การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว
#1
การใช้จุลินทรีย์และศัตรูธรรมชาติควบคุมโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว
นุชนารถ ตั้งจิตสมคิด และธารทิพย ภาสบุตร

         การใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ (รา Paecilomyces lilacinus) และศัตรูธรรมชาติใน Order rhabditida (Steinernema siamkayai และ Mononchus sp.) ควบคุมไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. สาเหตุของโรครากปมในกระเจี๊ยบเขียว ทำการทดสอบในสภาพไร่ที่ปลูกในบล็อกวงซีเมนต์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 80 ซม. ในสภาพดินปลูกเป็น infested soil ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนลำปาง จ.ลำปาง โดยนำจุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศัตรูธรรมชาติ รองก้นหลุมก่อนปลูกกระเจี๊ยบเขียว และใส่จุลินทรีย์ปฏิปักษ์และศัตรูธรรมชาติอีก 2 ครั้ง เมื่อพริกอายุ 45 และ 60 วัน ทำการวัดดัชนีการเกิดปมที่ระบบราก ผลการทดสอบพบว่า การใช้รา P. lilacinus ที่อัตรา 10 และ 50 กรัมต่อต้น มีประสิทธิภาพในการควบคุมไส้เดือนฝอย Meloidogyne spp. สามารถลดการเกิดปมได้ 50 - 75 % ของระบบรากและการใช้ S. siamkayai ที่อัตรา 5 ล้านตัวต่อต้น ลดการเกิดปมได้ 25-50 % ของระบบราก ส่วนไส้เดือนฝอย Mononchus sp. ในอัตรา 500 ตัวต่อต้น ไม่สามารถลดการเกิดปมได้เมื่อเปรียบเทียบกับ inoculated control


ไฟล์แนบ
.pdf   965_2551.pdf (ขนาด: 958.35 KB / ดาวน์โหลด: 474)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม