การพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือ
#1
การพัฒนาเทคโนโลยีจัดการหลังการเก็บเกี่ยวลิ้นจี่ในเขตภาคเหนือ
สมเพชร เจริญสุข, วิทยา อภัย และเกรียงศักดิ์ นักผูก

          สำรวจวิธีการปฏิบัติในการยืดอายุลิ้นจี่สำหรับส่งออก จำนวน 24 ราย จากผู้ประกอบการรวม 16 บริษัท ได้แก่ จ.พะเยา 15 ราย (9 บริษัท) และจ.เชียงใหม่ 9 ราย (7 บริษัท)  ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นเพศชาย 13 คน (54.2%) ส่วนมากอายุมากกว่า 36 ปีขึ้นไป (75%) พันธุ์ลิ้นจี่ที่รับซื้อ ได้แก่ ฮงฮวย, จักรพรรดิ และ กิมเจง คิดเป็น 87.5, 37.5 และ 4.2 % ตามลำดับ ลิ้นจี่จะเก็บเกี่ยวช่วงเม.ย. - มิ.ย. 57 พบวิธีการยืดอายุ 2 แบบ ได้แก่ วิธีที่แรก วิธีการลดอุณหภูมิด้วยน้ำเย็น (Hydrocooling) โดยบรรจุลิ้นจี่แบบช่อในตะกร้าพลาสติกน้ำหนัก 11.5 กก. และแช่ผลในน้ำเย็นนาน 10 นาที ก่อนส่งออกประเทศจีนทางเรือจะใช้เวลาขนส่งและจำหน่ายให้หมดภายใน 10 วัน โดยส่งออกไปเขตเอเชีย 66.7% ได้แก่ ประเทศจีน, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์, สิงคโปร์, เวียดนาม คิดเป็น 54.2, 29.2, 20.8, 16.7, 16.7 และ 4.2 % ตามลำดับ พบโรงคัดบรรจุ 1 โรง มีระบบล้างผลด้วยน้ำฆ่าเชื้อด้วยโอโซนก่อนแช่น้ำเย็น ปัญหาที่พบการวางจำหน่าย คือ  ฤดูกาลเก็บเกี่ยวตรงกับต่างประเทศทำให้ราคาถูกลง และอายุการวางจำหน่ายสั้น และวิธีที่ 2 รมด้วยซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ใช้ลิ้นจี่ผลเดี่ยวรมด้วยวิธีเผาผงกำมะถันก่อนส่งออกทางเรือใช้เวลาเดินทาง 15 - 25 วัน พบน้อยลงเนื่องจากโรงคัดบรรจุยังไม่ผ่านมาตรฐาน HACCP ตามข้อกำหนดของประเทศกลุ่ม EU การสำรวจการรมควันแบบเผาผงกำมะถันจำนวน 7 ครั้ง (4 โรงรม) พบอัตราการใช้กำมะถัน <0.01 – 7% เผานาน 5 - 30 นาที รมนาน 15 - 30 นาที ดูดบำบัดก๊าซ และเป่าบำบัด 60 นาที ค่าตกค้างในเนื้อผลที่พบเกินค่ามาตรฐาน Codex 2 ครั้ง (50 ppm) สาเหตุจากการใช้ความเข้มข้นสูง และแช่น้ำหลังรมพบว่า โรงรมส่วนมากคำนวณการใช้กำมะถันที่มีความเข้มข้น SO2 ต่ำกว่า 0.9% รมนาน 45 นาที เมื่อส่งออกทางเรือค่าตกค้างลดลงไม่เกินมาตรฐาน Codex โดยพบค่าตกค้างในเปลือกหลังรมเท่ากับ 1,802.02 - 2,072.97 ppm และลดลงเหลือ 343.89 ppm ภายหลังเก็บรักษานาน 30 วันที่ 5 องศาเซลเซียส มีผลช่วยยืดอายุการเก็บรักษาที่นานขึ้น 30 วัน และการวางจำหน่ายที่อุณหภูมิห้องได้นาน 4 วัน และผลมีคุณภาพดี ชะลอการเปลี่ยนสีน้ำตาลและสีเนื้อ และพบการเน่าเสียต่ำ เมื่อเปรียบเทียบกับรมด้วยความเข้มข้นสูงเกินหรือต่ำเกินไป


ไฟล์แนบ
.pdf   151_2557.pdf (ขนาด: 367.03 KB / ดาวน์โหลด: 1,227)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม