Chai Nat Field Crops ReSearch Center

About CNFCRC

This author has not yet filled in any details.
So far CNFCRC has created 454 blog entries.

ให้การต้อนรับ

By |2021-02-23T08:46:16+07:00กุมภาพันธ์ 22nd, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันจันทร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวจิราลักษณ์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท และคณะนักวิชาการให้การต้อนรับอาจารย์และคณะนักศึกษาจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ ระดับ ปวส. ชั้นปีที่ 1 รวมจำนวน 11 คน ในการเข้าศึกษาดูงานด้านการปรับปรุงพันธุ์ถั่วเขียว และข้าวโพดฝักสด เพื่อเพิ่มพูนความรู้และทักษะด้านการปรับปรุงพันธุ์พืชไร่ โดยนายฉลอง เกิดศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และนางสาวอัจฉรา จอมสง่าวงศ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ บรรยายสรุปและนำศึกษาดูงานแปลงวิจัยโครงการปรับปรุงพันธุ์พืช ณ  ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท

ให้การต้อนรับ

By |2021-02-22T10:18:49+07:00กุมภาพันธ์ 22nd, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันศุกร์ที่  19 กุมภาพันธ์ 2564 นางสาวปวีณา ไชยวรรณ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการ นางสาวฉวีวรรณ เต็งน้อยนักวิชาการเกษตร และนายกฤษฎา ฝ่ายจัตุรัส นักวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายจากนางสาวจิราลักษณ์ ภูมิไธสง ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ให้การต้อนรับ นางศุภรินทร์ เสนาธง รองผู้ว่าราชการจังหวัดชัยนาท ในการเข้าเยี่ยมชมกิจกรรมของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช อันเนื่องมาจากพระราชดำริ  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จังหวัดชัยนาท ปีงบประมาณ 2564 โดยได้รายงานผลการดำเนินงานและแผนการปรับปรุงและพัฒนาแหล่งน้ำโครงการฯ ณ แปลงทดลองและขยายพันธุ์พืชดงเกณฑ์หลวง ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท  

บรรยายให้ความรู้

By |2021-02-17T16:32:51+07:00กุมภาพันธ์ 17th, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันพุธที่  17  กุมภาพันธ์ 2564 นายชูชาติ บุญศักดิ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้ เรื่องการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียวให้มีคุณภาพ ในโครงการพัฒนาศักยภาพกระบวนการผลิตสินค้าเกษตร จัดโดยสำนักงานเกษตรอำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ ณ ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร หมู่ที่ 4 ตำบลบึงปลาทู อำเภอบรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์ เกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 100 ราย  

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 2

By |2021-02-17T11:24:33+07:00กุมภาพันธ์ 17th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ประวัติ เป็นข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ซึ่งพัฒนาพันธุ์โดยศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท เกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ WPK008 เป็นสายพันธุ์แม่ที่มีลักษณะเด่น คือมีคุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม และเมล็ดสีม่วง ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในระหว่างปี 2555-2558 และข้าวโพดข้าวเหนียวสายพันธุ์แท้ F4305 เป็นสายพันธุ์พ่อที่มีลักษณะเด่น คือ มีความต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง คุณภาพการบริโภคเหนียวนุ่ม และเมล็ดสีขาว ซึ่งได้รับการพัฒนาสายพันธุ์ในระหว่างปี 2545-2547 สร้างพันธุ์ลูกผสมเดี่ยวในปี 2558 จากนั้นประเมินผลผลิตและประเมินความพึงพอใจของผู้บริโภคตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ ได้แก่ เปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกร ตามลำดับ ได้ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมเดี่ยวสีขาวปนม่วง ที่มีคุณภาพบริโภคเหนียวนุ่ม เหมาะสำหรับการบริโภคฝักสด ลักษณะประจำพันธุ์ ลำต้นตรงสีเขียว รากค้ำสีชมพู ความสูงต้น 200-210 เซนติเมตร ความสูงฝัก 100-120 เซนติเมตร ช่อดอกตัวผู้ค่อนข้างตรง อับเรณูสีชมพู เส้นไหมสีชมพู อายุวันออกดอกตัวผู้ 43 วัน อายุวันออกไหม 44 วัน อายุวันเก็บเกี่ยว 62-64 วัน ให้ผลผลิตฝักทั้งเปลือก 2,132 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตฝักปอกเปลือก 1,306 กิโลกรัมต่อไร่ ฝักรูปทรงกึ่งกรวยกึ่งกระบอก ฝักปอกเปลือกมีความยาว 17.5 เซนติเมตร ฝักกว้าง 4.3 เซนติเมตร เมล็ดสีขาวปนม่วง คุณภาพบริโภคเหนียวนุ่ม รสชาติฝักต้มดี ลักษณะดีเด่น ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ชัยนาท 84-1 และพันธุ์ที่เป็นการค้าของภาคเอกชน (สวีทแวกซ์ 254) เมล็ดบนฝักมีสีขาวปนม่วง เป็นที่นิยมของผู้บริโภค คุณภาพเหนียวนุ่ม รสชาติฝักต้มดี ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อมในแหล่งปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว พื้นที่แนะนำ ปลูกได้ทั่วไปในพื้นที่ที่เหมาะสมที่เป็นแหล่งปลูกข้าวโพดข้าวเหนียว เช่น จังหวัดชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี สงขลา เป็นต้น ข้อควรระวัง ไม่ต้านทานต่อโรคราน้ำค้าง และโรคใบไหม้แผลใหญ่ การรับรองพันธุ์ กรมวิชาการเกษตรพิจารณาให้เป็นพันธุ์รับรอง เมื่อวันที่ 15 สิงหาคม 2562

ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1

By |2021-02-17T15:02:07+07:00กุมภาพันธ์ 17th, 2021|Categories: ไม่มีหมวดหมู่|

ประวัติ ข้าวโพดข้าวเหนียวพันธุ์ชัยนาท 84-1 หรือข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW80 เกิดจากการผสมระหว่างสายพันธุ์ CNW4305(S) 2-B-42-B-B-B ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่คัดเลือกได้จากลูกผสมระหว่างพันธุ์ T-10-V-1 กับพันธุ์ WAXY-DMR โดยคัดเลือกให้มีความต้านทานโรคราน้ำค้างในแปลงปลูกเชื้อโรคราน้ำค้างในฤดูฝน ปี 2545 - 2547 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท โดยวิธีการคัดเลือกแบบสืบประวัติและผสมตัวเอง 1 ครั้ง จนได้สายพันธุ์ F4305 1 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ทับกฤช (S) 2-B-B-14-B-B-80-1-1-B-B-B ซึ่งเป็นพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวพื้นเมืองที่มีรสชาติหวาน คุณภาพเหนียวนุ่ม จากไร่เกษตรกรบ้านทับกฤช ตำบลทับกฤช อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์ นำมาปลูกคัดเลือกแบบสืบประวัติและผสมตัวเอง 1 ครั้ง จนได้สายพันธุ์แท้ทับกฤช M80 จากนั้น ปี 2547 - 2549 ฤดูแล้งและฤดูฝน นำพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม CNW80 ไปทดสอบการให้ผลผลิตในแปลงเปรียบเทียบเบื้องต้น เปรียบเทียบมาตรฐาน เปรียบเทียบในท้องถิ่น เปรียบเทียบในท้องที่ และเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรในเขตภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ และศึกษาข้อมูลจำเพาะการให้ผลผลิตของพันธุ์ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสม ตั้งแต่ปี 2549 - 2553 รวม 26 แปลงทดลอง ลักษณะเด่น ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือกเฉลี่ย 1,731 กิโลกรัมต่อไร่ ไม่แตกต่างจากพันธุ์บิ๊กไวท์ 852 ที่ให้ผลผลิตฝักสดทั้งเปลือก 1,714 กิโลกรัมต่อไร่ มีคุณภาพความเหนียวนุ่ม ปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม ลักษณะประจำพันธุ์ ข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ชัยนาท 84-1 หรือข้าวโพดข้าวเหนียวลูกผสมพันธุ์ CNW80 มีลำต้นเขียวปนม่วงแดง รากค้ำจุนสีเขียวปนม่วงแดง เส้นไหมสีชมพู เปลือกหุ้มฝักเขียวปนม่วงแดง ไม่มีใบที่ปลายฝัก เมล็ดสีขาว จำนวนแถวเมล็ด 10 - 12 วันออกดอก 50 เปอร์เซ็นต์ 41 - 50 วัน วันออกไหม 50 เปอร์เซ็นต์ 41 [...]

บรรยายให้ความรู้

By |2021-02-11T13:44:42+07:00กุมภาพันธ์ 11th, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันพฤหัสบดีที่  11  กุมภาพันธ์ 2564 นายชูชาติ บุญศักดิ์ นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ และนางน้ำอ้อย นาคา นักวิชาการเกษตร ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเขียวเพื่อเพิ่มผลผลิตถั่วเขียวให้เหมาะสมกับปัจจุบัน ภายใต้โครงการทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตถั่วเขียวแบบเกษตรกรมีส่วนร่วม จัดโดยศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรพิจิตร ณ ศูนย์เรียนรู้ชุมชนบ้านหนองหวาย หมู่ที่ 7 ตำบลห้วยแก้ว อำเภอบึงนาราง จังหวัดพิจิตร เกษตรกรเข้าร่วมอบรม จำนวน 30 ราย

บรรยายให้ความรู้

By |2021-02-10T13:56:06+07:00กุมภาพันธ์ 10th, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2564 นางน้ำอ้อย นาคา นักวิชาการเกษตร เป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้บรรยายในหัวข้อเรื่อง “เทคโนโลยีการผลิต สถานการณ์ใบด่างถั่วเขียว การป้องกันกำจัด และการปรับปรุงสภาพเมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว” ภายใต้โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตพืชตระกูลถั่วเพื่อความมั่นคงด้านอาหาร จัดโดยสำนักงานเกษตรอำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท ณ ศาลาเอนกประสงค์บ้านทุ่งพงษ์ หมู่ 8 ตำบลหนองน้อย อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท เกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 20 ราย

บรรยายให้ความรู้

By |2021-02-10T14:05:47+07:00กุมภาพันธ์ 10th, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันพุธที่  10  กุมภาพันธ์ 2564 นายบรรเจิด สาลีผล นักวิชาการเกษตร และนายกฤษฎา ฝ่ายจัตุรัส นักวิชาการเกษตร  ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้ จำนวน 3 หัวข้อเรื่อง ดังนี้ เรื่อง การป้องกันการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เรื่อง การขยายพันธุ์มันสำปะหลังปลอดโรค แบบ x 20 และ x 80 เรื่อง การเตรียมดินและระบบน้ำในแปลงมันสำปะหลัง ภายใต้โครงการส่งเสริมการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตมันสำปะหลัง จัดโดยสำนักงานเกษตรอำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ณ ศาลากลางบ้าน​ หมู่ที่​ 1​0 ตำบลเด่นใหญ่​ อำเภอหันคา​ จังหวัดชัยนาท เกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 26 ราย  

บรรยายให้ความรู้

By |2021-02-10T14:05:56+07:00กุมภาพันธ์ 9th, 2021|Categories: ข่าวกิจกรรม|

วันอังคารที่  9  กุมภาพันธ์ 2564 นายฉลอง เกิดศรี นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ เป็นวิทยากรบรรยายถ่ายทอดความรู้ โครงการจัดทำตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการนำผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมาย เพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2564 ของศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรกาญจนบุรี หลักสูตร “การใช้ปุ๋ยชีวภาพพีจีพีอาร์-วัน ร่วมกับปุ๋ยเคมีวิเคราะห์ดิน เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดหวานในพื้นที่จังหวัดกาญจนบุรี” ในรายวิชา “การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวโพด” ณ แปลงเกษตรกรต้นแบบ นายชาติชาย อินทร์เกตุ เลขที่ 1/2​ หมู่ที่​ 5​ ตำบลบ่อพลอย อำเภอบ่อพลอย ​ จังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรเข้าร่วมจำนวน 20 ราย

Go to Top