เตือนภัยการเกษตร ช่วงวันที่ 16-22 มกราคม 2562
เตือนภัยการเกษตร
ช่วงวันที่ 16-22 มกราคม 2562
ภาคเหนือ ตอนบน
1.มันฝรั่ง การเจริญเติบโตทางลำต้น อายุ 20-30 วัน หลังปลูก (ศวส.เชียงราย)
– โรคใบไหม้ จากเชื้อรา ไฟทอฟธอรา (Phytophthpra infestans)
ใบ โดยทั่วไปโรคใบไหม้จะเกิดบนใบบริเวณส่วนล่างของต้นมันฝรั่งก่อน และขอบใบ เป็นจุดช้ำ ฉ่ำน้ำ แผลมีลักษณะกลม จากนั้นแผลจะลุกลามขยายบริเวณออกไปจนเป็นแผลใหญ่ภายใน 2-3 วัน บริเวณตรงกลางแผลมีลักษณะแห้งเป็นสีน้ำตาล ขอบแผลมีลักษณะเปียกชื้นเป็นสีดำ ในสภาพอากาศชื้นหรือมีหมอกลงจัด พลิกดูด้านท้องใบ จะเห็นเส้นใยและสปอร์สีขาวหรือเทาขึ้นที่วงรอบนอกของแผลอย่างชัดเจน
ลำต้นและกิ่งก้าน แผลบนลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะเป็นสีน้ำตาลหรือสีดำ เมื่อเป็นแผลมากรอบลำต้นและกิ่งก้านจะเกิดการหักพับของลำต้น จากนั้นส่วนของลำต้นและกิ่งก้านจะแห้งตาย
การป้องกันกำจัด
- ใช้หัวพันธุ์ที่ปลอดโรค ที่ได้รับการรับรองจากหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชนที่น่าเชื่อถือ ก่อนปลูกควรตรวจหัวพันธุ์ ถ้าพบหัวที่ผิดปกติควรคัดทิ้งหลีกเลี่ยงการปลูกพืชลงในแปลงเก่าที่เคยมีโรคระบาด
- หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บซากต้นมันฝรั่งและหัวที่ตกค้างออกจากแปลงให้หมด และนำไปฝังหรือเผาทำลาย
- หมั่นตรวจแปลงมันฝรั่งอย่างสม่ำเสมอ เพื่อตรวจสอบการเกิดโรคใบไหม้แปลงของตนเองและแปลงข้างเคียง หรือมีน้ำขังอยู่นานหลังจากให้น้ำเข้าแปลง โดยเฉพาะช่วงที่ต้นมันฝรั่งเจริญเติบโตเต็มที่ ถ้าเริ่มพบต้นที่เป็นโรครีบเก็บใบหรือต้นที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
- ควรพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดโรค เมื่อพบว่าเริ่มมีการระบาดของโรค หรือมีสภาพภูมิอากาศเหมาะสมต่อการเกิดโรคใบไหม้ เช่น มีอุณหภูมิต่ำ ความชื้นสูง หรือมีฝนตก จำเป็นต้องใช้สารชนิดดูดซึมเพื่อที่จะฆ่าหรือยับยั้งการเจริญของเชื้อรา ได้แก่ ไดเมทโทมอร์ฟ+แมนโคเซป ไซม็อกซานิล+แมนโคเซบ ไซม็อกซานิล+ฟาม็อกซาโคนและโปรพาโมคาร์บ+คลอโรทาโลนิล
ภาคเหนือ ตอนล่าง
1.คะน้า ทุกระยะ (ศวส.สุโขทัย)
– หนอนกระทู้ผัก ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ปีกคู่หน้ามีจุดสีน้ำตาลเข้ม มีลวดลายเต็มปีก ส่วนปีกคู่หลังสีขาวและบาง ลำตัวมีขนสีน้ำตาลอ่อนปกคลุมอยู่ ตัวเมียวางไข่เป็นกลุ่มๆ ตัวเมียวางไข่ได้ประมาณ 200-300 ฟอง หนอนจะกัดกินใบและก้านใบของคะน้า มักจะเข้าทำลายเป็นหย่อมๆ ตามจุดที่ผีเสื้อวางไข่ หนอนชนิดนี้สังเกตได้ง่ายคือ ลำตัวอ้วนป้อม ผิวหนังเรียบ คล้ายหนอนกระทู้หอม มีสีสันต่างๆ กัน มีแถบสีขาวข้างลำตัวแต่ไม่ค่อยชัดนัก เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณ 3-4 เซนติเมตรเคลื่อนไหวช้า
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจตรวจ พบกลุ่มไข่หรือหนอนเก็บทำลาย
- เมื่อพบหนอนกระทู้ผัก มากกว่า 1 ตัวต่อต้น หรือพบใบถูกทำลายตั้งแต่ 10 % ป้องกันกำจัดด้วย บีที อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ อัตรา 20-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสปินโนแซด อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
– หนอนคืบกะหล่ำ ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อขนาดกลาง หนอนคืบกะหล่ำเป็นหนอนที่กินจุ เข้าทำลายคะน้าในระยะที่เป็นตัวหนอน โดยจะกัดกินเนื้อใบจนขาดและมักจะเหลือเส้นใบไว้ หนอนชนิดนี้เมื่อเกิดระบาดแล้วจะแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมาก
การป้องกันกำจัด
- หมั่นสำรวจตรวจ พบกลุ่มไข่หรือหนอนเก็บทำลาย
- เมื่อพบหนอนกระทู้ผัก มากกว่า 1 ตัวต่อต้น หรือพบใบถูกทำลายตั้งแต่ 10% ป้องกันกำจัดด้วย บีที อัตรา 40-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ฟีนาเพอร์ อัตรา 20-40 มิลลิลิตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตอนล่าง
1.มังคุด ออกดอก (ศวส.จันทบุรี)
– เพลี้ยไฟ บางครั้งมองดูตาเปล่าไม่เห็น สีเหลืองหรือน้ำตาลอ่อนเคลื่อนไหวได้รวดเร็วมักพบระบาดในช่วงที่อากาศแห้งแล้ง ทั้งตัวอ่อนและตัวแก่จะใช้ส่วนของปากเขี่ยผิวของใบและดูดกินน้ำเลี้ยงจากยอดอ่อน ใบอ่อนทำให้ยอดและใบแห้ง หงิกงอ แคระแกรน
การป้องกันกำจัด
สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5% เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลี่ย 0.25 ตัวต่อผลอ่อน ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
-ไรแดง ผลอ่อนจะมีเจริญเติบโตช้าหรือจะมีลักษณะผิวผลกร้าน เป็นขี้ขุย
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูใบมังคุด โดยใช้แว่นขยาย กำลังขยาย 10 เท่า ส่องดูด้านหน้าใบ ในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีลมพัดแรง และฝนทิ้งช่วง
- เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารฆ่าไรพ่น การป้องกันกำจัดไร ได้แก่ สารโพรพาร์ไกต์ 30% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะมิทราซ 20% อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
** การใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิดกัน เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าไร และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
2.ทุเรียน ออกดอก (ศวส.จันทบุรี)
– เพลี้ยไฟ ทำลายใบอ่อน ยอด โดยใช้ปากดูดน้ำเลี้ยง ทำให้ยอดอ่อนแคระแกร็น ใบหงิกและไหม้ ดอกแห้งและร่วง
การป้องกันกำจัด
สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันกำจัด ได้แก่ อิมิดาโคลพริด 70% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 3 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ ฟิโพรนิล 5 % เอสซี อัตรา 10 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟเฉลี่ย 0.25 ตัวต่อผลอ่อน ไม่ควรพ่นสารชนิดใดชนิดหนึ่ง ติดต่อกันหลายครั้ง เพราะจะทำให้เพลี้ยไฟต้านทานต่อสารฆ่าแมลงได้
– ราทำลายดอกภายในดอกทุเรียน จะมีสีดำเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายทำให้เกสรทุเรียนได้รับความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นสะสม
- ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนให้เหมาะสม
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า เริ่มมีการระบาดของโรค ตัดส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชวาลิดามัยซิน 3% เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 10 วัน
- เมื่อพบการระบาดของโรค ควรหลีกเลี่ยงการให้น้ำแบบพ่นฝอย
– ไรแดง ผลอ่อนจะมีเจริญเติบโตช้าหรือจะมีลักษณะผิวผลกร้าน เป็นขี้ขุย
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูใบทุเรียน โดยใช้แว่นขยาย กำลังขยาย 10 เท่า ส่องดูด้านหน้าใบ ในช่วงเดือนตุลาคม – มกราคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาที่มีลมพัดแรง และฝนทิ้งช่วง
- เมื่อพบการระบาดให้ใช้สารฆ่าไรพ่น การป้องกันกำจัดไร ได้แก่ สารโพรพาร์ไกต์ 30 % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อะมิทราซ 20 % อีซี อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
** การใช้สารฆ่าไร ไม่ควรพ่นสารชนิดเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรใช้สลับชนิดกัน เพื่อป้องกันไรสร้างความต้านทานต่อสารฆ่าไร และใช้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
3.เงาะ เตรียมความพร้อมในการออกดอก แตกใบอ่อน(ศวส.จันทบุรี)
– หนอนคืบกินใบอ่อนและช่อดอก หนอนจะกัดกินใบอ่อน และช่อดอก ให้ได้รับความเสียหาย
การป้องกันกำจัด
- สำรวจแมลงและหมั่นกำจัดวัชพืชออกจากแปลงปลูกสม่ำเสมอ
- ควรพ่นสารแลมป์ดาไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตร หรือสารคาร์โบซัลแฟน 20%อีซี อัตรา 50
– แมลงค่อมทอง ตัวเต็มวัยกัดกินใบ ยอดอ่อน และดอก ใบที่ถูกทำลายจะเว้าๆ แหว่งๆ ถ้าระบาดรุนแรงจะเหลือแต่ก้านใบ และมีมูลที่ถ่ายออกมาปรากฏให้เห็นตามบริเวณยอด ตัวเต็มวัยเป็นระยะที่สำคัญที่สุด เพราะกัดกินส่วนต่างๆ ของพืช สีของตัวเต็มวัยจะเปลี่ยนไป ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม จึงพบมีหลายสี เช่น สีเหลือง สีเทา สีดำ และสีเขียวปนเหลืองเป็นมัน ตัวเต็มวัยที่พบบนต้นพืชมักพบเป็นคู่ๆ หรือรวมกันเป็นกลุ่มอยู่บนลำต้น เมื่อต้นพืชถูกกระทบ กระเทือน จะทิ้งตัวลงสู่พื้นดิน
การป้องกันกำจัด
- ตัวเต็มวัยมีอุปนิสัยชอบทิ้งตัวเมื่อถูกกระทบ กระเทือน ใช้ผ้าพลาสติกรองใต้ต้นแล้วเขย่าให้ ตัวเต็มวัยหล่น รวบรวมนำไปทำลาย
- บริเวณที่พบระบาดควรพ่นด้วย สารฆ่าแมลง คาร์บาริล 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 60 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้ทั่วในระยะที่เงาะแตกใบอ่อน 2-3 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 10-14 วัน
1.หอมแดง ระยะเริ่มปลูก (ศวส.ศรีสะเกษ)
-หอมเลื้อย อาการของโรคพบได้ที่ ใบ กาบใบ คอ หรือส่วนหัว เริ่มแรกพบจุดฉ่ำน้ำขนาดเล็กสีเขียวหม่น และขยายใหญ่เป็นรูปกลมหรือรี เนื้อแผลยุบลงเล็กน้อยบนแผลมีหยดของแหลวสีชมพูอมส้ม เมื่อแห้งจะเห็นตุ่มเล็กๆสีน้ำตาลดำเรียงเป็นวงรีซ้อนกันหลายชั้น ใบพืชจะไม่ตั้งตรงจะเอนล้ม ทำให้ดูเหมือนเลื้อย ใบบิด โค้งงอ หัวลีบยาว เลื้อย ไม่ลงหัว ทำให้ต้นหอมเน่าเสียหายในแปลงปลูก เก็บเกี่ยวไม่ได้ หรือไปเน่าเสียในช่วงเก็บรักษา
การป้องกันกำจัด
1.แช่หัวพันธุ์หอมแดงที่ตัดแต่งใบและดอกออก ด้วยเชื้อไตรโครเดอร์ม่า อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร
2.ฉีดพ่นเชื้อไตรโครเดอร์ม่า อัตรา 1 กิโลกรัมต่อน้ำ 200 ลิตร ในช่วงเวลาเย็น สัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันการเกิดโรค
3.หมั่นตรวจแปลงสม่ำเสมอ หากพบโรคให้รีบถอนทิ้งและเผาทำลาย ฉีดพ่นสารเคมีป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น โปรคลอราช 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร (ไม่ควรฉีดติดต่อกันเกิน 4 ครั้ง ) ฉีดพ่นสลับกับสาร
แมนโคเซป 80 % ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
-หนอนกระทู้หอม การระบาดทำลายใบ หอมแดงเมื่อมองจากระยะไกลใบมีสีขาว หนอนกระทู้วัยเล็กจะเจาะเข้าไปอาศัยในใบหอมและกัดกินเนื้อเยื่อใบหอมทำให้มองในระยะไกลพบว่ามีใบสีขาว และกัดกินจนลงไปถึงหัวหอมทำให้ไม่สามารถเก็บผลผลิตได้
การป้องกันกำจัด
- ไถพรวนดินตากแดด เพื่อกำจัดดักแด้หนอนกระทู้หอมที่อยู่ในดิน
- เก็บกลุ่มไข่และหนอนทำลายช่วยลดการระบาด
- ใช้โรงเรือนตาข่ายไนล่อน หรือปลูกผักกางมุ้ง โดยการปลูกผักในโรงเรือนที่คลุมด้วยตาข่ายไนล่อนขนาด 16 ช่องต่อตารางนิ้ว (mesh) สามารถป้องกันการเข้าทำลายของหนอนกระทู้หอมได้ 100 เปอร์เซ็นต์
- ในระยะหนอนขนาดเล็กและมีการระบาดน้อย พ่นด้วยเชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ทูริงเยนซิส Bacillus thuringiensis (Bt) อัตรา 60-80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เชื้อไวรัสนิวเคลียร์โพลีฮีโดรซิส (NPV) หนอนกระทู้หอม อัตรา 30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- พ่นสารฆ่าแมลงกลุ่มยับยั้งการลอกคราบ เช่น คลอร์ฟลูอาซูรอน 5% อีซี อัตรา 20-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20ลิตร หรือ ลูเฟนนูรอน 5% อีซี อัตรา 20-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
- หากพบกลุ่มไข่เฉลี่ย 0.5 กลุ่มต่อกอ พ่นด้วยสารคลอฟีนาเพอร์10% เอสซี อัตรา 30-40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ อินดอกซาคาร์บ 15% อีซี อัตรา 15-30 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
ภาคใต้ตอนบน
1.มะพร้าว มะพร้าวที่ยังไม่ให้ผลผลิตและมะพร้าวที่ให้ผลผลิตแล้ว (ศวส.ชุมพร)
-ด้วงแรด ตัวเต็มวัยเข้าทำลายพืช โดยการบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบหรือยอดอ่อนของมะพร้าว รวมทั้งเจาะทำลายยอดอ่อนที่ยังไม่คลี่ ทำให้ใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายหางปลา หรือรูปพัด ถ้าโดนทำลายมากๆ จะทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดมะพร้าวกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อนทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด ด้วงแรดมะพร้าวในระยะตัวหนอน ส่วนใหญ่พบตามพื้นดินในบริเวณที่มีการกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก จะกัดกินและทำลายระบบรากของมะพร้าวปลูกใหม่ ทำให้พบอาการยอดเหี่ยวและแห้งเป็นสีน้ำตาล ต้นแคระแกรนไม่เจริญเติบโต
การป้องกันกำจัด
- วิธีเขตกรรม ทำความสะอาดบริเวณสวนมะพร้าวเพื่อกำจัดแหล่งขยายพันธุ์ เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลดีมานาน ถ้ามีกองปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก กองขยะ กองขี้เลื่อย แกลบ ควรกำจัดออกไปจากบริเวณสวน หรือกองให้เป็นที่แล้วหมั่นกลับเพื่อตรวจดู หากพบหนอนให้จับมาทำลายหรือเผากองขยะนั้นเสีย ส่วนของลำต้นและตอมะพร้าวที่โค่นทิ้งไว้ หรือมะพร้าวที่ยืนต้นตายควรโค่นลงมาเผาทำลาย ต้นมะพร้าวที่ถูกตัดเพื่อปลูกทดแทน ถ้ายังสดอยู่เผาทำลายไม่ได้ ควรทอนออกเป็นท่อนสั้นๆ นำมารวมกันไว้ ปล่อยให้ผุสลายล่อให้ด้วงแรดมาวางไข่ ด้วงจะวางไข่ตามเปลือกมะพร้าวที่อยู่ติดกับพื้นดินเพราะมีความชุ่มชื้นสูงและผุเร็ว เผาทำลายท่อนมะพร้าวเพื่อกำจัดทั้งไข่ หนอน และดักแด้ของด้วงแรดมะพร้าว ตอมะพร้าวที่เหลือให้ใช้น้ำมันเครื่องใช้แล้วราดให้ทั่วตอเพื่อป้องกันการวางไข่ได้
- การใช้ชีววิธี ใช้เชื้อราเขียวเมตาไรเซียม (Metarhizium sp.) ใส่ไว้ตามกองขยะ กองปุ๋ยคอก หรือท่อนมะพร้าวที่มีหนอนด้วงแรดมะพร้าวอาศัยอยู่ เกลี่ยเชื้อให้กระจายทั่วกอง เพื่อให้เชื้อมีโอกาสสัมผัสกับตัวหนอนให้มากที่สุด รดน้ำให้ความชื้น หาวัสดุ เช่น ใบมะพร้าวคลุมกองไว้ เพื่อรักษาความชื้นและป้องกันแสงแดด เชื้อจะทำลายด้วงแรดมะพร้าวทุกระยะการเจริญเติบโต
- การใช้สารเคมี
3.1 ต้นมะพร้าวอายุ 3-5 ปี ซึ่งยังไม่สูงมากนัก ใช้ลูกเหม็นใส่บริเวณคอมะพร้าวที่โคนทางใบรอบๆ ยอดอ่อน ทางละ 2 ลูก ต้นละ 6-8 ลูก กลิ่นของลูกเหม็นจะไล่ไม่ให้ด้วงแรดมะพร้าวบินเข้าไปทำลายคอมะพร้าว
3.2 ใช้สารฆ่าแมลงคลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือไดอะซินอน 60% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ราดบริเวณคอมะพร้าวตั้งแต่โคนยอดอ่อนลงมาให้เปียก โดยใช้ปริมาณ 1-1.5 ลิตรต่อต้น ทุก 15-20 วัน ควรใช้ 1-2 ครั้งในช่วงระบาด
-ด้วงงวงมะพร้าวชนิดเล็กและด้วงงวงมะพร้าวชนิดใหญ่ มักทำลายตามรอยทำลายของด้วงแรดมะพร้าว โดยวางไข่บริเวณบาดแผลตามลำต้นหรือบริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวเจาะไว้ หรือบริเวณรอยแตกของเปลือก ด้วงงวงมะพร้าวก็สามารถเจาะส่วนที่อ่อนของมะพร้าวเพื่อวางไข่ได้ หนอนที่ฟักออกจากไข่จะกัดกินชอนไชไปในต้นมะพร้าว ทำให้เกิดแผลเน่าภายใน ต้นมะพร้าวที่ถูกทำลายจะแสดงอาการเฉาหรือยอดหักพับ เพราะบริเวณที่หนอนทำลายจะเป็นโพรง มีรูและแผลเน่าต่อเนื่องไปในบริเวณใกล้เคียง หนอนจะกัดกินไปจนกระทั่งต้นเป็นโพรงใหญ่ไม่สามารถส่งน้ำและอาหารไปถึงยอดได้ และทำให้ต้นมะพร้าวตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
- เลือกเก็บผลกาแฟที่สุกเต็มที่ และนำไปตากทันที ไม่ควรเก็บผลกาแฟไว้ในกระสอบนาน การตากควรตากบนลานพื้นปูนซีเมนต์ แคร่ไม้ไผ่ หรือตาข่ายสีฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้ผลกาแฟสัมผัสดินและความชื้น และควรพลิกกลับผลกาแฟในระหว่างตากเป็นช่วงๆ เพื่อให้สีของผลสม่ำเสมอ และป้องกันการเกิดเชื้อรา
- เมื่อพบเมล็ดกาแฟที่มีเชื้อรา รีบเก็บออกนำไปเผาทำลาย
- ทำความสะอาดเก็บกวาดเศษซากพืช หรือเศษเมล็ดกาแฟที่ตกค้างบนลานตาก เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ
2.ทุเรียน ระยะใบเพสลาด-ระยะใบแก่และระยะติดผล (ศวส.ชุมพร)
– โรคใบติด เกิดจากเชื้อรา Rhizoctonia sp. เกิดได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่ เกิดเส้นใยสีขาว แผ่คลุมส่วนหลังใบเมื่อคลุมทั่วแผ่นใบมีลักษณะตายนึ่งคล้ายโดนน้ำร้อนลวก ในที่สุดใบจะร่วงหล่น
การป้องกันกำจัด
1. หมั่นตรวจ ดูแลสวนทุเรียน ถ้าพบว่ามีอาการของโรคใบติดให้ตัดแต่งใบส่วนที่เป็นโรคไปเผาทำลาย
2. ตัดแต่งกิ่งทุเรียนให้โปร่ง
3. ถ้าระบาดมากให้ฉีดพ่นด้วยสารเคมีฆ่าเชื้อรา
– โรครากและโคนเน่า เกิดจากเชื้อราไฟทอปเทอรา (Phytophthora palmivora (Butler)) ใบล่างเริ่มเป็นจุดเหลืองประเหลืองแล้วค่อยๆหลุดร่วง ส่วนอาการที่โคนต้นหรือกิ่งคล้ายมีคราบน้ำเกาะติดเห็นได้ชัดในสภาพต้นทุเรียนแห้ง ในช่วงเช้าถ้าอากาศชื้นจะเกิดยางไหลสีน้ำตาลแดงบริเวณลำต้น ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ต้นทุเรียนตายได้
อาการที่ราก อาการเริ่มจากใบที่ปลายกิ่ง จะมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาเหี่ยวลู่ลง อาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง เมื่อขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาลและหลุดล่อนง่าย เมื่อโรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้นทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย
อาการที่กิ่งและที่ลำต้นหรือโคนต้น เริ่มแรกทุเรียนจะแสดงอาการใบเหลืองเป็นบางกิ่ง และจะสังเกตเห็นคล้ายคราบน้ำบนผิวเปลือกได้ชัดเจน ในช่วงที่สภาพอากาศแห้ง เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบน้ำจะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่ลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ทุเรียนใบรวงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย
อาการที่ใบ ใบช้ำดำตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบมากช่วงฝนตกรุนแรงต่อเนื่องหลายวัน
อาการที่ผล มักพบกับผลใกล้แก่ในช่วงฝนตกชุกหรือช่วงที่มีความชื้นในอากาศสูง เริ่มแรกจะเกิดจุดแผลขนาดเล็กสีน้ำตาลดำบนปลายหนามหรือซอกหนาม จุดแผลจะขยายใหญ่ลุกลามมากขึ้นตามการสุกของผล พบอาการโรคได้ทั้งผลที่ยังอยู่บนต้นและผลหลังการเก็บเกี่ยว
การป้องกันกำจัด
- แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำดี ไม่ควรมีน้ำท่วมขัง และเมื่อมีน้ำท่วมขังควรรีบระบายออก
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โคนต้นโปร่ง การถ่ายเทอากาศดี แสงแดดส่องถึง ควรหลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น
- ต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตายควรขุดออก แล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก ตากดินไว้ระยะหนึ่ง แล้วจึงปลูกทดแทน
- ตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบส่วนของใบ ดอก และผลที่เป็นโรค ตัดแต่งส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือ ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ให้ทั่วทรงพุ่ม
- ไม่นำเครื่องมือตัดแต่งที่ใช้กับต้นเป็นโรคไปใช้ต่อกับต้นปกติ และควรทำความสะอาดเครื่องมือก่อนนำไปใช้ใหม่ทุกครั้ง
- เมื่อเริ่มพบต้นที่ใบมีสีซีด ไม่เป็นมันเงาหรือใบเหลือง หลุดร่วง ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้น ราดดินด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรหรือเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร
- เมื่อเริ่มพบอาการโรคบนกิ่งหรือที่โคนต้น ถากหรือขูดผิวเปลือกบริเวณที่เป็นโรคออก ทาแผลด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 80-100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50-60 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตร หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ 65% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 1 ลิตรทุก 7 วันจนกว่าแผลจะแห้ง หรือ ใช้ฟอสโฟนิก แอซิด 40% เอสแอล ผสมน้ำสะอาด อัตรา 1:1 ใส่กระบอกฉีดยา ฉีดเข้าลำต้นหรือกิ่งในบริเวณตรงข้ามอาการโรค หรือส่วนที่เป็นเนื้อไม้ดีใกล้บริเวณที่เป็นโรค อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อต้น
– หนอนเจาะผลทุเรียน (Fruit boring caterpillar) ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อมาวางไข่ที่ผลทุเรียนเมื่อเข้าสู่ระยะหนอนหนอนจะเจาะเข้าทำลายทุเรียนตั้งแต่ผลยังเล็ก อายุประมาณ 2 เดือน จนถึงผลโตเต็มที่พร้อมที่จะเก็บเกี่ยวทำให้ผลเป็นแผล อาจทำให้ผลเน่าและร่วงเนื่องจากเชื้อราเข้าทำลายซ้ำ การที่ผลมีรอยแมลงทำลายทำให้ขายไม่ได้ราคา ถ้าหากหนอนเจาะกินเข้าไปจนถึงเนื้อผล ทำให้บริเวณดังกล่าวเน่าเมื่อผลสุก ที่บริเวณเปลือกของผลทุเรียนจะสังเกตเห็นมูลและรังของหนอนได้อย่างชัดเจน และจะมีน้ำไหลเยิ้มเมื่อทุเรียนใกล้แก่ ผลทุเรียนที่อยู่ชิดติดกันหนอนจะเข้าทำลายมากกว่าผลที่อยู่เดี่ยวๆ เพราะแม่ผีเสื้อชอบวางไข่ในบริเวณรอยสัมผัสนี้
การป้องกันกำจัด
- หมั่นตรวจดูผลทุเรียน เมื่อพบรอยทำลายของหนอน ให้ใช้ไม้หรือลวดแข็งเขี่ยตัวหนอนออกมาทำลาย
- ตัดแต่งผลทุเรียนที่มีจำนวนมากเกินไป โดยเฉพาะผลที่อยู่ติดกันควรใช้กิ่งไม้หรือกาบมะพร้าวคั่นระหว่างผล เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวเต็มวัยวางไข่หรือตัวหนอนเข้าหลบอาศัย
- การห่อผลด้วยถุงมุ้งไนล่อน หรือถุงพลาสติกสีขาวขุ่น เจาะรูที่บริเวณขอบล่าง เพื่อให้หยดน้ำระบายออก โดยเริ่มห่อผลตั้งแต่ผลทุเรียนมีอายุ 6 สัปดาห์ เป็นต้นไป จะช่วยลดความเสียหายได้
- สารฆ่าแมลงที่มีประสิทธิภาพเมื่อจำเป็นต้องใช้ คือ แลมบ์ดา-ไซฮาโลทริน 2.5% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเฉพาะส่วนผลทุเรียนที่พบการทำลายของหนอนเจาะผล ในแหล่งที่มีการระบาด พ่นหลังจากทุเรียนติดผลแล้ว 1 เดือน พ่น 3-4 ครั้ง ทุก 20 วัน
ภาคใต้ตอนล่าง
1.กล้วยหิน ทุกระยะการเจริญเติบโต (ศวส.ยะลา)
-โรคเหี่ยวของกล้วย ใบอ่อนแสดงอาการเหี่ยว ก้านใบหักพับ ปลีกล้วยแคระแกร็นและเหี่ยวแห้ง หน่อกล้วยยอดเปลี่ยนเป็นสีดำ เมื่อตัดดูลักษณะภายในลำต้นเทียมจะเปลี่ยนสีเป็นสีน้ำตาลแดง อาการเหี่ยวจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้พืชแสดงอาการใบเหลือง และยืนต้นตาย เชื้อสามารถเข้าทำลายลำต้นเทียม ก้านใบ เครือกล้วย ผล และหน่อกล้วย
การกำจัดโรค
1.ทำลายกอกล้วยหินโดยใช้สารกำจัดวัชพืช ซึ่งมีวิธีการดังนี้
2. ใช้ไม้เสียบลูกชิ้นความยาว 8 นิ้ว แช่ในกระป๋องที่ใส่สารกำจัดวัชพืช ไตรโคลเพอร์ บิวทอกซีเอทิลเอสเตอร์ 66.8% อีซีแช่ทิ้งไว้ข้ามคืน
– นำไม้เสียบลูกชิ้นที่แช่สารกำจัดวัชพืชแล้ว เสียบที่บริเวณโคนต้นกล้วยที่เป็นโรคเหี่ยว ลึกประมาณ 5 นิ้ว โดยเลือกเสียบที่ต้นกล้วยขนาดใหญ่ในกอ ประมาณ 2-3 ต้น ต้นกล้วยจะตายภายในเวลาประมาณ 20-30 วัน
- โรยปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ ตรงบริเวณโคนและรอบรากต้นกล้วยที่เป็นโรค เพื่อฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคที่อยู่ในดิน
- ต้นกล้วยที่เป็นโรค หากมีปลี หรือเครือกล้วย ให้ใช้ถุงพลาสติกคลุม เพื่อป้องกันแมลงที่จะมาสัมผัสเชื้อสาเหตุโรค และยับยั้งการแพร่กระจายโรคไปสู่ต้นอื่น
- หลังจากต้นกล้วยตาย ให้สับต้นกล้วยเป็นท่อน แล้วราดด้วย พ.ด.1 ที่ผสมน้ำตามคำแนะนำข้างซอง ใช้ 1 ซองต่อกอ เพื่อให้ย่อยสลายได้เร็วขึ้น ประมาณ 3-4 สัปดาห์ ห้ามนำต้นกล้วยที่ย่อยสลายแล้วไปเป็นปุ๋ย
- ฆ่าเชื้อแบคทีเรียในดินอีกครั้ง โดยสับกอกล้วยที่ย่อยสลายแล้วกับดินบริเวณรอบกอกล้วย แล้วใช้ยูเรีย 0.5 กิโลกรัม ผสมกับ ปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อกอ โรยให้ทั่วกอ กลบดินบริเวณกอกล้วยให้แน่น รดน้ำให้ชุ่ม ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เมื่อยูเรียและปูนขาวได้รับความชื้นจะแตกตัวเป็นแก๊สพิษฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เมื่อครบกำหนดใช้จอบสับดินให้แก๊สพิษที่อยู่ในดินออกมา แล้วปลูกพืชได้ตามปกติ
การดูแลป้องกันต้นกล้วยที่ยังไม่เป็นโรคแต่อยู่ในแปลงที่มีต้นกล้วยเป็นโรค
ใช้ชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 ของกรมวิชาการเกษตร อัตรา 25 กรัม ผสมน้ำ 10 ลิตรต่อกอ รดให้ทั่วรอบต้น ทุก 30 วัน เป็นระยะเวลา 12 เดือน
การป้องกันโรค
- การฆ่าเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคในดินก่อนปลูก
– ในกรณีที่ปลูกกล้วยหินพืชเดียว ฆ่าเชื้อโดยใช้ยูเรีย อัตรา 80 กิโลกรัมผสมกับ ปูนขาว 800 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านให้ทั่วแปลง ไถกลบให้ลึกพอสมควร ปาดหน้าดินให้เรียบ รดน้ำให้ชุ่มจนทั่ว ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดเปิดหน้าดินให้แก๊สพิษออกมา จากนั้นทำปลูกกล้วยได้ตามปกติ
– ในกรณีที่ปลูกกล้วยหินแซมพืชอื่น ฆ่าเชื้อบริเวณหลุมปลูก โดยใช้ยูเรีย 0.5 กิโลกรัม ผสมกับปูนขาว 5 กิโลกรัมต่อหลุม โรยให้ทั่วหลุม กลบดินให้แน่น รดน้ำให้ชุ่มจนทั่ว ทิ้งไว้ 3 สัปดาห์ เมื่อครบกำหนดใช้จอบสับดินให้แก๊สพิษออกมา แล้วปลูกกล้วยได้ตามปกติ
- ใช้หน่อกล้วยปลอดเชื้อ หรือไม่ใช้หน่อกล้วยจากแปลงที่เป็นโรคมาเป็นหน่อพันธุ์
- หลังปลูกหน่อกล้วย รดด้วยชีวภัณฑ์บาซิลัส ซับทีลิส สายพันธุ์ BS-DOA 24 อัตรา 50 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร รดให้ทั่วรอบต้นและรดซ้ำทุก 30 วัน นาน 12 เดือน
- ทำความสะอาดเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการเกษตร เช่น มีดตัดผลกล้วย จอบ เสียม ทุกครั้งก่อนนำไปใช้กับต้นต่อไป โดยใช้น้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตรผสมน้ำ 3 ลิตร
- ไม่เดินจากต้นที่เป็นโรคไปยังต้นที่ไม่เป็นโรค หากจำเป็นต้องเดินให้ฆ่าเชื้อที่รองเท้าก่อน ด้วยน้ำยาฟอกขาว เช่น ไฮเตอร์ อัตรา 250 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 3 ลิตร
- ไม่นำกล้วยหินที่เป็นโรคไปทำเป็นอาหารสัตว์
2.ทุเรียน ทุกระยะการเจริญเติบโต (ศวส.ยะลา)
-โรคใบติด ใบที่พบจะมีรอยคล้ายๆ ถูกน้ำร้อนลวก ขอบแผลไม่แน่นอน อาจเริ่มที่ปลายใบ กลางใบ หรือโคนใบแล้วลุกลามจนเป็นทั้งใบ และจะสังเกตเห็นเส้นใยสีขาวนวลแผ่ปกคลุมคล้ายใยแมงมุมแผ่ไปตามผิวใบ ใบที่ถูกทำลายจะร่วงหล่นไปในที่สุด ถ้าใบที่เป็นโรคไปสัมผัสกับใบที่ปกติไมว่าจะเป็นใบที่อยู่ล่างๆ หรือใบที่อยู่เหนือกว่า ใบปกตินั้นก็จะเป็นโรคใบติดเช่นกัน
การป้องกันกำจัด
- ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อลดความชื้นสะสม
- ควรใส่ปุ๋ยที่มีค่าไนโตรเจนให้เหมาะสม
- หมั่นสำรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบว่า เริ่มมีการระบาดของโรค ตัดส่วนที่เป็นโรค และเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่น ไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชวาลิดามัยซิน 3 % เอสแอล อัตรา 20 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ เฮกซะโคนาโซล 5% เอสซี อัตรา 20 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ 85% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 30-50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 10 วัน โดยพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้น
3.ลองกอง ให้ผลผลิตแล้ว (ศวส.ยะลา)
-หนอนชอนเปลือกลองกอง หนอนกินใต้ผิวเปลือกทั้ง 2 ชนิด จะกัดกินทำลายอยู่ใต้ผิวเปลือกตามกิ่งและลำต้นลึกระหว่าง 2 – 8 มิลลิเมตร ซึ่งอยู่ระหว่างท่อน้ำและท่ออาหาร ทำให้กิ่งและลำต้นมีลักษณะตะปุ่มตะป่ำซึ่งในช่วงหน้าฝนกิ่งจะมีความชื้นสูงและมักมีโรคราสีชมพูเข้าทำลายร่วมด้วย ถ้าหนอนกัดกินบริเวณตาดอกจะทำให้ตาดอกถูกทำลายและผลผลิตลดลง ถ้าทำลายรุนแรงจะทำให้กิ่งแห้ง ต้นแคระแกรน โตช้า และตายในที่สุด
การป้องกันกำจัด
1.ใช้ไส้เดือนฝอย (Steinernema carpocapsae) อัตรา 50 ล้านตัว (1 กระป๋อง) ต่อน้ำ 20 ลิตร 1 ต้นใช้น้ำ 5 ลิตร พ่น 2 ครั้ง ห่างกัน 15 วัน (ในกรณีมีอากาศแห้งแล้ง ควรพ่นน้ำเปล่าให้ความชุ่มชื้นก่อนพ่นไส้เดือนฝอย)
2.ใช้สาร คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 50 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คลอร์ไพริฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นให้โชกบนลำต้น และกิ่งก้านที่มีรอยทำลายของหนอนกินใต้ผิวเปลือก
4.กาแฟ ให้ผลผลิต (ศวส.ยะลา)
-มอดเจาะผลกาแฟ มอดเจาะผลกาแฟเป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็กประมาณ 1.5-2 มม. พบว่ามอดตัวเต็มวัยเข้าทำลายผลกาแฟได้ตั้งแต่ขนาดผลกาแฟมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.3 มิลลิเมตร ขึ้นไป โดยเพศเมียจะเจาะผลกาแฟบริเวณปลายผลหรือสะดือของผล ในผลกาแฟสามารถพบแมลงได้ทุกระยะการเจริญเติบโต (ระยะไข่ หนอน ดักแด้ และตัวเต็มวัย) แมลงอาศัยกัดกิน ขยายพันธุ์ในผลจนกระทั่งผลกาแฟสุก และยังสามารถอยู่ในผลกาแฟที่แห้งคาอยู่ในต้น ผลกาแฟที่หล่นลงพื้นดิน และแมลงอยู่ในกาแฟกะลาได้ในระยะหนึ่งถ้าเมล็ดกาแฟมีความชื้นเหมาะสม ซึ่งแมลงยังคงทำลายเมล็ดกาแฟกะลาระหว่างการตากเมล็ด ร่องรอยการเข้าทำลายของมอดเจาะผลกาแฟจะเห็นเป็นรูขนาดเล็กที่ปลายผลกาแฟบริเวณสะดือผล มักสังเกตได้ยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกษตรกรไม่ทราบ อาจไม่ทันที่จะป้องกันหรือจัดการกับมอดเจาะผลกาแฟ
การป้องกันกำจัด
1 ตัดกิ่งแห้งคาต้น และผลกาแฟที่สุกแห้งคาต้น และที่ร่วงอยู่ใต้โคนต้นออกไปเผาทำลาย และทำความสะอาดโคนต้น อย่าทิ้งผลที่ร่วงหล่นไว้ในแปลงเพราะจะเป็นแหล่งวางไข่และขยายพันธุ์ของมอดกาแฟในฤดูถัดไป
2.การเก็บเกี่ยวกาแฟ ควรเก็บผลผลิตให้หมดต้นไม่ให้ติดค้างอยู่บนต้นหรือร่วงหล่นตามพื้นดินใต้ต้น
3.ถ้าการระบาดรุนแรงให้เลือกใช้สารชนิดใดชนิดหนึ่งดังนี้ ไตรอะโซฟอส 40% อีซี อัตรา 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ คาร์โบซัลแฟน 20% อีซี อัตรา 80 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร