วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว
#1
วิจัยและพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว
จิรวัสส์ เจียตระกูล, ปรีชา อานันท์รัตนกุล, มานพ รักญาติ และวิบูลย์ เทเพนทร์

          การพัฒนาเครื่องจักรในกระบวนการทำแป้งจากเม็ดบัว มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับอุตสาหกรรมการแปรรูปเม็ดบัวแห้ง ประกอบไปด้วย 3 เครื่องต้นแบบ ได้แก่ เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้ง เครื่องแทงดีเม็ดบัวแห้ง และเครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้ง เม็ดบัวแห้งที่นำมาทำการทดสอบมีเส้นผ่าศูนย์กลางเฉลี่ย 11.69 มิลลิเมตร ซึ่งจะใช้เป็นข้อมูลสำหรับการออกแบบเครื่องต้นแบบทั้ง 3 เครื่อง เครื่องกะเทาะเปลือกเม็ดบัวแห้งต้นแบบ ใช้ลูกกลิ้งขึ้นลายแบบเกลียวสำหรับปอกเปลือกจำนวน 2 ลูก และมีลูกกลิ้งขนาดเล็กสำหรับกดเม็ดบัวอีก 1 ลูก เม็ดบัวแห้งเคลื่อนที่เข้าหาชุดลูกกลิ้งด้วยเกลียวลำเลียง สามารถกะเทาะเปลือกได้เม็ดบัวที่สมบูรณ์เฉลี่ย 78.2 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหายเฉลี่ย 12.6 เปอร์เซ็นต์ และเม็ดบัวที่ไม่ถูกกะเทาะเฉลี่ย 9.2 เปอร์เซ็นต์ เครื่องแทงดีบัวแห้ง มีหลักการทำงานด้วยการเจาะรูที่บริเวณขั้วของเม็ดบัวแห้งด้วยดอกสว่านขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 มิลลิเมตร เม็ดบัวแห้งหลังผ่านการกเทาะเปลือกถูกบรรจุลงในถาดเจาะรูขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 95 มิลิเมตร ที่ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า ที่ความเร็ว 6.5 รอบต่อนาที (1.94 เมตรต่อนาที) มีความสามารถในการทำงานเฉลี่ย 1.04 กิโลกรัมต่อชั่วโมง เม็ดบัวที่ผ่านการเจาะโดยสมบูรณ์เฉลี่ย 69.5 เปอร์เซ็นต์ เม็ดแตกเสียหาย และเจาะไม่ตรงตำแหน่งรวมกัน 30.5 เปอร์เซ็นต์ เครื่องขัดลอกเยื่อเม็ดบัวแห้งที่ผ่านการกะเทาะเปลือกและแทงดีบัวออกแล้วมีส่วนประกอบของถังบรรจุเม็ดบัวที่ติดกระดาษทรายไว้บริเวณผนัง และมีชุดจานหมุนบริเวณด้านล่างทำหน้าที่หมุนให้เม็ดบัวเคลื่อนที่ โดยอาศัยหลักการของแรงเสียดทานระหว่างเม็ดบัว และผนังทำให้เกิดการขัดผิวของเม็ดบัว เลือกใช้กระดาษทรายเบอร์ 100 ใช้เวลาในการขัดเฉลี่ย 35 นาที ส่วนที่ถูกขัดออกไปคิดเป็นสัดส่วนน้ำหนักเฉลี่ย 7.5 เปอร์เซ็นต์


ไฟล์แนบ
.pdf   48_2561.pdf (ขนาด: 1.87 MB / ดาวน์โหลด: 1,640)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม