วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร (กำหนดการประชุม 5 วัน ระหว่างวันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2567) โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการ กองคลัง เข้าร่วมการประชุม และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตรพร้อมงบประมาณ (ว-1 สกสว) ประจำปี 2568 ประกอบการทำคำรับรอง … ประจำปี 2568 (68 แผนงานวิจัย 321 โครงการวิจัยภายใต้แผน) ข้อเสนองานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Fundamental Fund : FF) (64 แผนงานวิจัย 315 โครงการวิจัยภายใต้แผน)  และข้อเสนอโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Science and Technology Development Fund : ST) (2 แผนงาน 3 โครงการภายใต้แผน) เพื่อจัดทำคำของบประมาณด้านงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ส่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่สอดคล้องภายใต้ทิศทางการดำเนินงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ปี 2568 – 2570 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางงานวิจัยของกรมฯ ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามนโยบายขับเคลื่อนภาคการเกษตร “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรอง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอารักขาพืชเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกักพืชให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช แผนงานวิจัยการพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการวัชพืชด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน แผนงานวิจัยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรแม่นยำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอารักขาพืช แมลง-ไรศัตรูพืช และโรคพืช แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงดินและการจัดการธาตุอาหารตามความเหมาะสมของที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชสวน : กลุ่มพืชสวนอุตสาหกรรม แผนงานวิจัยและพัฒนาศูนย์รวบรวมความหลากหลายของเชื้อพันธุ์ แมลง จุลินทรีย์ และศัตรูธรรมชาติ และการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน แผนงานวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชและเห็ดเพื่อนำไปสู่การผลิตขยายและการสร้างมูลค่าเพิ่ม แผนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับพลวัตทางสังคมและตลาดแนวใหม่ แผนงานวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชอินทรีย์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคกลาง แผนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรอัตโนมัติแบบระบบเกษตรแม่นยำสูง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แผนงานวิจัยและพัฒนาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ แผนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว กาแฟ โกโก้ มังคุด และส้มโอ เพื่อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร (อธิบดีกรมวิชาการเกษตร : ประธาน) พิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนระบบวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร

วันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการ กองคลัง เข้าร่วมการประชุม และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตรพร้อมงบประมาณ (ว-1 สกสว) ประจำปี 2568 ประกอบการทำคำรับรอง … ประจำปี 2568 (68 แผนงานวิจัย 321 โครงการวิจัยภายใต้แผน) ข้อเสนองานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Fundamental Fund : FF) (64 แผนงานวิจัย 315 โครงการวิจัยภายใต้แผน)  และข้อเสนอโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Science and Technology Development Fund : ST) (2 แผนงาน 3 โครงการภายใต้แผน) เพื่อจัดทำคำของบประมาณด้านงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ส่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่สอดคล้องภายใต้ทิศทางการดำเนินงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ปี 2568 – 2570 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางงานวิจัยของกรมฯ ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามนโยบายขับเคลื่อนภาคการเกษตร “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยในวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรอง แผนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอารักขาพืชเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานการผลิตพืชภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดฝักสด งา และอ้อยคั้นน้ำเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แผนงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่อาหาร พลังงาน และเส้นใยที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตรงตามความต้องการของตลาด แผนงานวิจัยและพัฒนาศูนย์รวบรวมความหลากหลายของเชื้อพันธุ์พืชและเห็ดและการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน และแผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่เพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร (อธิบดีกรมวิชาการเกษตร : ประธาน) พิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนระบบวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร

การประชุมคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2567 เพื่อพิจารณารับรองพันธุ์พืช 10 พันธุ์ วันที่ 26 มิถุนายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2567 ณ ห้องประชุม ชั้น 2 สำนักงานอธิบดีกรมวิชาการเกษตร อาคารฝึกอบรมด้านมาตรฐานการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร โดยมีคณะกรรมการร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภายนอก คณะผู้บริหาร ผู้อำนวยการกอง/สถาบัน/สำนัก กรมวิชาการเกษตร และมีผู้อำนวยการ กองแผนงานและวิชาการ (นางศศิญา ปานตั้น) ร่วมกับทีมกลุ่มระบบวิจัย กลุ่มวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย ทำหน้าที่คณะกรรมการและเลขานุการ และเพื่อพิจารณารับรองพันธุ์พืชใหม่ๆ กรมวิชาการเกษตร ก่อนเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยด้านพันธุ์พืชของกรมฯ ให้เกษตรกรหรือผู้ที่สนใจ นำไปปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมเพื่อสร้างรายได้ต่อไป สอดคล้องตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ได้แถลงวิสัยทัศน์ “IGNITE THAILAND” จุดประกายเกษตรไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก ซึ่งมีความมุ่งมั่นยกระดับภาคเกษตรกรรม ส่งเสริมเกษตรกรไทย ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” พร้อมผลักดันเป้าหมายสร้างรายได้เกษตรกรไทยเพิ่มขึ้น 3 เท่าใน 4 ปี สรุปผลงานด้านพันธุ์ประจำปี 2567 จำนวน 10 พันธุ์ ดังนี้ กระเจี๊ยบเขียวพันธุ์ กวก. กาญจนบุรี 1 ฟ้าทะลายโจรสายพันธุ์ กวก. พิจิตร 1 สับปะรดพันธุ์ กวก. เพชรบุรี 3 ถั่วฝักยาวสีม่วงพันธุ์ กวก. พิจิตร 1 กาแฟอะราบิกาพันธุ์ กวก.เชียงใหม่ 1 ถั่วหรั่งพันธุ์ กวก. สงขลา 3 เห็ดฟางพันธุ์ กวก. สทช. 1 เห็ดเป๋าฮื้อพันธุ์ กวก. สทช. 1 เห็ดถั่วฝรั่งพันธุ์ กวก. สทช. 1 และเห็ดภูฏานลูกผสมพันธุ์ กวก. สทช. 1 โดยมีทีมนักปรับปรุงพันธุ์ทั้ง 10 พันธุ์ เข้าร่วมการประชุมเพื่อชี้แจงและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วย ทั้งนี้ กรมวิชาการเกษตรมุ่งหวังว่าผลงานด้านพันธุ์พืชดังกล่าว จะทำให้เกษตรกรสนใจนำพันธุ์พืชดังกล่าวไปเป็นทางเลือกหนึ่งในการนำไปปลูกในพื้นที่ เพื่อเป็นการสร้างรายได้กลับคืนให้เกษตรกรได้เพิ่มขึ้น

วันที่ 25 มิถุนายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตรเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ครั้งที่ 1/2567 ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting และห้องประชุมสำนักงานอธิบดี ชั้น 2 อาคารฝึกอบรมด้านมาตรฐานการผลิตพืช กรมวิชาการเกษตร โดยคณะกรรมการร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานจากหน่วยงานภายนอก สำนักงบประมาณ กรมบัญชีกลาง และกรมทรัพย์สินทางปัญญา และคณะกรรมการในส่วนของกรมวิชาการเกษตร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช (นายสรุกิตติ ศรีกุล) ผู้อำนวยการกองคลัง (นางเพลิน สิริวีระพันธุ์) มีผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ (นางศศิญา ปานตั้น) ทำหน้าที่คณะกรรมการและเลขานุการ เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการวิจัยด้านการเกษตรที่สำคัญ ประจำปี 2567 ขานรับนโยบายรัฐบาล “ IGNITE THAILAND ” จุดประกายเกษตรไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหารของโลก ทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” พร้อมผลักดันเป้าหมายสร้างรายได้เพิ่ม จำนวน 6 โครงการ ได้แก่ การพัฒนากระบวนการผลิต Biochar จากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อพัฒนาเป็นวัสดุปลูกพืชมูลค่าสูง การทดสอบประสิทธิภาพด้วงงวง ซี-ซัลวิเนียควบคุมจอกหูหนูยักษ์ในแหล่งน้ำธรรมชาติ การขยายผลการผลิตเมล็ดงอกปาล์มน้ำมันและเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตรอย่างเร่งด่วนเพื่อเพิ่มผลผลิต/คุณภาพผลผลิต ลดต้นทุนสร้างรายได้ให้เกษตรกรให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตท่อนพันธุ์ต้านทานโรคใบด่างมันสำปะหลังของกรมวิชาการเกษตรอย่างเร่งด่วนเพื่อแก้ไขปัญหาโรคใบด่างมันสำปะหลังอย่างยั่งยืนและการขยายผลเทคโนโลยีการผลิตหัวพันธุ์หอมแดงสะอาดของกรมวิชาการเกษตร ตามมาตรการบริหารจัดการพืชเศรษฐกิจตัวรอง ตามขั้นตอนเงินรายได้จากการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ภายใต้กรอบงบประมาณรายจ่ายเงินรายได้จากการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ได้มี ผอ.กลุ่มเงินนอกงบประมาณ (นายสิทธิเดช มีนิล) ผอ.กลุ่มติดตามและประเมินผล (น.ส.ปฏิมา ประภาสะวัต) และผอ.กลุ่มระบบวิจัย (น.ส.วิยวรรณ บุญทัน) และหัวหน้าโครงการวิจัย เข้าร่วมการประชุมเพื่อชี้แจงและให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องด้วย

วันที่ 19 มิถุนายน 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ ดร. สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ครั้งที่ 4/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร ร่วมกับคณะผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านพืชสวน พืชไร่ และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาเฉพาะด้านเข้าร่วมให้ข้อมูลทางวิชาการงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อพิจารณารับรองพันธุ์ พันธุ์แนะนำ พันธุ์รับรอง ตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งในการประชุมดังกล่าวมีพันธุ์เห็ดเสนอเข้าพิจารณา จำนวน 4 สายพันธุ์ ประกอบด้วย เห็ดฟาง เห็ดเป๋าฮื้อ เห็ดถั่วฝรั่ง และเห็ดภูฏานลูกผสม ก่อนเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชรับรองตามขั้นตอนกรมฯ ก่อนนำไปพันธุ์พืชไปขยายผลต่อยอดและใช้ประโยชน์สู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายและเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้