กลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช

บทบาทหน้าที่

  1. ศึกษา ค้นคว้า วิจัย สำรวจ และรวบรวมข้อมูลพื้นฐานด้านพฤกษศาสตร์ ความหลากหลายของพรรณไม้ในประเทศไทย รวมถึงการใช้ประโยชน์จากพรรณไม้ในท้องถิ่นต่างๆ
  2. ตรวจสอบลักษณะทางสัณฐานวิทยาหรือคุณสมบัติของพรรณไม้ เพื่อให้ข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ ชื่อท้องถิ่น หรือข้อมูลการใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ
  3. ดำเนินงานด้านอนุกรมวิธานพืช การจัดหมวดหมู่ของพรรณไม้ และการจัดการตัวอย่างพรรณไม้อ้างอิงในพิพิธภัณฑ์กรุงเทพ
  4. ให้คำปรึกษา ประสานงานและร่วมดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของพรรณไม้ในประเทศไทย กับหน่วยงานภายในและภายนอกกรมวิชาการเกษตร

 งานวิจัยของกลุ่มวิจัยพฤกษศาสตร์และพิพิธภัณฑ์พืช
        งานวิจัยด้านการจัดการพิพิธภัณฑ์พืช
– การศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์เพื่อจัดทำฐานข้อมูลพรรณพืช
– การศึกษาและจัดทำฐานข้อมูลพรรณไม้แห้ง

       งานวิจัยด้านความหลากหลายและอนุกรมวิธานพืช
– สำรวจและศึกษาความหลากหลายของเฟริ์นบริเวณแหล่งท่องเที่ยว
– การศึกษาและรวบรวมเฟริ์นและพืชวงศ์ใกล้เคียงในอุทยานแห่งชาติภูเวียง จังหวัดขอนแก่น
– รวบรวมและศึกษาอนุกรมวิธานของว่านชนิดต่างๆ
– สำรวจ รวบรวม จำแนกและอนุรักษ์ว่านมหาเมฆ
– สำรวจ รวบรวม จำแนกและอนุรักษ์ว่านนางคำ
– การสำรวจและรวบรวมกล้วยไม้พื้นเมืองบริเวณหมู่เกาะในเขตภาคใต้
– สำรวจและจำแนกชนิดกล้วยไม้ในป่าเต็งรังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– รวบรวมและศึกษาอนุกรมวิธานของพืชวงศ์กระจับในประเทศไทย
– การศึกษาและรวบรวมบัวพื้นเมืองในเขตภาคกลาง
– การสำรวจวัชพืชต่างถิ่นในประเทศไทย
– การศึกษาและรวบรวมพืชวงศ์กะเพรา
– การศึกษาทางอนุกรมวิธานของพืชสกุลกลอย
– ศึกษาอนุกรมวิธานของพืชสกุลบุก
– สำรวจและรวบรวมพืชวงศ์ขิงในเขตภาคใต้
– การรวบรวมเมล็ดพืชตระกูลถั่วในประเทศไทย
– การศึกษาพรรณไม้วงศ์ GESNERIACEAE และ BALSAMINACEAE บริเวณเทือกเขาหินปูน
– การศึกษาไม้ดอกไม้ประดับพื้นเมืองในป่าเต็งรังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– การสำรวจรวบรวมพรรณไม้พื้นเมืองในภาคตะวันตก
– ลักษณะทางพฤกษศาสตร์และนิเวศวิทยาบางประการของกูดเกี๊ยะ บริเวณโครงการฟาร์มตัวอย่าง บ้านขุนแตะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
– รวบรวมและศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชที่มีคุณสมบัติควบคุมกำจัดศัตรูพืช
– ศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์และการเจริญเติบโตของกระวาน 3 พันธุ์ในที่สูง



 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


งานวิจัยด้านการใช้ประโยชน์จากพืชในท้องถิ่น

– รวบรวมและศึกษาลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของพืชสี
– สำรวจรวบรวมและศึกษาแหล่งกระจายพันธุ์ไม้ผลเขตร้อน
– การสำรวจรวบรวมศึกษาศักยภาพของพรรณพืชในพื้นที่ป่าชุมชน
– สำรวจรวบรวมพืชสมุนไพรพื้นบ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– สำรวจพืชเป็นยาพื้นบ้านทางภาคตะวันตก
– สำรวจรวบรวมพืชสมุนไพรพื้นบ้านทางภาคตะวันออก
– สำรวจและรวบรวมผักพื้นเมืองทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
– สำรวจรวบรวมผักพื้นเมืองทางภาคกลางและภาคตะวันออก
– สำรวจรวบรวมผักพื้นเมืองทางภาคตะวันตก
– พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวเลกลุ่มมอร์แกนบริเวณหมู่เกาะสุรินทร์ จังหวัดพังงา