สถาบันวิจัยพืชสวน ร่วมพิธีเปิดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติและประชุมวิชาการการแพทย์แผนไทยฯ ครั้งที่ 22

วันที่ 2 กรกฎาคม 2568 กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก ร่วมกับภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน จัดงานมหกรรมสมุนไพรแห่งชาติ และการประชุมวิชาการประจำปีการแพทย์แผนไทย การแพทย์พื้นบ้านไทย และการแพทย์ทางเลือกแห่งชาติ ครั้งที่ 22 ภายใต้แนวคิด “ภูมิปัญญาไทย Soft Power ไทย สร้างเศรษฐกิจไทย” ณ อาคาร 11-12 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพค เมืองทองธานี จังหวัดนนทบุรี
พิธีเปิดได้รับเกียรติจาก นายวิชัย ไชยมงคล ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานเปิดงาน โดยมีผู้เข้าร่วมงานหลากหลายภาคส่วน อาทิ ผู้บริหารหน่วยงานราชการ ภาคีเครือข่าย ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสมุนไพร ผู้ผลิตยาแผนไทยและผลิตภัณฑ์สมุนไพร รวมถึงบุคลากรจากทั้งภาครัฐและเอกชน
ในโอกาสนี้ นางวิลาวัณย์ ใคร่ครวญ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้มอบหมายให้ นางสาวกาญจนา ทองนะ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพืชสวน เข้าร่วมในพิธีเปิดงานดังกล่าว เพื่อแสดงพลังความร่วมมือในการส่งเสริมและพัฒนาวงการสมุนไพรไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน
นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตร โดยสถาบันวิจัยพืชสวน ได้ร่วมกิจกรรมนิทรรศการฯ จำนวน 2 โซน คือ 1.โซนผลิตภัณฑ์ (product) ภายใต้แนวความคิด “THINK Wellness THINK Thai herb” สมุนไพรไทยสู่ตลาดโลก เป็นการจัดกิจกรรมนิทรรศการในนามของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกอบด้วย สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ สำนักปฏิรูปที่ดินและเกษตรกรรม และกรมวิชาการเกษตร โดยรูปแบบการจัดเป็นการจัดแสดงนิทรรศการตัวอย่างจริงของพืชสมุนไพรที่มีศักยภาพ สมุนไพรพื้นบ้านเชิงการค้า และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร โปสเตอร์ เอกสารแนวทางการรับรองแหล่งผลิต (GAP) กิจกรรมสาธิตการแปรรูปสมนไพร พร้อมทั้งแจกจ่ายต้นพันธุ์/เมล็ดพันธุ์พืชสมุนไพร จำนวน 1,100 ต้น/ซองต่อวัน 2. โซนภูมิปัญญา (wisdom) ภายใต้แนวความคิด “พืชสมุนไพร กับ PM 2.5 ระบบนิเวศสมุนไพรเศรษฐกิจ ลดมลพิษ ตู้ยารักษาภูมิแพ้ประจำบ้าน” เป็นการจัดนิทรรศการในนามกรมวิชาการเกษตร โดยรูปแบบการจัดเป็นการจัดแสดงนิทรรศการเกี่ยวกับ สมุนไพรเศรษฐกิจกับการกักเก็บคาร์บอน แปลงต้นการปลูกพืชสมุนไพรแบบระบบนิเวศเกษตร : ภาคเหนือ กลาง และใต้ พืชสมุนไพร ช่วยบรรเทาและรักษาอาการภูมิแพ้ และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร พร้อมทั้งแจกจ่ายต้นพันธุ์ อาทิ กล้วยน้ำไท กล้วยไม้สมุนไพร มะแขว่น หญ้าหวาน จำนวนไม่น้อยกว่า 300 ต้นต่อวัน


