ประวัติโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 อนุมัติให้มีการดำเนินโครงการไทยเที่ยวไทยและท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้มาตรการเสริมการพัฒนาชนบทชุมชน (มพช) เพื่อสนับสนุนการพื้นตัวของระบบเศรษฐกิจและส่งเสริมมาตรฐานในการพัฒนาประเทศระยะยาว ซึ่งกรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานหนึ่งที่ได้รับเลือกเข้าร่วมโครงการ ตามโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย โดยได้มีการคัดเลือกพื้นที่ ของหน่วยงานในส่วนภูมิภาค ซึ่งเป็นสถานที่สวยงาม มีกิจกรรมทางการเกษตรที่น่าสนใจเหมะสำหรับท่องเที่ยว ครั้งรกจำนวน 9 แห่ง และต่อมาได้มีการคัดเลือกเพิ่มเติม เป็น 15 และในปี 2551 คัดเลือกพื้นที่เพิ่มเติมเป็น 18 แห่ง ตามลำดับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย เป็นศูนย์ท่องเที่ยว ที่อยู่ 1 ใน 9 ที่ถูกกำหนดให้จัดทำโครงการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ด้านการเกษตร ตั้งแต่เริ่มโครงการครั้งแรก เนื่องจากเป็นพื้นที่ที่มีความสวยงามทางด้านธรรมชาติ มีที่ตั้งอยู่บนดอยสูง อากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี มีอากาศหนาวจัดในฤดูหนาว กิจกรรมของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย คือการทอลองวิจัยพืชสวนอุตสาหกรรม เช่น กาแฟ อาราบิก้า มะคาเดเมีย ฯลฯ ไม้ผลเมืองหนาวและไม้ดอกเมืองหนาว ฯลฯ เริ่มจัดทำโครงการตั้งแต่ปี 2544 มาจนถึงปัจจุบัน ในแต่ละปีจะมีนักท่องเที่ยว มาท่องเที่ยวเป็นจำนวนมาก และเป็นที่ชื่นชอบของนักท่องเที่ยวประเภทพจญภัย นอกจากการจัดการท่องเที่ยวภายในศูนย์ฯแล้ว มีการขยายผลไปสู่ชุมชน เช่น ร่วมกับ อบต.เพื่อ ผลักดันให้เกิดการท่องเที่ยวทางด้านวัฒนธรรมขึ้นภายในตำบลวาวี มีการจัดงานชิมชาและกาแฟวาวี ซึ่งถือเป็นงานประจำปี รวมทั้งมีการจัดทำท่องเที่ยวแบบโฮมเสตร์ ภายในหมู่บ้านใกล้เคียง การสร้างเครือข่าย การท่องเที่ยวกับบริษัทท่องเที่ยว และรีสอร์ทต่างๆ จนในปัจจุบันนี้ ดอยวาวีหรือดอยช้างถือว่าเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ซึ่งในทุกปีจะมีนักท่องเที่ยวมาเที่ยวเป็นจำนวนมาก สถานที่ตั้งและการเดินทาง ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ตั้งอยู่หมู่ที่ 3 บ้านดอยช้าง ตำบลวาวี อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย อยู่สูงจากระดับน้ำทะเล 1,200- 1,700 เมตร อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 18 – 19 องศาเซลเซียส เกือบตลอดปี ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2529 เดิมมีชื่อว่า สถานีทดลองเกษตรที่สูงวาวี สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร และโครงการพัฒนาที่สูงไทยเยอรมัน เมื่อปี พ.