Search for:

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย  ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2515 ในนามของ สถานีเกษตรเชียงราย และในปี พ.ศ. 2516 ได้เปลี่ยนชื่อเป็น สถานีทดลองพืชไร่เชียงราย ต่อมาในปี พ.ศ. 2525 กรมวิชาการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ จึงตั้งเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงรายตั้งอยู่ที่ 19o52’ เหนือ และ 99o47’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 400 เมตร ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 844 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมด 1,925 ไร่ ศูนย์ฯตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตกึ่งร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,483.3 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 74.9% อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 25.2oC โดยอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 19.7oC และสูงสุดเฉลี่ย 31.1oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย   รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนเศรษฐกิจในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ดังนี้

  1. ไม้ผล : ลิ้นจี่ ลำไย  ส้มโอ  สับปะรด  ส้มเปลือกล่อน
  2. พืชผัก : กะหล่ำ มันฝรั่ง  ถั่วลันเตา  ขิง  เห็ด
  3. ไม้ดอกไม้ประดับ : ปทุมมา กล้วยไม้
  4. พืชสมุนไพร : เจียวกู้หลาน กระเจี๊ยบแดง
  5. พืชอุตสาหกรรม : มะคาเดเมีย กาแฟอาราบิก้า  ปาล์มน้ำมัน
  6. พืชอื่นๆ : ยางพารา

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ  ถั่วลันเตา “เชียงราย 3”  ดอกปทุมมาลูกผสม “CR-SP-01-1” 

                             ดอกปทุมมา ลูกผสม “CR-AT-01-2”    ลูกผสม “CR-PP-01-4”

เทคโนโลยีการผลิต  การตัดแต่งกิ่งลำไยพุ่มเตี้ยเพื่อสะดวกในการเก็บเกี่ยวและลดต้นทุนการผลิต

 

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2523 ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯได้เสด็จพระราชดำเนินมายังทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ของชาวไทยภูเขา ตำบลแม่วิน อำเภอแม่วาง จังหวัดเชียงใหม่ และทรงมีพระราชดำรัสให้กองพืชสวน ซึ่งเป็นตัวแทนของกรมวิชาการเกษตร ดำเนินการใช้ทุ่งหญ้าแห่งนี้เป็นสถานที่ทดลองและขยายพันธุ์พืชสำหรับเกษตรกรบนที่สูง เช่น ไม้ผลเมืองหนาว พืชผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ และกาแฟ โดยตั้งเป็นสถานีทดลองเกษตรหลวงขุนวาง จนกระทั่งปี พ.ศ. 2539 ได้รับการยกระดับเป็นศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันวิจัยพืชสวน ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ตั้งอยู่ที่ตำบลแม่เหียะ อำเภอหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ที่ 18o63’ เหนือ และ 98o51’ ตะวันออก ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนบน ห่างจากกรุงเทพมหานคร 714 กิโลเมตร โดยเนื้อที่ของศูนย์วิจัยหลักมีแปลงวิจัย 4 แห่ง ได้แก่ ขุนวาง (ตำบลแม่วิน) พื้นที่ 450 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300-1,400 เมตร, แม่จอนหลวง (ตำบลแม่นาจร) พื้นที่ 1,250 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,300-1,400 เมตร, โป่งน้อย (ตำบลแม่วิน) ทั้งหมด 200 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเล 900-1,000 เมตร ละผาแง่ม (ตำบลแม่วิน) พื้นที่ 100 ไร่ สูงจากระดับน้ำทะเล 1,400-1,600 เมตร ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตกึ่งร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,900 มิลลิเมตรต่อปี มีลมพัดแรงในช่วงฤดูหนาว อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 12.0oC และสูงสุดเฉลี่ย 35.0oC

ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่   รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนเศรษฐกิจในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือตอนบน ดังนี้

  1. ไม้ผล : สตรอเบอรี่ พีช  องุ่น  พลัม  เนคทารีน  พลับ  ทับทิม
  2. พืชผัก : มันฝรั่ง พืชผักเมืองหนาว
  3. ไม้ดอกไม้ประดับ : กล้วยไม้ เฟิร์น
  4. พืชสมุนไพร : มะแขว่น สมุนไพรพื้นที่สูง
  5. พืชอุตสาหกรรม : มะคาเดเมีย กาแฟอาราบิก้า  ชา  เกาลัดจีน

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ  – มะคาเดเมีย “เชียงใหม่ 400”  “เชียงใหม่ 700”  “เชียงใหม่ 1000” 

                             – กาแฟอาราบิก้า “เชียงใหม่ 80”

                             – ชา “MCL#3” 

 

ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์

ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์  ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 22 ธันวาคม  พ.ศ. 2526 โดยพระราชดำริของ

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในนาม สถานีวิจัยเกษตรที่สูงเข้าค้อ ในปี พ.ศ. 2549 ได้รับการยกระดับและเปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนเพชรบูรณ์ ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 ได้เปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ และหลังการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างกรมวิชาการเกษตรในปี พ.ศ. 2559 จึงได้รับการยกระดับและเปลี่ยนชื่ออีกครั้งเป็น ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์  ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ตั้งอยู่ที่ 16o38’ เหนือ และ 100o59’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 600-700 เมตร ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานคร 390 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 834 ไร่ ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 900-3,000 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 15.0oC และสูงสุดเฉลี่ย 30.0oC

ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนที่สูงในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้

  1. ไม้ผล : มะขาม สตรอเบอร์รี่  พลับ  เสาวรส
  2. พืชผัก : ขิง ชาโยเต้  พริก  ถั่วแขก
  3. ไม้ดอกไม้ประดับ : กล้วยไม้ ปทุมมา  บัวสาย
  4. พืชสมุนไพร : เจียวกู้หลาน ขมิ้นชัน  พริกไทย
  5. พืชอุตสาหกรรม : มะคาเดเมีย กาแฟอาราบิก้า  อโวคาโด ชา  มะกอกน้ำมัน
  6. พืชอื่นๆ : ข้าวโพด ยางพารา

พืชที่รับผิดชอบมะคาเดเมีย  อาโวคาโด  สตรอเบอร์รี่  กล้วยไม้  ชาโยเต้

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2486  ในนามของ สถานีเกษตรท่าชัย ต่อมาในปี พ.ศ. 2516 เปลี่ยนเป็น สถานีทดลองพืชสวนท่าชัย จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2552 ได้รับการยกระดับเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ภายใต้การกำกับดูแลของสถาบันวิจัยพืชสวน ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัยตั้งอยู่ที่ 17o28’ เหนือ และ 99o50’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 86 เมตร ตั้งอยู่ภาคเหนือตอนล่าง ห่างจากกรุงเทพมหานคร 485กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 656 ไร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,200 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 65% อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.6oC โดยอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.2oC และสูงสุดเฉลี่ย 33.0oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนสุโขทัย  รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนเศรษฐกิจในส่วนของพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง ดังนี้

  1. ไม้ผล : กล้วย มะม่วง  ส้มโอ  ละมุด  มะนาว  มะปราง
  2. พืชผัก : พริก มันเทศ
  3. พืชสมุนไพร : งาม้อน

งานวิจัยดีเด่น

          มันเทศลูกผสม  ลักษณะเด่น คือ เจริญเติบโตเร็ว ทนทานต่อด้วงงวงมันเทศ  เนื้อเหนียวนุ่ม  หวาน  รสชาติดี  ได้แก่  มันเทศลูกผสม “ST 03”  “ST 18” 

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย

ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2529 ในนาม สถานีทดลองเกษตรที่สูงภูเรือ ต่อมาในปี พ.ศ. 2555 ได้รับการยกระดับและเปลี่ยนชื่อเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย   ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย   ตั้งอยู่ที่ 17o27’ เหนือ และ 101o21’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 900-1,00 เมตร ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 490 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,000 ไร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย   ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตกึ่งร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,575 มิลลิเมตรต่อปี อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 17.0oC และสูงสุดเฉลี่ย 27.0oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย   รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้

  1. ไม้ผล : พีช พลับ  สาลี่  สตริเบอร์รี่
  2. พืชผัก : พืชผักเขตหนาว
  3. ไม้ดอกไม้ประดับ : ไม้ดอกเขตหนาว
  4. พืชอุตสาหกรรม : มะคาเดเมีย เกาลัดจีน

พืชที่รับผิดชอบ : มะคาเดเมีย  สาลี่  สตรอเบอร์รรี่  ไม้ดอกเขตหนาว  พืชผักเขตหนาว

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2517 ในนาม สถานีทดลองพืชสวนศรีสะเกษ ต่อมาในปี พ.ศ.

2525 กรมวิชาการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ภายใต้โครงการวิจัยเกษตรแห่งชาติ จึงตั้งเป็น

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ   ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ   ตั้งอยู่ที่ 15o04’ เหนือ และ 104o15’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 126 เมตร ตั้งอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 550 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,093.75 ไร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ   ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,553 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 45.9% อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.0oC และสูงสุดเฉลี่ย 32.0oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนศรีสะเกษ   รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดังนี้

  1. ไม้ผล : มะขาม มะละกอ  มะม่วง
  2. พืชผัก : พริก กระเทียม  หอมแดง  มะเขือเทศ  ฟักทอง
  3. ไม้ดอกไม้ประดับ : มะลิ กล้วยไม้  บัวสาย  บัวหลวง
  4. พืชสมุนไพร : กระเจี๊ยบแดง ไพล  ขมิ้นชัน
  5. พืชอุตสาหกรรม : มะม่วงหิมพานต์ กาแฟโรบัสต้า

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ   – มะขาม  “ศก.019”   มะละกอ “แขกดำศรีสะเกษ” มะม่วง “แก้ว 007”

                              – มะม่วงหิมพานต์ “ศก.60-1”& “ศก. 60-2” 

                              – มะเขือเทศ “ศรีสะเกษ 1”    “ศรีสะเกษ 19”

                              – พริก “หัวเรือ เบอร์13”  พริก “หัวเรือ เบอร์25”  พริก “จินดา 054”

                              – พริก “ยอดสน” พริก “ห้วยสีทน ศก.1”

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2525 ภายใต้โครงการวิจัยเกษตรแห่งชาติ กรมวิชาการเกษตร เดิมใช้ชื่อว่า ศูนย์วิจัยพืชสวนราชบุรี ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 จึงได้ย้ายที่ตั้งมาอยู่ที่สถานีทดลองพืชสวนพลิ้ว และเปลี่ยนชื่อเป็นศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี  ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี  ตั้งอยู่ที่ 12o5’ เหนือ และ 102o2’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 24 เมตร ตั้งอยู่ภาคตะวันออก ห่างจากกรุงเทพมหานคร 269 กิโลเมตร โดยมีเนื้อที่ของศูนย์วิจัยหลักที่ตำบลขลุง ประมาณ 1,100 ไร่  และมีแปลงวิจัย 2 แห่ง ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาไม้ผลเศรษฐกิจภาคตะวันออก (ห้วยสะพานหิน) 900 ไร่ และ ศูนย์วิจัยและพัฒนาเกษตรจันทบุรี (ทุ่งเพล) 300 ไร่ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี   ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 3,358 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 78% อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 27.7oC และสูงสุดเฉลี่ย 31.7oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี   รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนในส่วนของพื้นที่ภาคตะวันออก ดังนี้

  1. ไม้ผล : ทุเรียน มังคุด  เงาะ  สละ  ลองกอง  สับปะรด  ลำไย  มะม่วง  กระท้อน
  2. ไม้ดอกไม้ประดับ : กล้วยไม้ เฟิร์น  ไม้ประดับพื้นเมือง
  3. พืชสมุนไพร : อบเชย พริกไทย  วานิลลา  กระวาน  รางจืด
  4. พืชอุตสาหกรรม : โกโก้

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ   ทุเรียน  “จันทบุรี 1”   “จันทบุรี 2”   “จันทบุรี 3”   “จันทบุรี 4”  “จันทบุรี 5”    “จันทบุรี 6”

พืชที่รับผิดชอบ  มังคุด  เงาะ  กล้วยไม้

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง

ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2531 ในนาม สถานีทดลองพืชสวนตรัง ในปี พ.ศ. 2539 ได้รับการยกระดับและเปลี่ยนเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง  ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง ตั้งอยู่ที่ 7o34’ เหนือ และ 99o21’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 14 เมตร ตั้งอยู่ภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 854 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 2,400 ไร่  ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง  ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,196 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 80%  อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 26.4oC และสูงสุดเฉลี่ย 34.0oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนตรัง  รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้

  1. ไม้ผล : ทุเรียน  ลองกอง  มังคุด  ขนุน  ส้มโอ  สัมจุก
  2. พืชผัก : สะตอ
  3. ไม้ดอกไม้ประดับ : ดาหลา และพืชวงศ์ขิงข่าอื่นๆ
  4. พืชสมุนไพร : อบเชย ขมิ้นชัน  หมาก  ดีปลี

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ   ขมิ้นชัน “ตรัง 1”  “ตรัง 84-2”

                                ดาหลา  “ตรัง 1”  “ตรัง 2”  “ตรัง 3”  “ตรัง 4”  “ตรัง 5” 

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร  ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2503 ในนาม สถานีเกษตรสวี ต่อมาเปลี่ยนเป็น สถานีทดลองสวี ในปี พ.ศ. 2525 กรมวิชาการเกษตรมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่จึงตั้งเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร     ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร ตั้งอยู่ที่ 10o29’ เหนือ และ 99o11’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 15 เมตร ตั้งอยู่ภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 522 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,700 ไร่  ศูนย์ฯตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศมรสุมเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 2,057 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยสูงสุดระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนพฤศจิกายน  92%  และความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยต่ำสุดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถุงเดือนเมษายน 56% อุณภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.5oC และสูงสุดเฉลี่ย 31.8oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร  รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้

  1. ไม้ผล : สับปะรด ทุเรียน 
  2. ไม้ดอกไม้ประดับ : กล้วยไม้ เฟิหน้าวัว
  3. พืชสมุนไพร : วานิลลา ขมิ้นชัน  ข่า  หมาก  จันทร์เทศ
  4. พืชอุตสาหกรรม : มะพร้าว กาแฟโรบัสต้า โกโก้

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ   มะพร้าว “สวี 1 (มาวา)”  “ชุมพรลูกผสม 60”  “ชุมพรลูกผสม 2”  “ชุมพรลูกผสม 84-1”  “ชุมพรลูกผสม 84-2” 

                           กาแฟโรบัสต้าและโกโก้  “ชุมพร 1”  “ชุมพร 2”  “ชุมพร 3”  “ชุมพรลูกผสม84-4”  ชุมพรลูกผสม 84-5”           ชุมพรลูกผสม 1” 

 

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2497  ในนาม สถานีทดลองยางยะลา ต่อมา ในปี พ.ศ. 2544ได้รับการยกระดับและเปลี่ยนเป็น สถานีวิจัยพืชสวนธารโต และในปี พ.ศ. 2558 ได้รับการยกระดับอีกครั้งเป็น ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา ตั้งอยู่ที่ 6o10’ เหนือ และ 101o10’ ตะวันออก สูงจากระดับน้ำทะเล 200 เมตร ตั้งอยู่ภาคใต้ ห่างจากกรุงเทพมหานคร 1,140 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 1,009 ไร่  ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา  ตั้งอยู่ในสภาพภูมิอากาศเขตร้อน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 1,900 มิลลิเมตรต่อปี ความชื้นสัมพัทธ์ 80%  อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปี 27.0oC โดยอุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ย 22.0 oC และสูงสุดเฉลี่ย 32.0oC

ศูนย์วิจัยพืชสวนยะลา  รับผิดชอบงานวิจัยด้านพืชสวนในส่วนของพื้นที่ภาคใต้ ดังนี้

  1. ไม้ผล : ลองกอง  มังคุด  ทุเรียน กล้วย  เงาะ
  2. ไม้ดอกไม้ประดับ : ดาหลา หน้าวัว
  3. พืชอุตสาหกรรม : กาแฟโรบัสต้า

งานวิจัยดีเด่น

พันธุ์รับรอง/แนะนำ   ดาหลา  “ลูกผสม”  “ลูกผสม 1”  “ลูกผสม 2” 

พืชที่รับผิดชอบ           หน้าวัว  กาแฟโรบัสต้า