวมทั้งได้นำไปติดตั้งพร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีการแยกไส้เดือนฝอยจากรากพืชให้กับกลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำหรับใช้ตรวจรับรองไส้เดือนฝอยศัตรูพืชกักกันในพืชก่อนการส่งออกและพืช
นำเข้าอีกด้วย


ไฟล์แนบ
.pdf   652_2551.pdf (ขนาด: 451.52 KB / ดาวน์โหลด: 538)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม