Search for:
สัมมนาวิชาการ เรื่อง “มะพร้าว สมุนไพร ช่วยได้ ให้สุขภาพดี และไม่แก่” และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565

   วันจันทร์ ที่ 22 พฤษภาคม 2566 ดร.ชูชาติ วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เป็นประธานเปิดการสัมมนาวิชาการ เรื่อง “มะพร้าว สมุนไพร ช่วยได้ ให้สุขภาพดี และไม่แก่” และการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2565 จัดโดย ชมรมอนุรักษ์และพัฒนาน้ำมันมะพร้าว ร่วมกับสถาบันวิจัยพืชสวน ณ ห้องประชุมชั้น 5 อาคารเฉลิมพระเกียรติ กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร

     กรมวิชาการเกษตรในฐานะองค์กรที่สนับสนุนการวิจัยและพัฒนามะพร้าวมาอย่างต่อเนื่อง โดยกรมวิชาการเกษตรมีหน้าที่ในการผลิตมะพร้าวพันธุ์ดีให้ผลผลิตสูงและตกผลเร็ว ซึ่งกรมฯได้เร่งขยายการผลิตพันธุ์ดี โดยสร้างแปลงแม่พันธุ์เพิ่ม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตต้นกล้าให้มากขึ้น ตามความต้องการเกษตรกร และความต้องการปริมาณผลผลิตมะพร้าวของภาคอุตสาหกรรม โดยปีนี้สนับสนุนต้นกล้าส่งเสริมการปลูกมะพร้าวให้เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการนำร่อง GAP Monkey Free Plus จำนวน 10,000 ต้น

ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า การรณรงค์ให้เกิดการรับรู้ถึงประโยชน์และคุณค่าของน้ำมันมะพร้าว และผลิตภัณฑ์มะพร้าวอย่างต่อเนื่องเป็นสิ่งที่ดี และในปีนี้ได้เพิ่มสาระน่ารู้ในการผลิต กฎหมายที่เกี่ยวข้อง และการนำไปใช้ประโยชน์เของ สมุนไพร กัญชา และกัญชงอีกด้วย  จะทำให้ผู้บริโภคเข้าใจการนำไปใช้ประโยชน์ของมะพร้าว และ สมุนไพร มากยิ่งขึ้น การบริโภคน้ำมันมะพร้าว จะได้รับกรดลอริก ซึ่งกระผมเคยได้รับทราบจากการบรรยายของท่านประธานชมรมฯว่า กรดนี้จะเปลี่ยนเป็นสารโมโนลอรินที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย ซึ่งจากงานวิจัยของกรมวิชาการเกษตร จากการสกัดน้ำมันมะพร้าวบริสุทธิ์จากเนื้อมะพร้าวของทุกสายพันธุ์ พบว่ามีปริมาณกรดลอริกเฉลี่ยร้อยละ 48 ของปริมาณกรดไขมันทั้งหมด

จากการรายงานในการประชุมมะพร้าวโลกที่มาเลเซียเมื่อเดือน พฤศจิกายน 2565 ว่า น้ำมันมะพร้าวช่วยรักษาโรคเหงือกและฟันอีกด้วย และประเทศฟิลิปปินส์ก็ได้ส่งเสริมให้ประชาชนของเขาบริโภคน้ำมันมะพร้าวเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันร่างกาย ในช่วงการระบาดของไวรัสโควิด 19 ที่เกิดขึ้นทั่วโลก และการเข้าถึงวัคซีนยังมีจำกัด การรณรงค์ให้ประชาชนได้รับทราบและรับรู้ในเรื่องการป้องกันและรักษา จะช่วยให้ประชาชนมีสุขภาพแข็งแรง สามารถปรับตัวให้ปลอดภัยและสุขภาพดีในสถานการณ์ที่ยังต้องเผชิญกับโรคระบาดที่เกิดจากเชื้อไวรัสโควิด 19

และจากปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมมะพร้าวได้ประสบกับการกีดกันทางการค้าในเรื่องการเก็บเกี่ยวโดยใช้ลิง ซึ่งกรมฯได้มีการรณรงค์ ผลักดันช่วยเหลืออุตสาหกรรมมะพร้าวเป็นอย่างมาก ในการโครงการ GAP-MFP ซึ่งชมรมฯ ได้ช่วยประสานกับผู้ประกอบการมะพร้าวและเกษตรกร ในการดำเนินการโครงการ ซึ่งขณะนี้ประสบความสำเร็จระดับหนึ่ง และจะต้องเร่งดำเนินการต่อไป

โอกาสนี้ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน ได้เชิญชวนภาคเอกชนช่วยส่งเสริมให้เกษตรกรสมัครตรวจรับรองแปลง GAP –MFP เพื่อให้มีส่วนร่วมในการเพิ่มพื้นที่ผลิตมะพร้าวปลอดภัยไม่ใช้ลิง ซึ่งเป็นการส่งเสริมการส่งออกผลิตภัณฑ์มะพร้าวไทยอีกด้วย

ฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรเพื่อการดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกรอบของ T-VER”

     วันที่ 1 พฤษภาคม 2566 สถาบันวิจัยพืชสวน กรมวิชาการเกษตร นำโดยกลุ่มวิชาการ งานวิจัยไม้ผล จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง “การพัฒนาบุคลากรเพื่อการดำเนินงานลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามกรอบของ T-VER” โครงการพัฒนากระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืชเศรษฐกิจ (อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ยางพารา ทุเรียน และมะม่วง) เพื่อรับรองคาร์บอนเครดิตและพัฒนาบุคลากรตรวจประเมินของกรมวิชาการเกษตร ระหว่างวันที่ 1-2 พฤษภาคม 2566 ณ ห้องประชุม โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพมหานคร โดยมี นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานพิธีเปิด

     การอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้ดำเนินการตามแนวทางนโยบายของกรมฯ ที่ได้ให้การสนับสนุนโครงการพัฒนากระบวนการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในการผลิตพืชเศรษฐกิจ ด้วยงบสนับสนุนจาก เงินรายได้การดำเนินงานด้านการเกษตร ซึ่งโครงการฯ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2566 เป็นต้นมา โดยมีแนวทางการดำเนินงานตามหลักการสำคัญ ประกอบด้วย

1) การจัดทำ baseline ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในระบบกับผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก อ้อย ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด ยางพารา และไม้ผล (ทุเรียน และมะม่วง)

2) การจัดทำ methodology เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก

3) การพัฒนา methodology ในการผลิตพืชเศรษฐกิจหลัก

4) การพัฒนาโครงการเพื่อสมัครเข้ากรอบ T-VER ของ อบก.

5) ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ตามข้อกำหนดและกรอบของ T-VER เพื่อให้ได้คาร์บอนเครดิต

6) การพัฒนา GAP Carbon credit plus และ GAP PM 2.5 free เพื่อเป็นแนวทางในการรับรองมาตรฐานต่อไป

สถาบันวิจัยพืชสวนลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์ ผลผลิตเงาะไม่ได้คุณภาพจากการใช้สารเร่งสุกแก่

ดร.ชูชาติวัฒนวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวผลเงาะ โดยเฉพาะเกษตรกร ในเขตพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอเขาสมิง อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งราคาเงาะในช่วงต้นฤดูมี การรับซื้อในราคาสูง ทําให้เกษตรกรมีการเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้ทันกับช่วงราคาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเงาะที่ ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ไม่ได้นิ่งนอนใจ ลงพื้นที่ให้ความรู้เกษตรกร

     โอกาสนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้กําชับให้ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน พร้อมหน่วยงานในพื้นที่เข้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ นายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อํานวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้เข้าติดตามในพื้นที่ ต.นนทรี อ.บ่อไร่ จ.ตราด พบว่า มีการใช้สารควบคุมการ เจริญเติบโตกลุ่ม อีทีฟอน เพื่อเร่งให้ผลเงาะเป็นสีแดง โดยเฉพาะในระยะที่เงาะเริ่มเข้าสี เพื่อให้เงาะมีสีแดง สม่ําเสมอ แต่ได้มเีกษตรกรบางรายนํามาพ่นในระยะที่เนื้อของผลเงาะยังไม่พัฒนาเต็มที่ เพื่อที่จะเร่งให้สีเงาะ เปลี่ยนเป็นสีแดง และสามารถเร่งขายให้ทันในช่วงต้นฤดูกาลที่มีราคาสูง

     ท้ายนี้ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน ได้เร่งประสาน กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานในพื้นที่ ร่วมกันรณรงค์ห้ามใช้สารเร่งสุกแก่ และให้สารวัตรเกษตร ไปย้ําเตือนผู้ขาย ร้านเคมีเกษตร ให้แนะนําวิธีการใช้ที่ ถูกต้องให้กับผู้ซื้อ เกษตรกร ห้ามใช้ผิดประเภท พร้อมกําชับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ตรวจสอบความ เข้มข้นสารตกค้าง ป้องกันอันตราย รักษาคุณภาพตลาด เน้นย้ําหลักการผลิตพืชตาม GAP ซึ่งเป็นหลักการผลิต ทางการเกษตรที่ดี ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อเป็นการรักษามาตรฐาน คุณภาพของผลไม้ไทย ให้เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภคและตลาด

#เงาะ #สารเร่งสุกแก่ #กรมวิชาการเกษตร #สถาบันวิจัยพืชสวน 

พิธีทำบุญเลี้ยงพระ และรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสกรมวิชาการเกษตร ในงาน “กตัญชลีดิถีสงกรานต์”

      วันที่ 11 เมษายน 2566  ดร.ชูชาติ  วัฒนวรรณ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน พร้อมด้วย ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายฯ และเจ้าหน้าที่สถาบันวิจัยพืชสวน ร่วมพิธีทำบุญเลี้ยงพระ และรดน้ำดำหัวผู้อาวุโสกรมวิชาการเกษตร ในงาน “กตัญชลีดิถีสงกรานต์” ณ ห้องประชุม 314 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร นายอำพล เสนาณรงค์ องคมนตรี ในรัชกาลที่ 9 เป็นประธาน ในพิธีแสดงมุทิตาจิตรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส กรมวิชาการเกษตร ในโอกาสนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง และนายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมคณะผู้บริหาร ข้าราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ ร่วมทำบุญเลี้ยงเพลพระสงฆ์ 9 รูป และรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน ณ บริเวณโถงชั้นล่าง อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร หลังจากรับประทานอาหารร่วมกัน มีพิธีสรงน้ำพระพุทธรูป และ พิธีแสดงมุทิตาจิตรดน้ำดำหัวผู้อาวุโส กรมวิชาการเกษตร นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นำคณะผู้บริหาร ผู้อาวุโส ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รดน้ำดำหัวผู้อาวุโสกรมวิชาการเกษตร จำนวน 9 ท่าน ผู้อาวุโส กล่าวให้พรผู้เข้าร่วมแสดงมุทิตาจิต นายจิรากร โกศัยเสวี ประธานชมรมผู้อาวุโสกรมวิชากาเกษตร กล่าวขอบคุณอธิบดีกรมวิชาการเกษตรที่ได้จัดงาน “กตัญชลีดิถีสงกรานต์” เพื่อแสดงมุทิตาจิตแก่ผู้อาวุโส และสืบทอดประเพณีสงกรานต์ของกรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2566