สภาหอการค้าแห้งประเทศไทย สมาคมพืชสวนแห่งประเทศไทย สมาคมมะพร้าวน้ำหอมไทย ตัวแทนล้งมะพร้าว (บริษัท P.Y.Thai Fruit และบริษัท ICOCO) กรมส่งเสริมการเกษตร และผู้แทนกรมวชิาการเกษตร ร่วมกันลงพื้น อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี ปรึกษาแลกเปลี่ยนประเด็นปัญหาและสถานการณ์การผลิตมะพร้าวน้ำหอม พบว่าเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไป สภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อการปลูกมะพร้าวน้ำหอม จึงทำให้ความชื้นสัมพันธ์ในแปลงต่ำส่งผลต่อผลผลิตของมะพร้าวลดลง อีกทั้งสภาพแวดล้อมที่แปรปรวนยังกระตุ้นการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ตลอดจนปัจจัยอื่น จึงร่วมกันวิเคราะห์และได้ข้อสรุปประเด็นปัญหา ดังต่อไปนี้

  1. ผลผลิตแตก/ปัญหามะพร้าวขาดคอ ไม่ให้ผลผลิต
  2. ความชื้นสัมพันธ์ในแปลงไม่เพียงพอ ทำให้ผลผลิตลดลง
  3. การป้องกันกำจัดด้วง แมลงศัตรูพืชมะพร้าว
  4. การจัดการ waste เช่น ทางมะพร้าว กาบมะพร้าว มะพร้าวผลลีบ ที่ถูกทิ้งไว้ในสวน
  5. การเตรียมการเรื่องการเก็บเกี่ยว ในช่วงที่ไม่มีน้ำรองรับในร่อง
  6. การใช้ปุ๋ยเพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุในดิน

จากประเด็นดังกล่าว กรมวิชาการเกษตร ได้สนับสนุนข้อมูลองค์ความรู้ควบคู่กับการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อให้เกษตรกรสามารถรับมือวิกฤตการณ์และผลิตได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพแวดล้อม โดยสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้จัดอบรม “การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน” เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2567 ณ ห้องประชุมองค์การบริหารส่วนตำบลแพงพวย อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี โดยมีเกษตรผู้ปลูกมะพร้าวน้ำหอม และผู้ประกอบการ เข้าร่วม จำนวน 30 ราย โดยมีเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้บรรยายในการอบรม หัวข้อบรรยาย ดังนี้

  1. การผลิตมะพร้าวน้ำหอมพรีเมี่ยม
    บรรยายโดย : นางสุภัทรา เลิศวัฒนาเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านไม้ผล สถาบันวิจัยพืชสวน
  2. เทคโนโลยีการผลิตมะพร้าวน้ำหอมคุณภาพเพื่อให้ได้มาตรฐานการส่งออก
    บรรยายโดย : นางสาวหยกทิพย์ สุดารีย์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร
  3. ธาตุอาหารที่สำคัญในการผลิตมะพร้าวน้ำหอม การหมักปุ๋ย วิเคราะห์ดินและใส่ปุ๋ยอย่างเหมาะสม
    บรรยายโดย : 1) นางสาวสายน้ำ อุดพ้วย นักวิชาการเกษตรชำนาญการ
    2) นางสุปราณี มั่นหมาย นักวิชาการเกษตรชำนายการพิเศษ

พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564 (Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act หรือ TRIUP ACT) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานภาครัฐสามารถมีสิทธิ์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ อันจะเป็นการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการต่อยอด การวิจัย และต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น นั้น

กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้แทนหรือหน่วยงานผู้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก ซึ่ง พ.ร.บ. TRIUP ACT ได้บังคบใช้กับทุนวิจัยจากหน่วยงานของรัฐ โดยมีแหล่งทุน 9 PMU ดังนี้
1. สำนักงำนกำรวิจัยแห่งชำติ (วช.)
2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.)
3. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
5. หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
6. หน่วยบริหำรและจัดการรทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.)
7. หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (บพข.)
8. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. (TCELS)
9. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (์NVI)

ณ ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ได้ลงนามในสัญญาเป็นผู้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก 9 PMU ดังนี้
1. สำนักงำนกำรวิจัยแห่งชำติ (วช.)
2. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
3. หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)

และเมื่อได้รับทุนวิจัยไปแล้ว กรมวิชาการเกษตร ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. TRIUP ACT ในฐานะ ผู้รับทุน ซึ่ง “ผู้รับทุน” หมายถึง บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือ นิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ให้ทุนในสัญญาให้ทุน

ซึ่ง สกสว.ได้ออกคู่มือปฏิบัติ TRIUP ACT สำหรับผู้รับทุน ดังภาพ

ซึ่งการที่จะขอรับทุนวิจัยได้ต้องมีผู้เขียนโครงการวิจัย หรือ “นักวิจัย” หมายถึง นักวิจัยที่ปฏิบัติงานภายใต้กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ประดิษฐ์หรือผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งผู้รับทุนระบุว่า เป็นนักวิจัยในการเปิดเผยผลงานวิจัยและนวัตกรรม และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ซึ่งผู้รับทุนระบุว่า เป็นผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งร่วมประดิษฐ์หรือร่วมสร้างสรรค์ผลงาานนั้นด้วย

ซึ่ง สกสว. ได้ออกคู่มือปฏิบัติ TRIUP ACT สำหรับนักวิจัย ดังภาพ

และเมื่อทุนวิจัยที่ได้รับครบอายุสัญญาหรืองานวิจัยเสร็จสิ้น “หัวหน้าโครงการและนักวิจัย” ต้องสมัครเข้าใช้งานระบบ TRIUP ทุนท่าน ได้ที่ https://triup.tsri.or.th/siteregister เพื่อให้หัวหน้าโครงการวิจัย รายงานขอค้นพบใหม่ รายงายเปิดเผยผลงานและนวัตกรรม แจ้งความประสงค์ขอเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อรายงานต่อ “ผู้รับทุน” (กรมวิชาการเกษตร) เพื่อ “ผู้รับทุน” จะรายงานให้ “ผู้ให้ทุน” พิจารณาอนุมัติต่อไป โดยกองแผนงานและวิชาการ เป็นผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ในการรายงานผ่านระบบสารสนเทศ TRIUP และเมื่อน “ผู้ให้ทุน” อนุมัติให้ความเป็นเจ้าของผลงานงานวิจัยแก่ “ผู้รับทุน” (กรมวิชาการเกษตร) แล้ว “หัวหน้าโครงการ” ต้องรายงานผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นระยะเวลา 3 ปี

หัวหน้าโครงการวิจัยและนักวิจัย สามารถ Download แบบฟอร์ม รายงานขอค้นพบใหม่ รายงายเปิดเผยผลงานและนวัตกรรม การแจ้งความประสงค์ขอเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม การเสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม และคู่มือการใช้งานระบบสารรสนเทศ Triup ของ สกสว. ได้ดังนี้

รายงานขอค้นพบใหม่
และเปิดเผยผลงานวิจัย

แจ้งความประสงค์ขอเป็นเจ้าของ
ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

เสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

ข้อค้นพบใหม่ คืออะไร ?

ข้อค้นพบหรือผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม โดยการค้นคว้า การทดลอง การสำรวจหรือการศึกษา รวมถึงองค์ความรู้ การประดิษฐ์ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการบริการ หรือการจัดการในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นข้อค้นพบใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้

การรายงานข้อค้นพบใหม่

โครงการวิจัยที่เป็นไปตาม พ.ร.บ. TRIUP ACT เมื่อพบข้อค้นพบใหม่จะต้องรายงานข้อค้นพบใหม่ รวมถึงจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในระบบ เพื่อขอสิทธิความเป็นเจ้าของจากแหล่งทุนก่อน จึงจะสามารถดำเนินการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้

การเขียนแผนและกลไกลการใช้ประโยชน์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม

แผนการใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน

  1. การใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ คือ การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือต่อยอดผลงานนั้น
  2. การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ คือ การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริการจัดการ หรือการดำเนินการอื่นใดในเชิงสาธารณะ
  3. การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ คือ การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ หรือการดำเนินการอื่นใดในเชิงพาณิชย์
  4. การใช้ประโยชน์ในเชิงจำหน่าย จ่าย โอน คือ การจำหน่าย จ่าย โอน ผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยมีประโยชน์ตอบแทนที่คำนวณเป็นเงินได้ด้วย

กรมวิชาการเกษตร ได้ทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและการต่อยอดงานวิจัยภาคการเกษตร จัดทำขึ้น เมื่อวันที่ 20 กันยายน 2566 ระหว่าง กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมสถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง (องค์การมหาชน) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูล องค์ความรู้ด้านการวิจัย นวัตกรรมด้านการเกษตรและการตลาด รวมถึงความต้องการงานวิจัยจากภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

2. เพื่อขับเคลื่อนผลงานวิจัยของ กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเก้าฝ่ายสู่การปฏิบัติเพื่อให้เกษรกร/สถาบันเกษตรกร นำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพ และมาตรฐานการผลิต และเชื่อมโยงตลาด

3. เพื่อสร้างเครือข่ายร่วมมือในการส่งเสริมและสนับสนุนในการนำเทคโนโลยีจากผลงานวิจัยและพัฒนาด้านการเกษตรของ กรมวิชาการเกษตร และหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือเก้าฝ่าย การใช้ประโยชน์ในทุกมิติทั้งในเชิงนโยบาย เชิงสาธารณะ และเชิงพาณิชย์

4. เพื่อแลกเปลี่ยนและเสริมสร้างการเรียนรู้ ประสบการณ์และข้อมูลทางวิชาการ รวมทั้งจัดฝึกอบรมสัมมนาทางวิชาการเพื่อต่อยอดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรระหว่างบุคลากรของหน่วยงานภาคีเครือข่ายความร่วมมือทั้งเก้าฝ่าย

ผลการดำเนินงานปีงบประมาณ 2567

การขับเคลื่อนเทคโนโลยีร่วมกัน
ระหว่าง
กรมวิชาการเกษตร กับ กรมส่งเสริมการเกษตร
การนำเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ไปขยายผลให้กับเกษตร ในเทคโนโลยีการผลิตปุ๋ยชีวภาพอาร์บัสคูลาร์ไมคอร์ไรซา และปุ๋ยชีวภาพละลายฟอสเฟต

การดำเนินงานในปีงบประมาณ 2568

ตอนที่ 1 กว่าจะเป็นส้มโอทับทิมสยาม ผลไม้อัญมณีสำทับทิม

ตอนที่ 2 ยกระดับคุณภาพส้มโอทับทิมสยาม ด้วยการจัดการปุ๋ยตามพัฒนาการของพืช

ตอนที่ 3 ยกระดับคุณภาพส้มโอทัลทิมสยาม ด้วยการจัดการโรคและแมลงอย่างยั่งยื่น

ตอนที่ 4 เอกลักษณ์ทางภูมิศาสตร์ เส้นทางสู่ตลาดโลก

ตอนที่ 5.1 ทางเลือกการผลิต ท่ามกลางวิกฤติสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

ตอนที่ 5.2 เส้นทางสู่ตลาดสร้างรายได้ที่ยั่งยืน

ประเภทงานวิจัยพื้นฐาน

ชื่อเรื่องผลงานวิจัยหน่วยงานระดับไฟล์
1อนุกรมวิธานไรสี่ขาวงศ์ Eriophyidae ของประเทศไทยสำนักวิจัยพัฒนา
การอารักขาพืช
ผลงานวิจัย
ระดับดีเด่น
PDF
📜
2การพัฒนาวิธีการตรวจคัดกรองสายพันธุ์มะละกอ
ดัดแปรพันธุกรรม
สำนักวิจัยพัฒนา
เทคโนโลยีชีวภาพ
ผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜
3การพัฒนาวิธีการสกัดและทดสอบประสิทธิภาพ
สารซาโปนินจากเปลือกเงาะ
สถาบันวิจัยพืชสวนผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜

ประเภทงานวิจัยประยุกต์

ชื่อเรื่องผลงานวิจัยหน่วยงานระดับไฟล์
1การวิจัยและพัฒนาระบบกรีดที่เหมาะสมกับยางพันธุ์
RRIT 251 ในเขตพื้นที่ภาคใต้ตอนบน
สำนักวิจัยและพัฒนา
การเกษตรเขตที่ 7
ผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜
2การตอบสนองของมันสำปะหลังต่อการจัดการธาตุอาหาร
ในกลุ่มดินร่วน : ชุดดินห้วยโป่ง
สถาบันวิจัยพืชไร่
และพืชทดแทนพลังงาน
ผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜

ประเภทงานพัฒนางานวิจัย

ชื่อเรื่องผลงานวิจัยหน่วยงานระดับไฟล์
1การสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับดาหลาในเชิงพาณิชย์ด้วยการสกัด
เส้นใยจากลำต้นดาหลาเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมการทอผ้า
ในจังหวัดนราธิวาส
สำนักวิจัยและพัฒนา
การเกษตรเขตที่ 8
ผลงานวิจัย
ระดับดีเด่น
PDF
📜
2โครงการขยายผลการใช้เทคโนโลยีแบบผสมผสานเพื่อ
ควบคุมแมลงวันผลไม้ในชมพู่ ฝรั่ง และพุทรา ในพื้นที่
จังหวัดราชบุรี นครปฐม และสมุทรสาคร
สำนักวิจัยและพัฒนา
การเกษตรเขตที่ 5
ผลงานวิจัย
ระดับดี
PDF
📜
3การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตส้มโอพันธุ์ทับทิม
สยามในพื้นที่ภาคใตต้อนบน
สำนักวิจัยและพัฒนา
การเกษตรเขตที่ 7
ผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜

ประเภทงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์

ชื่อเรื่องผลงานวิจัยหน่วยงานระดับไฟล์
1 ข้าวโพดหวานลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 2สถาบันวิจัยพืชไร่
และพืชทดแทนพลังงาน
ผลงานวิจัย
ระดับดีเด่น
PDF
📜
2การปรับปรุงพันธุ์มันเทศเพื่อการบริโภคสดสถาบันวิจัยพืชสวนผลงานวิจัย
ระดับดี
PDF
📜
3การทดสอบพันธุ์พริกขี้หนูผลใหญ่พันธุ์จินดาสถาบันวิจัยพืชสวนผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜

ประเภทงานวิจัยสิ่งประดิษฐ์คิดค้น

ชื่อเรื่องผลงานวิจัยหน่วยงานระดับไฟล์
1 ออกแบบและพัฒนาระบบปรับอากาศและระบบทำความเย็น
สำหรับการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์พืช
สถาบันวิจัยเกษตร
วิศวกรรม
ผลงานวิจัย
ระดับดีเด่น
PDF
📜
2การพัฒนาเครื่องปลูกสับปะรดแบบพ่วงท้ายรถแทรกเตอร์
ขนาดเล็ก
สถาบันวิจัยเกษตร
วิศวกรรม
ผลงานวิจัย
ระดับดี
PDF
📜
3พัฒนาเครื่องปลิดฝักข้าวโพด แบบปลิด 2 แถวสถาบันวิจัยเกษตร
วิศวกรรม
ผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜

ประเภทงานบริการวิชาการ

ชื่อเรื่องผลงานวิจัยหน่วยงานระดับไฟล์
1ระบบควบคุมการส่งออกลำไยสดจากประเทศไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีนกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืชผลงานวิจัย
ระดับชมเชย
PDF
📜