กิจกรรมอบรม

การใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน อบรมหลักสูตร “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง”

การใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน อบรมหลักสูตร “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง”

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง” ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก)
ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) ควนโดน
วันที่ 31 พฤษภาคม 2566 นางสรัญญา ช่วงพิมพ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล จัดฝึกอบรมหลักสูตร “การขยายผลเทคโนโลยีการผลิตทุเรียนคุณภาพในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง” ภายใต้โครงการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก) ควนโดน หมู่ที่ 2 ตำบลวังประจัน อำเภอควนโดน จังหวัดสตูล มีผู้เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด 25 ราย โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวนพวรรณ นิลสุวรรณ ตำแหน่ง นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ จากศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสงขลา เป็นวิทยากรให้ความรู้ การใช้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี ในการป้องกันกำจัดโรครากเน่าและโคนเน่าของทุเรียน สาเหตุเกิดจากเชื้อราไฟทอปธอร่า Phytopthora palmivora เป็นโรคที่สำคัญของทุเรียน เนื่องจากทำให้ต้นทุเรียนที่กำลังเจริญเติบโตและให้ผลผลิตแล้วยืนต้นตายได้ โดยเชื้อราสาเหตุสามารถเข้าทำลายพืชได้ทุกส่วนทำความเสียหายให้กับเกษตรกรผู้ปลูกทุเรียนอย่างมาก วิธีการใช้ โดยนำสารสกัดจากเห็ดเรืองแสงสิรินรัศมีผสมกับสีฝุ่น (iron oxide) นำไปทาบนแผลที่เป็นโรครากเน่าโคนเน่า พบว่า สามารถควบคุมโรคได้ประมาณ 1 ปีโดยที่แผลยังแห้งไม่มีน้ำเยิ้มและเชื้อไม่ขยายลุกลาม ซึ่งแตกต่างจากวิธีที่เกษตรกรนิยมใช้ในปัจจุบันคือใช้สารเคมีเมทาแลกซิล 25% WP ที่ต้องทาซ้ำทุก 7 วัน จนกว่าแผลจะแห้ง นอกจากนี้เห็ดเรืองแสงสิรินรัศมี สามารถใช้ป้องกันกำจัดโรครากปม ที่มีสาเหตุจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.) ลักษณะอาการรากปม เมื่อถอนต้นพืชที่เป็นโรค พบว่า ระบบรากจะบวมพองและเป็นปุ่มปม เนื่องจากไส้เดือนฝอยไปดูดกินน้ำเลี้ยงของพืชบริเวณท่อน้ำ ท่ออาหาร ทำให้เซลล์พืชบริเวณที่ถูกทำลายมีการแบ่งตัวผิดปกติ เกิดเป็นเซลล์ขนาด ปิดกั้นทางเดินน้ำและธาตุอาหาร ส่งผลให้พืชแสดงอาการ เหี่ยว แคระแกรน เหลืองโทรม และแห้งตาย สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล โทร 074-740 651 ในวันและเวลาราชการ

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *