
การปฏิบัติตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 (TRIUP ACT)
พระราชบัญญัติส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ.2564 (Thailand Research and Innovation Utilization Promotion Act หรือ TRIUP ACT) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้รับทุนหรือนักวิจัยที่ได้รับทุนจากหน่วยงานภาครัฐสามารถมีสิทธิ์เป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมได้ อันจะเป็นการส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งการต่อยอด การวิจัย และต่อเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวม รวมถึงสร้างแรงจูงใจให้มีการวิจัยและสร้างนวัตกรรมภายในประเทศเพิ่มขึ้น นั้น
กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้แทนหรือหน่วยงานผู้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก ซึ่ง พ.ร.บ. TRIUP ACT ได้บังคบใช้กับทุนวิจัยจากหน่วยงานของรัฐ โดยมีแหล่งทุน 9 PMU ดังนี้
1. สำนักงำนกำรวิจัยแห่งชำติ (วช.)
2. สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สนช.)
3. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
4. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.)
5. หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
6. หน่วยบริหำรและจัดการรทุนด้านการพัฒนากำลังคน และทุนด้านการพัฒนาสถาบันอุดมศึกษาการวิจัยและสร้างนวัตกรรม (บพค.)
7. หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย (บพข.)
8. ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. (TCELS)
9. สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (์NVI)

ณ ปัจจุบัน กรมวิชาการเกษตร ได้ลงนามในสัญญาเป็นผู้รับทุนวิจัยจากหน่วยงานภายนอก 9 PMU ดังนี้
1. สำนักงำนกำรวิจัยแห่งชำติ (วช.)
2. สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)
3. หน่วยงานบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.)
และเมื่อได้รับทุนวิจัยไปแล้ว กรมวิชาการเกษตร ต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ. TRIUP ACT ในฐานะ ผู้รับทุน ซึ่ง “ผู้รับทุน” หมายถึง บุคคลธรรมดา คณะบุคคล หรือ นิติบุคคลซึ่งเป็นคู่สัญญากับผู้ให้ทุนในสัญญาให้ทุน
ซึ่ง สกสว.ได้ออกคู่มือปฏิบัติ TRIUP ACT สำหรับผู้รับทุน ดังภาพ
ซึ่งการที่จะขอรับทุนวิจัยได้ต้องมีผู้เขียนโครงการวิจัย หรือ “นักวิจัย” หมายถึง นักวิจัยที่ปฏิบัติงานภายใต้กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้ประดิษฐ์หรือผู้สร้างสรรค์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม ซึ่งผู้รับทุนระบุว่า เป็นนักวิจัยในการเปิดเผยผลงานวิจัยและนวัตกรรม และให้หมายความรวมถึงหัวหน้าโครงการวิจัยและผู้ซึ่งผู้รับทุนระบุว่า เป็นผู้ช่วยนักวิจัยซึ่งร่วมประดิษฐ์หรือร่วมสร้างสรรค์ผลงาานนั้นด้วย
ซึ่ง สกสว. ได้ออกคู่มือปฏิบัติ TRIUP ACT สำหรับนักวิจัย ดังภาพ

และเมื่อทุนวิจัยที่ได้รับครบอายุสัญญาหรืองานวิจัยเสร็จสิ้น “หัวหน้าโครงการและนักวิจัย” ต้องสมัครเข้าใช้งานระบบ TRIUP ทุนท่าน ได้ที่ https://triup.tsri.or.th/siteregister เพื่อให้หัวหน้าโครงการวิจัย รายงานขอค้นพบใหม่ รายงายเปิดเผยผลงานและนวัตกรรม แจ้งความประสงค์ขอเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม และเสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อรายงานต่อ “ผู้รับทุน” (กรมวิชาการเกษตร) เพื่อ “ผู้รับทุน” จะรายงานให้ “ผู้ให้ทุน” พิจารณาอนุมัติต่อไป โดยกองแผนงานและวิชาการ เป็นผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ในการรายงานผ่านระบบสารสนเทศ TRIUP และเมื่อน “ผู้ให้ทุน” อนุมัติให้ความเป็นเจ้าของผลงานงานวิจัยแก่ “ผู้รับทุน” (กรมวิชาการเกษตร) แล้ว “หัวหน้าโครงการ” ต้องรายงานผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เป็นระยะเวลา 3 ปี
หมายเหตุ : หลักจากวันที่สิ้นสุดโครงการวิจัย หรือครบกำหนดระยะเวลาตามสัญญา ผู้รับทุนต้องจัดทำรายงานการเปิดเผยผลงาวิจัยและนวัตกรรมยื่นเสนอต่อผู้ให้ทุน ภายใน 90 วัน หากไม่ดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนด ผู้รับทุนตะเสียสิทธิในการแจ้งขอความเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรมของโครงการวิจัย โดยสิทธิตกเป็นของผู้ให้ทุนโดยทันที
กองแผนงานและวิชาการ ได้สรุปขั้นตอนการดำเนินการไว้ ดังนี้

หัวหน้าโครงการวิจัยและนักวิจัย สามารถ Download แบบฟอร์ม รายงานขอค้นพบใหม่ รายงายเปิดเผยผลงานและนวัตกรรม การแจ้งความประสงค์ขอเป็นเจ้าของผลงานวิจัยและนวัตกรรม การเสนอแผนและกลไกการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม และคู่มือการใช้งานระบบสารรสนเทศ Triup ของ สกสว. ได้ดังนี้
ข้อค้นพบใหม่ คืออะไร ?
ข้อค้นพบหรือผลที่เกิดขึ้นจากการวิจัยหรือสร้างนวัตกรรม โดยการค้นคว้า การทดลอง การสำรวจหรือการศึกษา รวมถึงองค์ความรู้ การประดิษฐ์ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์ กระบวนการบริการ หรือการจัดการในรูปแบบใหม่ซึ่งเป็นข้อค้นพบใหม่หรือพัฒนาให้ดีขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญและนำไปใช้ประโยชน์ได้
การรายงานข้อค้นพบใหม่
โครงการวิจัยที่เป็นไปตาม พ.ร.บ. TRIUP ACT เมื่อพบข้อค้นพบใหม่จะต้องรายงานข้อค้นพบใหม่ รวมถึงจัดทำแผนการใช้ประโยชน์ในระบบ เพื่อขอสิทธิความเป็นเจ้าของจากแหล่งทุนก่อน จึงจะสามารถดำเนินการยื่นขอรับความคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาได้
การเขียนแผนและกลไกลการใช้ประโยชน์ ผลงานวิจัยและนวัตกรรม
แผนการใช้ประโยชน์ แบ่งออกเป็น 4 ด้าน
- การใช้ประโยชน์ในเชิงวิชาการ คือ การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ในการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง หรือวิจัยเพื่อพัฒนาต้นแบบผลิตภัณฑ์หรือต่อยอดผลงานนั้น
- การใช้ประโยชน์ในเชิงสาธารณะ คือ การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริการจัดการ หรือการดำเนินการอื่นใดในเชิงสาธารณะ
- การใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ คือ การใช้หรืออนุญาตให้ใช้สิทธิในผลงานวิจัยและนวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ การจัดทำบริการ การปรับปรุงกรรมวิธีการผลิต การจัดโครงสร้างองค์กร การบริหารจัดการ หรือการดำเนินการอื่นใดในเชิงพาณิชย์
- การใช้ประโยชน์ในเชิงจำหน่าย จ่าย โอน คือ การจำหน่าย จ่าย โอน ผลงานวิจัยและนวัตกรรม โดยมีประโยชน์ตอบแทนที่คำนวณเป็นเงินได้ด้วย
หมาบเหตุ : นักวิจัยจะต้องระบุแผนที่จะดำเนินการรายปี เป็นระยะเวลา 3 ปี และต้องรายงานการใช้ประโยชน์ในทุก ๆ ปี