วิจัยและพัฒนาชุดตรวจสอบพิษตกค้างของอีไธออน คลอไพริฟอส และโอเมทโธเอท ในผักผลไม้
#1
วิจัยและพัฒนาชุดตรวจสอบพิษตกค้างของอีไธออน คลอไพริฟอส และโอเมทโธเอท ในผักผลไม้
อุดมลักษณ์ อุ่นจิตต์วรรธนะ, ณัฏฐ์ชยธร ขัตติยะพุฒิเมธ และยงยุทธ ไผ่แก้ว
กลุ่มวิจัยวัตถุมีพิษการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร และสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 3

          ศึกษาวิธีการตรวจวิเคราะห์รวมสารตกค้างอีไธออน คลอไพริฟอส และโอเมทโธเอทในผักผลไม้โดยวิธีทินเลเยอร์โครมาโตกราฟฟี่ (Thin layer chromatography, TLC) ที่สามารถตรวจครั้งเดียวได้พร้อมกัน 3 สาร โดยนำแผ่นตรวจสอบของชุดตรวจสอบของสารพิษที่คิดขึ้นมาในปี 2554 มาประยุกต์ใช้ แต่มาปรับเปลี่ยนระบบแยกสารใหม่ โดยใช้ของเหลวที่เป็นตัวแยก 100 ระบบ คือ hexane : acetone อัตราส่วน 1-20:1, 1-20:2, 1-20:3, 1-20:4, 1-20:5 พบว่าระบบที่เหมาะสมที่สุดที่ใช้แยกสารพิษตกค้างรวมของอีไธออน คลอไพริฟอส และโอเมทโธเอทในผักผลไม้ คือ hexane : acetone อัตราส่วน 17 : 3 ให้จุดสีเหลืองบนพื้นสีส้ม โดยคลอไพริฟอส มีค่า Rf 0.6 (4.2 ซม) อีไธออน มีค่า Rf 0.44 (3.1 ซม) และโอเมทโธเอท มีค่า Rf 0.05 (0.4 ซม), 0.12 (0.9 ซม), 0.21 (1.5 ซม), 0.47 (3.3 ซม), มี limit of determination คลอไพริฟอส 0.02 ppm อีไธออน 0.05 ppm และโอเมทโธเอท 0.25 ppm ชุดนี้มี % Recovery ของคลอไพริฟอส 83-88% มี % Recovery ของอีไธออน 80-85% มี % Recovery ของโอเมทโธเอท 80 - 85% ชุดตรวจสอบรวมที่ได้นี้ นำมาบรรจุในกล่องกระดาษหนัก 1 กิโลกรัม (คิดน้ำหนักหลังบรรจุขวดสกัดตัวอย่าง ขวดแยกสาร แผ่น Plate ที่ใช้แยก พร้อมเครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ในการตรวจ) เมื่อนำไปทดสอบภาคสนามที่แปลงเกษตรกรปลูกผักที่จังหวัดตาก ขอนแก่น และจันทบุรี แล้วนำผลมาเปรียบเทียบกับวิธี GC ปรากฏว่า ได้ผลเป็นที่ยอมรับได้ ชุดตรวจสอบนี้สะดวกในการนำไปตรวจในแปลง GAP เพื่อการรับรองเบื้องต้นของกรมวิชาการเกษตร 1 ชุดสามารถตรวจได้ 24 ตัวอย่าง


ไฟล์แนบ
.pdf   18_2555.pdf (ขนาด: 281.24 KB / ดาวน์โหลด: 838)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม