วิจัยและพัฒนาพืชสกุลระกำ
#1
วิจัยและพัฒนาพืชสกุลระกำ
อัมพิกา ปุนนจิต, ศิริพร วรกุลดำรงชัย, อรวินทินี ชูศรี, วีรญา เต็มปีติกุล, กรรณิการ์ เย็นนิกร, สำเริง ช่างประเสริฐ, สุจิตรา วิเศษการ, ชมภู จันที, อภิรดี กอร์ปไพบูลย์, ยุทธศักดิ์ เจียมไชยศรี, วัชรี วิทยวรรณกุล และมาลัยพร เชื้อบัณฑิต

การปรับปรุงพันธุ์พืชสกุลระกำ
อัมพิกา ปุนนจิต, ศิริพร วรกุลดำรงชัย, อรวินทินี ชูศรี, วีรญา เต็มปีติกุล และกรรณิการ์ เย็นนิกร
สถำบันวิจัยพืชสวน และศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

          โครงการปรับปรุงพันธุ์พืชสกุลระกำ ดำเนินการที่ศูนย์พัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี ระหว่างเดือนตุลาคม 2557 – กันยายน 2561 เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบพันธุ์ระกำลูกผสมที่คัดเลือกไว้เปรียบเทียบกับสละพันธุ์การค้า รวมทั้งศึกษาอิทธิพลของละอองเกสรตัวผู้ที่มีต่อการติดผลและคุณภาพผลผลิตของลูกผสม เก็บข้อมูลการยอมรับของผู้บริโภคและตลาด ก่อนขยายพันธุ์ต้นลูกผสมที่ได้รับความนิยม เผยแพร่แก่เกษตรกรสำหรับปลูกเป็นการค้าพันธุ์ใหม่ต่อไป

การพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตสละให้มีคุณภาพ
สำเริง ช่างประเสริฐ, สุจิตรา วิเศษการ และชมภู จันที
ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

          งานวิจัยอิทธิพลของจำนวนกระปุกต่อทะลายที่มีผลต่อคุณภาพของสละพันธุ์สุมาลี มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเพิ่มคุณภาพของผลสละ โดยการตัดแต่งและไว้กระปุกผลที่เหมาะสมต่อทะลาย ดำเนินการในสวนเกษตรกรจังหวัดจันทบุรี วางแผนการทดลองแบบ RCB 4 กรรมวิธี 6 ซ้ำ ประกอบด้วยการไม่ตัดกระปุก (10 - 12) กระปุกต่อทะลาย ตัดกระปุกเหลือ 5 7 และ 8 กระปุกต่อทะลาย พบว่าคุณภาพของผลสละอายุ 8 เดือน น้ำหนักแห้ง น้ำหนักผล ความกว้าง-ยาวของผล น้ำหนักเนื้อ การตัดกระปุกทุกกรรมวิธีให้ค่าสูงกว่าการไม่ตัดแต่งกระปุก ปริมาณของแข็งที่ละลายน้ำได้ (TSS) ค่ากรดที่ไตรเตรทได้ (TA) ทุกกรรมวิธีไม่มีความแตกต่างกัน คุณภาพของผลสละตามชั้นคุณภาพอยู่ในชั้นที่ 1 และ 2 สำหรับผลผลิตต่อต้นของสละ กรรมวิธีที่ไม่ตัดกระปุกมีน้ำหนักรวมมากกว่าทุกกรรมวิธี น้ำหนักผลต่อกระปุกทุกกรรมวิธีให้ค่าสูงกว่าการไม่ตัดแต่งกระปุก ค่าแรงที่ใช้ในการตัดแต่งกระปุกคิดเป็นเงิน 112.50 – 150 บาท/ไร่/วัน


ไฟล์แนบ
.pdf   67_2561.pdf (ขนาด: 383.34 KB / ดาวน์โหลด: 1,526)
ตอบกลับ




ผู้ที่กำลังดูเรื่องนี้: 1 ผู้เยี่ยมชม