วันที่ 17 กรกฎาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร (กำหนดการประชุม 5 วัน ระหว่างวันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2567) โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการ กองคลัง เข้าร่วมการประชุม และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตรพร้อมงบประมาณ (ว-1 สกสว) ประจำปี 2568 ประกอบการทำคำรับรอง … ประจำปี 2568 (68 แผนงานวิจัย 321 โครงการวิจัยภายใต้แผน) ข้อเสนองานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Fundamental Fund : FF) (64 แผนงานวิจัย 315 โครงการวิจัยภายใต้แผน) และข้อเสนอโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Science and Technology Development Fund : ST) (2 แผนงาน 3 โครงการภายใต้แผน) เพื่อจัดทำคำของบประมาณด้านงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ส่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่สอดคล้องภายใต้ทิศทางการดำเนินงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ปี 2568 – 2570 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางงานวิจัยของกรมฯ ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามนโยบายขับเคลื่อนภาคการเกษตร “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรอง แผนงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชสวนที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพ สารสำคัญและคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตรงตามความต้องการของตลาดและกลุ่มผู้บริโภคเฉพาะ แผนงานวิจัยและพัฒนาศักยภาพการคุ้มครองพันธุ์พืชตามพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 และการจัดการพืชอนุรักษ์ตามอนุสัญญาระหว่างประเทศ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นสูงแบบบูรณาการสำหรับเครื่องจักรแปรรูปสมุนไพรสู่อุตสาหกรรมยา แผนงานวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืชเศรษฐกิจใหม่ที่รองรับตลาดแนวใหม่ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชสวน : กลุ่มพืชสมุนไพร แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตอ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีพืชอัตลักษณ์พื้นถิ่นและพัฒนาผลิตภัณฑ์พืชอัตลักษณ์ภาคใต้ แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบการตรวจวิเคราะห์และแนวทางประเมินความปลอดภัยทางชีวภาพสำหรับพืชที่ได้จากเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เพื่อการกำกับดูแลตามภารกิจของกรมวิชาการเกษตร แผนงานวิจัยพัฒนาเครื่องวัดคุณภาพผลผลิตเกษตรสำหรับทุเรียน ปาล์มน้ำมัน และกล้วยไม้ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน แผนงานวิจัยออกแบบและพัฒนาเครื่องจักรกลการเกษตรสำหรับลดการเผาใบอ้อยและการจัดการดินเชิงอนุรักษ์ แผนงานวิจัยนวัตกรรมบริการทางการเกษตร (Agricultural Service Provider) แบบครบวงจร เพื่อรองรับพลวัตทางสังคม แผนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรแปรรูปเพิ่มมูลค่าทุเรียน มังคุด โกโก้ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชสวน : กลุ่มไม้ผล แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืช พืชสวน : กลุ่มพืชผัก แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตกาแฟอะราบิกาคุณภาพในเขตภาคเหนือตอนบนด้วยนวัตกรรมชุมชนเพื่อสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านพืชเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางพลังงาน เพื่อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร (อธิบดีกรมวิชาการเกษตร : ประธาน) พิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนระบบวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร

วันที่ 15 กรกฎาคม 2567 อธิบดีกรมวิชาการเกษตรมอบหมายให้นางศศิญา ปานตั้น ผู้อำนวยการกองแผนงานและวิชาการ เป็นประธานในการประชุมเพื่อจัดทำข้อมูลการประเมินสถานะของหน่วยงานภาครัฐในการเป็นระบบราชการ 4.0 ในการประเมินส่วนราชการตามมาตรการปรับปรุงประสิทธิภาพในการปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ 2567 ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร

วันที่ 16 กรกฎาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร (กำหนดการประชุม 5 วัน ระหว่างวันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2567) โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการ กองคลัง เข้าร่วมการประชุม และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตรพร้อมงบประมาณ (ว-1 สกสว) ประจำปี 2568 ประกอบการทำคำรับรอง … ประจำปี 2568 (68 แผนงานวิจัย 321 โครงการวิจัยภายใต้แผน) ข้อเสนองานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Fundamental Fund : FF) (64 แผนงานวิจัย 315 โครงการวิจัยภายใต้แผน)  และข้อเสนอโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Science and Technology Development Fund : ST) (2 แผนงาน 3 โครงการภายใต้แผน) เพื่อจัดทำคำของบประมาณด้านงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ส่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่สอดคล้องภายใต้ทิศทางการดำเนินงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ปี 2568 – 2570 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางงานวิจัยของกรมฯ ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามนโยบายขับเคลื่อนภาคการเกษตร “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยคณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรอง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการอารักขาพืชเพื่อสนับสนุนการปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยการกักพืชให้มีประสิทธิภาพสอดคล้องกับสถานการณ์การค้าระหว่างประเทศ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนบน แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่เพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืช แผนงานวิจัยการพัฒนานวัตกรรมด้านการจัดการวัชพืชด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน แผนงานวิจัยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเกษตรแม่นยำเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการอารักขาพืช แมลง-ไรศัตรูพืช และโรคพืช แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปรับปรุงดินและการจัดการธาตุอาหารตามความเหมาะสมของที่ดินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชเศรษฐกิจ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชสวน : กลุ่มพืชสวนอุตสาหกรรม แผนงานวิจัยและพัฒนาศูนย์รวบรวมความหลากหลายของเชื้อพันธุ์ แมลง จุลินทรีย์ และศัตรูธรรมชาติ และการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน แผนงานวิจัยและพัฒนาการใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชและเห็ดเพื่อนำไปสู่การผลิตขยายและการสร้างมูลค่าเพิ่ม แผนงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อรองรับพลวัตทางสังคมและตลาดแนวใหม่ แผนงานวิจัยและพัฒนาการผลิตพืชอินทรีย์ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคกลาง แผนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องจักรกลเกษตรอัตโนมัติแบบระบบเกษตรแม่นยำสูง แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชที่เหมาะสมในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง แผนงานวิจัยและพัฒนาแนวทางการปรับปรุงกฎหมายลำดับรองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติ ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ แผนงานวิจัยและพัฒนาเครื่องมืออัตโนมัติสำหรับการจัดการหลังการเก็บเกี่ยว กาแฟ โกโก้ มังคุด และส้มโอ เพื่อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร (อธิบดีกรมวิชาการเกษตร : ประธาน) พิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนระบบวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร

วันที่ 15 – 19 กรกฎาคม 2567 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมาย ดร.สุรกิตติ ศรีกุล ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการที่ปรึกษาด้านวิชาการกรมวิชาการเกษตร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการ กองคลัง เข้าร่วมการประชุม และทีมกองแผนงานและวิชาการเป็นฝ่ายเลขานุการ เพื่อพิจารณากลั่นกรองแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยกรมวิชาการเกษตรพร้อมงบประมาณ (ว-1 สกสว) ประจำปี 2568 ประกอบการทำคำรับรอง … ประจำปี 2568 (68 แผนงานวิจัย 321 โครงการวิจัยภายใต้แผน) ข้อเสนองานวิจัยกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Fundamental Fund : FF) (64 แผนงานวิจัย 315 โครงการวิจัยภายใต้แผน)  และข้อเสนอโครงการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (วท.) กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2569 (Science and Technology Development Fund : ST) (2 แผนงาน 3 โครงการภายใต้แผน) เพื่อจัดทำคำของบประมาณด้านงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ส่งสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) ที่สอดคล้องภายใต้ทิศทางการดำเนินงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร ปี 2568 – 2570 เพื่อสนับสนุนการขับเคลื่อนนโยบายและทิศทางงานวิจัยของกรมฯ ไปสู่การปฏิบัติวิจัยเชิงรุกตามนโยบายขับเคลื่อนภาคการเกษตร “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” ยกระดับประเทศไทยสู่ศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลกในการทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น ด้วยการใช้ “ตลาดนำ นวัตกรรมเสริม เพิ่มรายได้” โดยในวันที่ 15 กรกฎาคม 2567 คณะกรรมการฯ ได้ร่วมกันพิจารณากลั่นกรอง แผนงานวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมด้านอารักขาพืชเพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิตให้ได้มาตรฐานการผลิตพืชภายในประเทศและการค้าระหว่างประเทศ แผนงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพืชตระกูลถั่ว ข้าวโพดฝักสด งา และอ้อยคั้นน้ำเพื่อความมั่นคงทางอาหาร แผนงานวิจัยการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่อาหาร พลังงาน และเส้นใยที่ให้ผลผลิตสูง คุณภาพ และคุณค่าทางโภชนาการ เหมาะสมตรงตามความต้องการของตลาด แผนงานวิจัยและพัฒนาศูนย์รวบรวมความหลากหลายของเชื้อพันธุ์พืชและเห็ดและการบริหารจัดการอย่างยั่งยืน และแผนงานวิจัยการพัฒนาเทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยวพืชไร่เพื่อลดการสูญเสียและเพิ่มความปลอดภัยทางอาหาร เพื่อสรุปเสนอคณะกรรมการบริหารงานวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร (อธิบดีกรมวิชาการเกษตร : ประธาน) พิจารณาอนุมัติตามขั้นตอนระบบวิจัยและพัฒนากรมวิชาการเกษตร

วันอังคารที่ 9 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.45 น. รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร(ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน) เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม เรื่อง การประเมินผลกระทบจากงานวิจัย (Research Impact Evaluation) ระหว่างวันที่ 9-10 กรกฎาคม 2567 ณ โรงแรมเดอะเกรช อัมพวา รีสอร์ท จังหวัดสมุทรสงคราม จัดโดย กองแผนงานและวิชาการ ดำเนินการภายใต้แผนงานเสริมสร้างความเข้มแข็งการบริหารจัดการแผนงานและโครงการด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ของกรมวิชาการเกษตร ปี 2567 เพื่อพัฒนาบุคลากรในระบบวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ให้เป็นต้นแบบการประเมินผลกระทบจากงานวิจัย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบโครงการและการประเมินงานวิจัยของหน่วยงานตนเองได้ พร้อมทั้งคัดเลือกผลงานเพื่อประเมินผลกระทบรวม 8 โครงการ เพื่อแสดงศักยภาพและความคุ้มค่าในการดำเนินงานวิจัยที่สามารถนำไปสู่การสร้างผลลัพธ์ และผลกระทบต่อการพัฒนาประเทศ ตามเงื่อนไขคำรับรองของการอนุมัติงบประมาณด้านการวิจัยและนวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 วงเงินรวม 316.9340 ล้านบาท ตามที่กรมวิชาการเกษตรได้ลงนามไว้กับ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม(สกสว.) โดยเชิญคณาจารย์จาก คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้แก่ รศ.ดร.สุวรรณา ประณีตวตกุล รศ.ดร.กัมปนาท วิจิตรศรีกมล และ ผศ.ดร.นภสม สินเพิ่มสุขสกุล ซึ่งเป็นผู้มีความเชี่ยวชาญ ด้านศาสตร์การประเมิน ด้านเศรษฐศาสตร์ และการประเมินโครงการด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม มาเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้และฝึกปฏิบัติ แก่ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และผู้เกี่ยวข้องในระวิจัยและพัฒนากรมฯ รวมทั้งสิ้น 100 คน และในการฝึกอบรมครั้งนี้มีหน่วยงานเสนอผลงานวิจัย เพื่อคัดเลือกเข้าประเมินผลกระทบ รวม 16 หน่วยงาน / 18 เรื่อง