โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี 

ประวัติความเป็นมา

          ทรัพยากรในธรรมชาติถูกบุกรุกทำลายจากการขยายตัวของชุมชน ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของประชากรและการพัฒนาประเทศ การสร้างเขื่อนหรือการสร้างอ่างเก็บน้ำทำให้พื้นที่บางส่วนถูกน้ำท่วม ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท จึงได้ร่วมสนองพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยได้ร่วมปฏิบัติงานเก็บรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพร และไม้พื้นเมืองที่ใช้เป็นอาหารที่บริเวณอ่างเก็บน้ำลำตะเพิน อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี ระหว่างวันที่ 2-5 พฤศจิกายน 2536 ได้พันธุ์ไม้จำนวน 287 ต้น ส่วนหนึ่งจำนวน 216 ต้น ได้นำไปปลูกรวบรวมไว้ที่โครงการฯ ซึ่งอยู่ภายใต้พื้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท แปลงทดลองและขยายพันธุ์พืชดงเกณฑ์หลวง ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาทพระราชดำริ เป็นโครงการที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงสืบทอดพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช และมีพระราชกระแสกับเลขาธิการสำนักพระราชวังให้ดำเนินการอนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการ เป็นธนาคารพืชพรรณมีเป้าหมายสรุปคือเพื่อพัฒนาบุคลากรอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรพันธุกรรมพืชให้เกิดประโยชน์กับมหาชนชาวไทยบนฐานคุณธรรม โครงการตั้งอยู่ที่ ศูนย์วิจัยพืชไร่ชัยนาท ณ แปลงทดลองและขยายพันธุ์พืชดงเกณฑ์หลวง ตำบลหนองขุ่น อำเภอวัดสิงห์ จังหวัดชัยนาท โดยมีกิจกรรมที่ดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1

กิจกรรมปกปักทรัพยากร

      ดำเนินการสำรวจแสดงขอบเขตปรับปรุงเส้นทางศึกษาธรรมชาติภายในโครงการฯ และอนุรักษ์ พันธุกรรมพืชในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ พร้อมทั้งจัดทำป้ายชื่อพรรณไม้ จากการสำรวจ พบว่า มีพรรณพืชสมุนไพร และไม้พื้นบ้านทั้งหมด 130 ชนิด จำนวน 5,852 ต้น

      1. กลุ่มไม้ผลท้องถิ่น  2. กลุ่มพืชสมุนไพร 3. กลุ่มผักพื้นบ้านและพืชอาหาร 4.  กลุ่มไม้หอม ไม้ดอก ไม้ประดับ 5.  กลุ่มไม้ใช้สอย

กิจกรรมที่ 2 

กิจกรรมปลูกรักษาทรัพยากร

  1. ดูแลรักษาพืชสมุนไพรที่มีอยู่ให้เจริญเติบโตและขยายพันธุ์เพื่อใช้ประโยชน์ต่อไป
  2. ดำเนินการรวบรวมพืชสมุนไพรที่มีประโยชน์ทางยา จำนวน 100 ชนิด แบ่งเป็นกลุ่มที่มีประโยชน์ทางยา 10 กลุ่ม ได้แก่ (1) ขับพยาธิ ยาถ่าย ยาระบาย ได้แก่ มะหาด ชะเอม ชุมเห็ดไทย มะกา มะเกลือ ทับทิม (2) แก้ท้องเสีย แก้บิด ได้แก่ สมอพิเภก สีเสียดเหนือ โมกมัน มะตูม เปล้าน้อย สายน้ าผึ้ง มะกล่า (3) ขับประจำเดือน ขับเลือด ได้แก่ เจตมูลเพลิงแดง ว่านชักมดลูก ไพร กระชาย กระทือ เพกา แก้ว ยอ (4) ขับปัสสาวะ ได้แก่ หญ้าหนวดแมว เตยหอม สับปะรด พลูคาว สามสิบกลีบ ตะไคร้ ขลู่ โด่ไม่รู้ล้ม (5) บำรุงหัวใจ กระตุ้นหัวใจ ได้แก่ พะยอม พิกุล ลำดวน บุนนาค สารภี กฤษณา กระดังงาสงขลา (6) ลดไข้แก้ไข้ ได้แก่ แค กะทกรก เนียมหูเสือ ประยงค์ ว่านธรณีสาร บอระเพ็ด ย่านาง ลำเจียก (7) เจริญอาหาร บำรุงธาตุ แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ ได้แก่ ประทัดใหญ่ ฟ้าทะลายโจร จันลูกหอม ขี้เหล็ก (8) ขับลม ได้แก่ พลู ชะพลู เปราะหอม ดีปลี ขมิ้นชัน กระวาน ข่อย แฝกหอม กระเพรา (9) แก้โรคผิวหนัง กลากเกลื้อน เชื้อรา ได้แก่ พิลังกาสา ใบระบาด ข่า เหงือกปลาหมอดอกขาว (10) สมุนไพรฆ่าเหา ไล่แมลง ได้แก่ น้อยหน่า เถาวัลย์เปรียง โล่ติ้น หนอนตายหยาก

กิจกรรมที่ 3 

กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร    ดำเนินการจัดฝึกอบรมการสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากร ให้แก่นักเรียน และนักศึกษา และผู้สนใจ