การศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีในการกำจัดเชื้อ Acidovorax avenae subsp. citrulli
#1
การศึกษาประสิทธิภาพของสารเคมีในการกำจัดเชื้อ Acidovorax avenae subsp. citrulli กับเมล็ดพันธุ์พืชสกุลแตงบางชนิดเพื่อการส่งออก
วันเพ็ญ ศรีชาติ, ศรีวิเศษ เกษสังข์, ปรียพรรณ พงศาพิชณ์, ชลธิชา รักใคร่, วานิช คำพานิช และปริเชษฐ์ ตั้งกาญจนภาส
กลุ่มวิจัยการกักกันพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช

          โรคผลเน่าแบคทีเรีย (Bacterial fruit blotch) ของพืชตระกูลแตง สาเหตุเกิดจากแบคทีเรีย Acidovorax avenae subsp. citrulli (Aac.) จากการเก็บรวบรวมเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคผลเน่าจากแปลงเกษตรกรที่ผลิตเมล็ดพันธุ์พืชสุกลแตงเพื่อการส่งออกของเกษตรกรจากภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวม 47 แปลง ทำการแยกเชื้อแบคทีเรียบริสุทธิ์ จำนวน 5 ไอโซเลท เมื่อนำมาทดสอบความสามารถทำให้เกิดโรคกับพืชทดสอบ 4 ชนิด คือ แตงโม เมลอน แตงกวา และ ฟักทองพบว่า ทุกเชื้อสามารถทำให้เกิดอาการฉ่ำน้ำและในบางพืชทดสอบต้นกล้าเกิดอาการใบเน่าเละและต้นเหี่ยวทั้งต้น และทดสอบคุณสมบัติทางชีวเคมีและตรวจด้วยเทคนิค ELISA ผลปรากฏว่า แบคทีเรียทั้ง 5 ไอโซเลทให้ผลเป็นลบ และจากความอนุเคราะห์จากกลุ่มวิจัยโรคพืช สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร และภาควิชาโรคพืชวิทยา คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเชื้อ Acidovorax avenae subsp. citrulli 2 ไอโซเลท ทำการทดสอบการเกิดโรคกับพืช 5 ชนิด คือ บวบเหลี่ยม แตงโม แตงกวา เมลอน และฟักทองพบว่า เชื้อแบคทีเรียทั้ง 2 ไอโซเลทสามารถทำให้เกิดอาการฉ่ำน้ำและเนื้อใบยุบตัวโดยที่ต้นไม่เน่าเละในทุกพืชทดสอบ ส่วนการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีกำจัดเชื้อแบคทีเรียบนอาหารเลี้ยงเชื้อและการทดสอบประสิทธิภาพของสารเคมีในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียกับเมล็ดพันธุ์แตงโมพบว่า สามารถปลูกเชื้อแบคทีเรียกับเมล็ดพันธุ์แตงโมนาน 48 ชั่วโมง สามารถทำให้เกิดโรคกับแตงโมได้ดี และสารเคมีที่มีประสิทธิภาพในการกำจัดเชื้อ Acidovorax avenae subsp. citrulli จากเมล็ดพันธุ์แตงโมได้ดี คือ สารเพอร๊อกซี่อะซิติกเอสิคเข้มข้น 110 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร (ตามคำแนะนำ), สารเพอร๊อกซี่อะซิติกเอสิค เข้มข้น 220 มิลลิลิตรต่อน้ำ 1 ลิตร และกรดไฮโดรคลอริก เข้มข้น 2.0 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   1225_2552.pdf (ขนาด: 750.14 KB / ดาวน์โหลด: 2,140)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม