พบการระบาดของหนอนทำลายใบของต้นคูณ ซึ่งปลูกเป็นแนว บริเวณริมเขา ภายในศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ต.สุขสำราญ จ.นครสวรรค์ โดยมีการระบาดตลอดทั้งปี ได้เก็บตัวอย่างส่งจำแนกชนิด ที่กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ผลการจำแนก พบว่าเป็น ” หนอนชอนใบคูณ ”
หนอนชอนใบคูน (cassia webworm)
Anabasis ochrodesma (Zeller, 1881) (Lepidoptera: Pyralidae: Phycitinae)
Anabasis ochrodesma (Zeller, 1881)
Myelois ochrodesma Zeller, 1881
Acrobasis crassisquamella Hampson, 1901
หนอนชอนใบคูน เป็นศัตรูสำคัญของพืชในสกุล Cassia ได้แก่ ราชพฤกษ์/คูน (Cassia fistula) ชัยพฤกษ์ (Cassia javanica) ชุมเห็ดจีน (Cassia obtusifolia) ชุมเห็ดเทศ (Cassia alata) และขี้เหล็ก (Cassia siamea) โดยหลังฟักออกจากไข่ หนอนจะกัดกินใบอ่อนของพืชอาศัย เมื่อหนอนมีขนาดใหญ่ขึ้นจะปล่อยเส้นใยดึงใบมาประกบกันเป็นแผ่นแบน ๆ เพื่อสร้างเป็นที่อยู่อาศัย หนอนกินเนื้อเยื่อจากใบพืชในชั้น เอพิเดอร์มิส (epidermis) และ มีโซฟิลล์ (mesophyll) จนใบพืชเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย
เขตการแพร่กระจาย พบตั้งแต่ฟลอริดาจนถึงเปอร์โตริโก คิวบา เกรเนดา จาเมกา ตรินิแดด เม็กซิโก กัวเตมาลา ปานามา โคลัมเบีย และ เวเนซุเอลา ซึ่งหนอนชนิดไม่เคยมีรายงานในประเทศไทยมาก่อน (คาดว่าเข้ามาในประเทศไทยนานแล้ว แต่ยังไม่มีการนำมาตรวจจำแนกชนิด)
ภาพและข้อมูล
– ดร.สุนัดดา เชาวลิต นักกีฏวิทยาชำนาญการพิเศษ กลุ่มงานอนุกรมวิธานแมลง กลุ่มกีฏและสัตววิทยา สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
– ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์