กรมส่งเสริมการเกษตรกำหนดจัดประชุมคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ 20 – 21 มีนาคม 2568 ณ ห้องประชุม 1 ศูนย์เรียนรู้กสิกรรมไร้สารพิษละโว้ธานี อำเภอท่าวุ้ง จังหวัดลพบุรี และจัดประชุมในรูแบบออนไลน์ (Online) ผ่านระบบ Zoom Meeting เพื่อพัฒนาศักยภาพ ศพก. และเครือข่ายสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย และเชื่อมโยงสนับสนุนกการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ น้้น

กรมวิชาการเกษตร ในฐานะหน่วยงานหนึ่งในคณะกรรมการเครือข่าย ศพก. และแปลงใหญ่ระดับประเทศ ได้เข้าร่วมประชุมดังกล่าวในวันที่ 21 มีนาคม 2568 ผ่านทางระบบ Zoom Meeting โดยมีกองแผนงานและวิชาการ เป็นผู้ประสานงานและเชิญ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตราฐานสินค้าพืช และสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร เข้าร่วมประชุมเพื่อตอบประเด็นคำถามในส่วนที่กรมวิชาการเกษตรมีส่วนเกี่ยวข้อง

กองแผนงานและวิชาการ กลุ่มวิเคราะห์การใช้ประโยชน์ผลงานวิจัย ได้จัดการประชุมคณะกรรมการพิจารณาผลงานวิจัยดีเด่น กรมวิชาการเกษตร ประจำปี 2567 ครั้งที่ 1/2568 ในวันที่ 31 มกราคม 2568 เวลา 09.30 – 14.00 น. ณ ห้องประชุมอารียันต์ ชั้น 3 ตึกจักรทอง สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร โดยมีนางณัฏฐิมา โฆษิตเจริญกุล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคพืช รักษาราชการแทนผู้ทรงคุณวุฒิด้านการผลิตพืช ผู้อำนวยการสำนักผู้เชี่ยวชาญ เป็นประธาน และมีคณะผู้เชี่ยวชาญกรมวิชาการเกษตรร่วมในประชุม เพื่อพิจารณาหลักเกณฑ์การพิจารณาและรางวัลผลงานวิจัยดีเด่น กรมวิชาการเกษตร พ.ศ. 2567 และร่างขั้นตอนการพิจารณาผลงานวิจัยดีเด่น กรมวชิาการเกษตร ประจำปี 2567

วันที่ 18 – 19 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ณ โรงแรมมารวยการ์เด้น กรุงเทพฯ เพื่อผลักดันให้เกิดการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมของกรมวิชาการเกษตร ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง และส่งเสริมให้บุคลากรพัฒนาทักษะการเขียนคำขอข้อเสนอโครงการวิจัยด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization; RU) พร้อมทั้งเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์และข้อคิดเห็นระหว่างวิทยากรและผู้เข้าร่วมฝึกอบรม ร่วมทั้งเป็นการบูรณาการการทำงานวิจัยร่วมกับหน่วยงานภายนอก เช่น กรมส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมสหกรณ์ และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้บรรยาย ดังนี้

1 เรื่อง กรอบโครงการวิจัยและนวัตกรรมเพื่อขจัดความยากจนแบบเบ็ดเสร็จและแม่นยำ และการยกระดับเศรษฐกิจฐานรากด้วยการพัฒนาชุมชนและฐานทุนทางวัฒนธรรม และเทคนิคการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย  

โดย นายบุญเยี่ยม เหลาสะอาด ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาเมืองน่าอยู่ และการกระจายศูนย์กลางความเจริญ หน่วยบริหารจัดการทุนด้านการพัฒนาระดบพื้นที่ (บพท.)

2. เรื่อง กรอบโครงการวิจัยและนวัตกรรมด้านการจัดการความรู้การวิจัยและถ่ายทอดเพื่อการใช้ประโยชน์ (KM) และเทคนิคการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัย

โดย นางสาวภาวดี คำชาลี ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมพัฒนาศักยภาพบุคลากรการวิจัย รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัยและนวัตกรรม สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

          3. เรื่อง กรอบโครงการวิจัยและนวัตกรรมด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization; RU)

โดย ดร. สุวิทย์ ชัยเกียรติยศ ที่ปรึกษาประจำสำนักงานด้านการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)

          4. เรื่อง เทคนิคการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization; RU)

โดย นางสาวภาวดี ใจเอื้อ ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมการใช้ประโยชน์ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) (สวก.)

          5. เรื่อง ผลสำเร็จของการเขียนข้อเสนอโครงการวิจัยด้านการนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ (Research Utilization; RU)

โดย ดร.ปริญญารัตน์ ภูศิริ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยด้านส่งเสริมการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

6. เรื่องแนวทางบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับจากหน่วยบริหารและจัดการทุน (PMU)

โดย นางวรางคนางค์ เสมาทอง นักวิชาการเงินและบัญชีชำนาญการ กลุ่มเงินนอกงบประมาณ กองคลัง กรมวิชาการเกษตร

นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในการประชุมคณะทำงานดูแลสิทธิประโยชน์ด้านทรัพย์สินทางปัญญา ครั้งที่ 5/2567 วันพฤหัสบดีที่ 21 พฤศจิกายน 2567 เวลา 09.30 – 14.00 น. ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Application) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นในการต่ออายุสัญญาอนุญาตให้ใช้สิทธิตามสิทธิบัตร/อนุสิทธิบัตร “สูตรและกรรมวิธีการผลิตปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์สำหรับข้าว” ให้กับผู้ประกอบการ จำนวน 1 ราย

ตามที่กรมวิชาการเกษตร ได้ลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและการต่อยอดงานวิจัยภาคการเกษตร (MOU) กับ 8 หน่วยงาน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยและพัฒนาพื้นที่สูง(องค์การมหาชน) ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ (MOU) ดังกล่าว นายพงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร จึงเป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและการต่อยอดงานวิจัยภาคการเกษตร ครั้งที่ 2/2567 วันอังคารที่ 20 สิงหาคม 2567 เวลา 09.30 – 14.00 น. ณ ห้องประชุม 201 ชั้น 2 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และผ่านระบบออนไลน์ (ZOOM Meeting) เพื่อสรุปผลและรายงานก้าวหน้าการขับเคลื่อนเทคโนโลยีของกรมวิชาการเกษตร ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ปีงบประมาณ 2567 และกรมวิชาการเกษตร ได้มีการเสนอเทคโนโลยีที่พร้อมจะถ่ายทอดให้กับหน่วยงานภาคีเครือข่าย ในครั้งนี้ 3 เทคโนโลยีได้แก่

  1. เทคโนโลยีระบบให้น้ำอัจฉริยะในพืชไร่ (มันสำปะหลัง ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)           
  2. เทคโนโลยีการผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์ย่อยสลายวัสดุอินทรีย์
  3. เทคโนโลยีชีวภัณฑ์แบคทีเรีย Bacillus subtilis สายพันธุ์ BS-DOA 19W6 เพื่อควบคุมโรคแอนแทรคโนสของพริก