ศ. 2546 ปรับโครงสร้างใหม่เป็นศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย อยู่ห่างจากจังหวัดเชียงราย 43 กิโลเมตร สามารถเลือกใช้เส้นทางได้ 3 เส้นทาง 1. จากอำเภอเมืองเชียงราย วิ่งไปตามทางหลวง หมายเลข 1211 ผ่านสี่แยกเด่นห้าไปประมาณ 21 กิโลเมตร ถึงสามแยกทางเข้าหมู่บ้านห้วยส้านพลับพลา เลี้ยวขวาวิ่งตรง ไปตามถนนราดยางประมาณ 4 กิโลเมตร ผ่านฝายเก็บน้ำบ้าน ห้วยส้าน ทางเริ่มขึ้นเขาลาดชันไปตามถนนลูกรังอีกประมาณ 12 กิโลเมตร ผ่านบ้านห้วยส้านลีซอ เข้าเขตศูนย์วิจัยและ พัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย รวมระยะทาง37 กิโลเมตรใช้ เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 2. จากอำเภอเมืองเชียงราย วิ่งมาบนทางหลวง หมายเลข 1 ประมาณ 22กิโลเมตร ถึงสามแยกปากทางแม่สรวย เลี้ยวขวาทางไปอำเภอแม่สรวย ตามทางหลวงหมายเลข 118 ประมาณ 28 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านตีนดอยเลี้ยวขวา วิ่งไป ตามทางลาดชัน ประมาณ 5 กิโลเมตรเลี้ยวขวา ผ่านบ้านแสนเจริญ บ้านดอยล้านแล้ว ถึงศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรที่สูงเชียงราย รวมระยะทาง74 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 2 ชั่วโมง 3. จากอำเภอเมืองเชียงราย วิ่งมาบนทางหลวง หมายเลข 1 ประมาณ 22 กิโลเมตร ถึงสามแยกปากทางแม่สรวย เลี้ยวขวา ไปอำเภอแม่สรวย ตามทางหลวงหมายเลข 118 ประมาณ 28 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านตีนดอยเลี้ยวขวาตรง ไปประมาณ 23 กิโลเมตรถึงหมู่บ้านห้วยไคร้เลี้ยวขวาเข้าบ้าน ดอยช้าง ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตรเป็นถนนคอนกรีตถึง ภายในศูนย์ฯรวมระยะทางเส้นทางนี้ประมาณ 83 กิโลเมตร บ้านพักรับรอง นักท่องเที่ยว ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย บ้านศิลาหม่น นอนได้ 20 คนๆละ 150 บาท/คน/คืน ห้องที่ 1 ห้องที่ 2,3 ชั้นบน นอนได้ 14 คน ห้องน้ำ ชักโครก 2 ห้อง ห้องน้ำ นั่งยอง 2 ห้อง บ้านวิมานเมฆ (บ้านเอใหญ่) นอนได้ 17 คนๆละ 150 บาท/คน/คืน ชั้นล่าง นอนได้ 5 คน ชั้นบน นอนได้ 12 คน ห้องโถงชั้นล่าง ห้องน้ำ 1 ห้องในตัวบ้าน ห้องน้ำ 3 ห้อง นอกตัวบ้าน บ้านเสนาะวาริน นอนได้ 30 คนๆละ 150 บาท/คน/คืน ชั้นบน นอนได้ 20 คน ห้องที่ 1- ห้องที่ 5 ห้องน้ำในตัวบ้าน มี 2 ห้อง ห้องชั้นล่าง 5 ห้อง ห้องน้ำด้านหลังบ้าน มี 4 ห้อง บ้านทัศนดารา นอนได้ 7 คน หลังละ 2,500 บาท/หลัง/คืน ห้องที่ 1 ห้องที่ 2 - ห้องที่ 3 ห้องโถงในตัวบ้าน ห้องในตัวบ้าน มี 3 ห้อง ห้องน้ำในตัวบ้าน 1 ห้อง บ้านเอเฟรม เอ 1 - เอ 5 หลังละ 600 บาท/หลัง/คืน ลักษณะบ้าน เอ 1 - เอ5 บ้านเอ 4 - บ้านเอ 5 บ้าน เอ 1- เอ 3 ลักษณะบ้านเอ 1 - เอ 3 ห้องน้ำในตัวบ้าน พร้อมเครื่องทำน้ำอุ่น บ้านสีฟ้า นอนได้ 6 คนๆละ 150 บาท/คน//คืน ลักษณะบ้านสีฟ้า ที่นั่สำหรับทานข้าว นอนได้ จำนวน 6 คน ห้องน้ำ 1 ห้อง ในตัวบ้าน ห้องประชุม ห้องใหญ่ ลักษณะห้องประชุม เวทีหน้า ลักษณะการจัดห้องประชุม ลักษณะการจัดห้องประชุม ห้องประชุม 1 รองรับได้ 100 คนห้องประชุม 2 รองรับได้ 30 คนราคาห้องประชุม 30 คนห้องละ 2,000 บาท/วัน ราคาห้องประชุม 31 คนขึ้นไป 2,500 บาท/วัน ปฏิทินท่องเที่ยว