วันที่ 4 มีนาคม 2568 นางศศิญา ปานตั้น ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ ได้มอบหมาย กลุ่มระบบวิจัย โดย นางสรวงสรรค์ ทาเวียง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ“งบประมาณการวิจัยที่ได้รับจากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ประจำปี 2568” และได้มอบหมายกลุ่มติดตามและประเมินผล โดยนายนราธิป ถาวรประเสริฐ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ“การรายงานผลในระบบการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติราชการ กรมวิชาการเกษตร SCORECARD COCKPIT ENTERPPRISE” ให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลังและพัสดุ ของกรมวิชาการเกษตร และร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับผู้เข้ารับการฝึกอบรมหลักสูตร “แนวทางการปฏิบัติงานด้านการเงิน การคลัง และการพัสดุ ประจำปีงบประมาณ 2568” เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางและวิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้จ่ายงบประมาณทีได้รับจากกองทุนส่งเสริม ววน. สกสว. ได้อย่างถูกต้อง และเกิดประโยชน์สูงสุดต่อราชการ ซึ่งการอบรมฯ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 3-5 มีนาคม 2568 ณ โรงแรม มารวย การ์เด้น จังหวัดกรุงเทพฯ จัดโดย กองคลัง กรมวิชาการเกษตร

วันศุกร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ 2568 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมาย ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช รักษาการในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาโครงการวิจัยด้านการเกษตร ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร เพื่อรับทราบ 1) สรุปผลการดำเนินงานสืบเนื่องจากมติคณะทำงานพิจารณาโครงการวิจัยด้านการเกษตร ครั้งที่ 6/2567 2) สรุปสถานะโครงการวิจัยที่ได้รับสนับสนุนงบประมาณจากเงินรายได้การดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร และ 3) รายงานรายได้และสถิติการจัดเก็บรายได้การดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ปี 2565 – 2568 รวมทั้งร่วมกันพิจารณากลั่นกรองข้อเสนอโครงการวิจัยที่หน่วยงานเสนอขอรับสนับสนุนการวิจัยจากเงินรายได้การดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ในประเด็นการพัฒนาเครื่องคว้านเมล็ดและแกะเปลือกลำไย ตามตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของเงินรายได้ การดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร กรมวิชาการเกษตร

วันที่ 17 มกราคม 2568 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมายให้ ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช รษก. ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืช ครั้งที่ 1/2568 ณ ห้องประชุมอารียันต์ชั้น 3 สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
ร่วมกับที่ปรึกษากรมวิชาการเกษตร ดร.สุรกิตติ ศรีกุล คณะผู้เชี่ยวชาญทั้งด้านพืชสวน พืชไร่ และผู้เชี่ยวชาญสาขาวิชาเฉพาะด้านเข้าร่วมให้ข้อมูลทางวิชาการงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ เพื่อพิจารณารับรองพันธุ์ พันธุ์แนะนำ พันธุ์รับรอง ตามขั้นตอนของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งในการประชุมดังกล่าวมีพันธุ์พืชเสนอเข้าพิจารณา จำนวน 6 สายพันธุ์ ประกอบด้วย ถั่วเหลืองฝักสด ถั่วเหลือง กล้วยไม้สปาโทกลอสทิส 2 สายพันธุ์ ดาหลา และข้าวฟ่างหวาน ก่อนเสนอคณะกรรมการวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชรับรองตามขั้นตอนกรมฯ ก่อนนำไปพันธุ์พืชไปขยายผลต่อยอดและใช้ประโยชน์สู่กลุ่มเกษตรกรเป้าหมายและเป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต มีคุณภาพเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และเป็นทางเลือกให้เกษตรกรได้

วันที่ 26 ธันวาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ครั้งที่ 3/2567 ผ่าน Zoom Meeting เพื่อพิจารณาอนุมัติงานวิจัยด้านการเกษตรที่สำคัญประจำปี 2568 จำนวน 1 โครงการ :
“โครงการพัฒนาระบบช่วยให้คำแนะนำการจัดการพืชที่เป็นเลิศ ” AI Chatbot “
ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอม และกาแฟ ” ขับเคลื่อนองค์ความรู้ผลงานวิจัยและนวัตกรรมด้านพืชที่ถูก
ต้องของกรมวิชาการเกษตรไปสู่การใช้ประโยชน์รองรับพลวัตของสังคมดิจิทัลที่มีการเปลี่ยนแปลง
อย่างรวดเร็วด้วยปัญญาประดิษฐ์ช่วยตอบคำถามแม่นยำ รวดเร็ว อัตโนมัติ ไม่จำกัดเวลา ตลอด 24 ชั่วโมง รองรับภาษาที่หลากหลาย ให้บริการแก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการ หน่วยงานภาครัฐภาคเอกชน และประชาชนที่สนใจ ผ่าน Web Application เชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มสื่อสังคมออนไลน์ เช่น LINE และ Facebook Messenger
ยกระดับประสิทธิภาพการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงเกษตรและ
สหกรณ์ให้ทันต่อสถานการณ์จุดประกายเกษตรไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการเกษตรและอาหาร
ของโลก ยกระดับรายได้ของเกษตรกรและคว้าโอกาสในตลาดใหม่ๆ ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” พร้อมผลักดันเป้าหมายสร้างรายได้เพิ่ม

วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร มอบหมาย ดร.ณัฎฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช รักษาการในตำแหน่ง ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะทำงานพิจารณาโครงการวิจัยด้านการเกษตร ครั้งที่ 6/2567 ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และ ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting เพื่อพิจารณากลั่นกรองโครงการวิจัยที่หน่วยงานเสนอขอรับสนับสนุน การวิจัยจากเงินรายได้การดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตร ในประเด็นการปลูกมะคาเดเมียลดพื้นที่เผาป่าแก้ปัญหา PM 2.5 อย่างยั่งยืนใน จ.เชียงใหม่ การขยายผลชุดตรวจสอบแอฟลาทอกซินบี 1 โดยเทคนิค Competitive Latreal Flow Immunoassay เชิงพาณิชย์ การพัฒนาเครื่องมือเก็บเกี่ยวและแปรรูปลำไย การพัฒนาเครื่องขึ้นมะพร้าวทดแทนแรงงานลิง การปรับปรุงฟื้นฟูสวนทุเรียนแบบคาร์บอนต่ำ และ การพัฒนาระบบช่วยให้คำแนะนำการจัดการพืชที่เป็นเลิศ ” AI Chatbot ” ทุเรียน มะพร้าวน้ำหอมและกาแฟ ก่อนเสนอคณะกรรมการบริหารการดำเนินงานวิจัยด้านการเกษตรพิจารณาอนุมัติตามกระบวนการพิจารณาของกรมวิชาการเกษตร เพื่อสนับสนุนการแก้ไขปัญหาภาคการเกษตรเร่งด่วนและผลักดันขยายผลต่อยอดผลงานวิจัยพืชพันธุ์ดีและเทคโนโลยีการผลิตพืชพันธุ์ดีของกรมวิชาการเกษตรไปใช้ประโยชน์สู่กลุ่มเป้าหมาย ตอบสนองนโยบายรัฐบาล กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ทันต่อสถานการณ์