นายประเทือง ศรีสุข

          นายประเทือง ศรีสุข  หัวหน้าฝ่ายวิชาการกักกันพืช กองควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร) กรมวิชาการเกษตร มีบทบาทเป็นคณะกรรมการร่วมชายแดนไทย-มาเลเซียด้านกักกันพืช ได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะอนุกรรมการด้านอาหาร พืชไร่ และพืชสวน ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีด้านเกษตรระหว่างประเทศมาเลเซียและประเทศไทย

เรือตรี ปัญญา ปุญญถาวร

          เรือตรี ปัญญา ปุญญถาวร (ปริญญากสิกรรมและสัตวบาลบัณฑิต) เป็นข้าราชการของแผนกตรวจและกักกันโรคพืชเพียงคนเดียวที่ผ่านการเป็นทหาร (ทหารเรือ ยศเรือตรี) มาก่อน ได้ไปศึกษาดูงานด้านกักกันพืชในประเทศสหรัฐอเมริกา ระหว่างปี พ.ศ. 2500-2501 เป็นข้าราชการจากส่วนกลางคนแรกที่ไปเป็นหัวหน้าด่านตรวจพืชในส่วนภูมิภาค คือด่านตรวจพืชสงขลาในปี พ.ศ. 2502 จากนั้นย้ายไปปฏิบัติงานตรวจพืช ที่ด่านศุลกากรท่าอากาศยานกรุงเทพฯ

ดร.อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ

          ดร.อนุวรรตน์ วัฒนพงศ์ศิริ เป็นหัวหน้าด่านตรวจพืชกรุงเทพฯ คนแรกในปี พ.ศ. 2499 และเคยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดบุรีรัมย์หลายสมัย ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จนกระทั่งพ้นจากตำแหน่ง และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกสมัยหนึ่ง จากนั้นได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในรัฐบาลของพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณและได้ย้ายไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการทบวงมหาวิทยาลัยในช่วงเวลาต่อมา จากนั้นในคณะรัฐมนตรีคณะที่ 46 ซึ่งนำโดยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ จึงได้เข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ดร.อนุวรรตน์ ได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของพลเอกสุจินดา คราประยูร ซึ่งต้องพ้นจากตำแหน่งในเวลาต่อมา อันเนื่องมาจากเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ และได้รับตำแหน่งหัวหน้าพรรคเทิดไท พรรคการเมืองที่เปลี่ยนชื่อมาจากพรรคสามัคคีธรรม ซึ่งเป็นพรรคการเมืองที่นำโดยนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกสภามหาวิทยาลัยนเรศวร ในปี 2533-2534  และเป็นผู้วางหลักเกณฑ์ วิธีการมนการปฏิบัติงานและพัฒนาการงานกักกันพืชได้มาตรฐานสูงขึ้นจนเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ

ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์

          ดร.ฤกษ์ ศยามานนท์ อดีตอธิบดีกรมวิชาการเกษตร อดีตนายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย  ผู้อำนวยการกองวิจัยโรคพืช เป็นผู้พัฒนาสูตรเพาะเห็ด  พัฒนาวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด และการปรับปรุงเชื้อพันธ์เห็ดให้ได้มาตรฐานสากลรวมถึงเป็นผู้สนับสนุนให้มีการอบรมเห็ดครั้งแรก ของกรมวิชาการเกษตร ในปี พ.ศ. 2519  โดยให้นำงานวิจัยเห็ดของสาขาจุลชีววิทยาประยุกต์กองวิจัยโรคพืช (ในขณะนั้น) เป็นส่วนหนึ่งของหลักสูตร ทำให้งานเห็ดเป็นที่รู้จักแพร่หลายในเวลาต่อมา เป็นคนแรกที่ให้ข้อคิดเห็น เรื่องคุณค่าทางอาหารของและเขียนเรื่องแนวทาวทางการบริโภค ซึ่งเป็นทางเลือกตำรับอาหารให้เมหาะสมกับ รส กลิ่น สัมผัส และสภาพของเห็ดแต่ละชนิด ทำให้เกิดตำราอาหารเห็ดเล่มแรกของสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย เป็นผู้ร่วมก่อตั้งสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย และเป็นนายกสมาคมนักวิจัยและเพาะเห็ดแห่งประเทศไทยคนแรกในปี พ.ศ. 2520  และเป็นคณะกรรมการร่วมชายแดนไทย-มาเลเซียด้านกักกันพืช ได้จัดตั้งขึ้นโดยคณะอนุกรรมการด้านอาหาร พืชไร่ และพืชสวน ซึ่งอยู่ภายใต้ข้อตกลงทวิภาคีด้านเกษตรระหว่างประเทศมาเลเซียและประเทศไทย

นายศักดิ์สิริ เกิดปรีดี

          นายศักดิ์สิริ เกิดปรีดี เป็นบุคคลแรกที่ดำรงตำแหน่งหัวหน้าแผนกตรวจและกักกันโรคพืช ในปี พ.ศ. 2496-2504 ได้ไปศึกษาดูงานที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ในปี  พ.ศ. 2495-2496

ดร.ก่าน ชลวิจารณ์

          ดร.ก่าน ชลวิจารณ์  เข้ารับราชการในปี พ.ศ. 2479 ในตำแหน่งนักโรควิทยาผู้ช่วย เป็นผู้เชี่ยวชาญสาขาโรคพืชและกีฏวิทยาและช่วยดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าแผนกวิชาท่านแรกของแผนกวิชาโรคพืชและกีฏวิทยาของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อดีตผู้อำนวยการกองพืชพรรณ อดีตรองอธิบดีกรมกสิกรรม และอดีตรองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ท่านเป็นผู้อำนวยการกองคนแรกที่กำกับดูแลการกักกันพืช และได้เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมการอารักขาพืชระหว่างประเทศ เช่น การประชุมคณะกรรมาธิการของข้อตกลงการอารักขาพืชแห่งภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิกหลายครั้ง เป็นผู้กำหนดนโยบายในภาพรวม โดยให้การปฏิบัติงานกักกันพืชเป็นไปตามระเบียบและข้อบังคับของกฎหมายว่าด้วยการกักกันพืช และให้สอดคล้องกับข้อกำหนดของอนุสัญญาและข้อตกลงว่าด้วยการอารักขาพืชระหว่างประเทศ มีผลงานที่แพร่หลาย เช่น การเพาะเห็ดฟาง การผลิตไวน์ผลไม้ไทย ผลักดันการก่อสร้างตึกวิจัยโรคพืช ริเริ่มและผลักดันให้เกิดหน่วยงานกักกันพืช จนเกิดพระราชบัญญัติวัตถุมีพิษ กักกันพืช(Plant Quarantine Law)  

ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่

          หม่อมราชวงศ์จักรทอง ทองใหญ่  ได้เข้าเรียนศึกษาที่โรงเรียนนายร้อยทหารบก จนจบชั้นประถม 3 จนในปี พ.ศ. 2467 ท่านได้ตามครอบครัวไปเริ่มใช้ชีวิตในประเทศฝรั่งเศส โดยเข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนบุฟฟง เป็นเวลา 3 ปี จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยหม่อมเจ้าทองฑีฆายุ ทองใหญ่ พระบิดาได้ฝากหม่อมราชวงศ์จักรทอง ไว้ในความดูแลของนายเบรองเจ พระสหายสนิท จนในปี พ.ศ. 2470 หม่อมราชวงศ์จักรทอง ย้ายตามนายเบรองเจที่ถูกย้ายไปทำงานที่ซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา และทำการศึกษาต่อที่นั่นจนจบชั้นมัธยมที่ 7 และได้กลับมาศึกษาต่อที่ประเทศไทย ที่โรงเรียนมัธยมวัดเทพศิรินทร์เป็นเวลาครึ่งปี จนศึกษาจบชั้นมัธยมที่ 8 และสอบเข้าศึกษาเตรียมแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 1 ปี ก็ได้ทุนหลวงจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยคอร์แนล สาขากีฏวิทยา ซึ่งท่านได้ใช้วิชาการที่ได้ศึกษามารับราชการในประเทศไทย จนไปถึงระดับสูงสุดของข้าราชการ คือเป็นปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในช่วงปี พ.ศ. 2504 จนถึงปี พ.ศ. 2513 ก่อนจะได้รับการทาบทามเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในปี 2514 และได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2516 และเป็นสมาชิกวุฒิสภา ในปี พ.ศ. 2518