โคลนอ้อยดีเด่นชุดปี 2556

โคลนอ้อยดีเด่นชุดปี 2556 (Promising Sugarcane clones Series NSUT13)
ผลงานวิจัยด้านปรับปรุงพันธุ์ของศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์

อ้อยโคลนดีเด่นชุดปี 2556 (NSUT13) เป็นลูกผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี 2556 แล้วนำมาคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2556-2559 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ นำเข้าประเมินผลผลิตและการไว้ตอ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตน้ำตาลมากกว่าหรือเทียบเท่ากับพันธุ์ LK92-11 หรือขอนแก่น 3 อย่างน้อยร้อยละ 3 เหมาะกับสภาพการปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตน้ำฝน ในขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2560-2562 การเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2562-2564 และการศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ในปี 2559-2561 ในขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินการไว้ตอในขั้นการเปรียบเทียบมาตรฐาน เพื่อนำเข้าประเมินผลผลิตในขั้นการเปรียบเทียบในไร่เกษตรกรต่อไป

—————————————–

NSUT13-313

ประวัติ

อ้อยโคลน NSUT13-313 เป็นลูกผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ Q85 และพันธุ์พ่อ อู่ทอง 8 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี 2556 แล้วนำมาคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2556-2559 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ นำเข้าประเมินผลผลิตและการไว้ตอ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตน้ำตาลสูง และเหมาะกับสภาพการปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตน้ำฝน ในขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2560-2562 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในอ้อยปลูก และตอ 1 การเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2562-2564 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และแปลงเกษตรกร ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท และศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ในปี 2559-2561

ลักษณะประจำพันธุ์

อ้อยโคลน NSUT13-313 มีทรงกอตั้งตรง การติดของกาบใบกับลำต้นหลวม สีของยอดอ้อย สีเขียว ลักษณะปล้องทรงกระบอก ลักษณะปล้องตัดขวางกลม จำนวน 5-7 ลำต่อกอ ขนาดลำ 2.95-3.15 ซม. การเรียงตัวของปล้องค่อนข้างตรง มีไขที่ปล้องปานกลาง สีปล้องเมื่อต้องแสงสีม่วงเหลือบเขียว และเมื่อไม่ต้องแสงเป็นเหลืองเหลือบเขียว มีร่องเหนือตาสั้น ไม่มีรอยแตกของปล้อง  สีของวงเจริญเมื่อต้องแสงสีเขียว วงเจริญเรียบเท่ากับปล้อง การเรียงตัวของจุดกำเนิดรากไม่เป็นระเบียบ ความกว้างของวงรากปานกลาง มีวงไข ตาลักษณะนูนรูปกลม ตำแหน่งยอดตาเท่ากับวงเจริญ ไม่มีขนที่ตา ทรงใบส่วนยอดชันตรง ปลายใบโค้งลง  ขนที่ขอบใบมีน้อย ลิ้นใบตรงกลางโป่งออก ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ข้าง หูใบขอบด้านนอกสามเหลี่ยมขอบตรงมุมฉาก หูใบขอบด้านในใบหอกสั้น คอใบสามเหลี่ยมชายธง สีของคอใบสีเขียวอมน้ำตาล ไม่มีขนที่กาบใบ

ลักษณะเด่น

  1. ผลผลิตอ้อยจากอ้อยปลูก และตอ 1 เฉลี่ย 20.58 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (15.51 ตัน/ไร่) และขอนแก่น 3 (17.87 ตัน/ไร่) หรือร้อยละ 33 และ 15 ตามลำดับ
  2. ผลผลิตน้ำตาลจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 2.81 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.18 ตันซีซีเอส/ไร่) และขอนแก่น 3 (2.49 ตันซีซีเอส/ไร่) หรือร้อยละ 29 และ 13 ตามลำดับ
  3. ความหวานเฉลี่ย 13.86 ซีซีเอส
  4. กาบใบหลวมหลุดร่วงง่าย ทรงกอตั้งตรงไม่หักล้ม ขนาดลำปานกลางถึงใหญ่ เหมาะกับการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคน และเครื่องจักร

ช่วงปลูก พฤศจิกายน-ธันวาคม    ช่วงเก็บเกี่ยว ธันวาคม-มีนาคม

พื้นที่แนะนำ เหมาะกับพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขัง ในสภาพดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว

ข้อควรระวัง อ้อยโคลน NSUT13-313 อ่อนแอต่อโรคแส้ดำ หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคแส้ดำ และ/หรือในพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อ้อยโคลน NSUT13-313


NSUT13-154

ประวัติ

อ้อยโคลน NSUT13-154 เป็นลูกผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ LK92-11 และพันธุ์พ่อ UT84-10 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี 2556 แล้วนำมาคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2556-2559 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ นำเข้าประเมินผลผลิตและการไว้ตอ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตน้ำตาลสูง และเหมาะกับสภาพการปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตในขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2560-2562 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในอ้อยปลูก และตอ 1 การเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2562-2564 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และแปลงเกษตรกร ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท และศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ในปี ในปี 2559-2561

ลักษณะประจำพันธุ์

โคลนอ้อย NSUT13-154 ทรงกอตั้งตรง การติดของกาบใบกับลำต้นหลวมปานกลาง สีของยอดอ้อย สีเขียว ลักษณะปล้องปลายโต ลักษณะปล้องตัดขวางกลม จำนวน 6-8 ลำต่อกอ ขนาดลำ 2.50-2.80 ซม. การเรียงตัวของปล้องแบบซิกแซก มีไขที่ปล้องปานกลาง สีปล้องเมื่อต้องแสงสีม่วงเหลือบเขียว และเมื่อไม่ต้องแสงเป็นเหลืองเหลือบเขียว ไม่มีร่องเหนือตาไม่มีรอยแตกของปล้อง  สีของวงเจริญเมื่อต้องแสงสีเขียว วงเจริญเรียบเท่ากับปล้อง การเรียงตัวของจุดกำเนิดรากไม่เป็นระเบียบ ความกว้างของวงรากปานกลาง มีวงไข ตาลักษณะนูนรูปกลม ตำแหน่งยอดตาเท่ากับวงเจริญ ไม่มีขนที่ตา ทรงใบตรงส่วนยอดของลำชู ปลายใบโค้งลง  ขนที่ขอบใบมีน้อย ลิ้นใบตรงกลางโป่งออก ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ข้าง หูใบขอบด้านนอกสามเหลี่ยมขอบตรงมุมฉาก หูใบขอบด้านในใบหอกสั้น คอใบสามเหลี่ยมชายธง สีของคอใบสีม่วงอมเขียว ไม่มีขนที่กาบใบ

ลักษณะเด่น

  1. ผลผลิตอ้อยจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 18.02 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (15.51 ตัน/ไร่) และขอนแก่น 3 (17.87 ตัน/ไร่) หรือร้อยละ 7 และ 2 ตามลำดับ
  2. ผลผลิตน้ำตาลจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 2.45 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.18 ตันซีซีเอส/ไร่) หรือร้อยละ 12
  3. ความหวานเฉลี่ย 13.30 ซีซีเอส
  4. ต้านทานต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง
  5. ทรงกอค่อนข้างกว้างไม่หักล้ม ขนาดลำปานกลางถึงใหญ่

ช่วงปลูก ตุลาคม-ธันวาคม          ช่วงเก็บเกี่ยว ธันวาคม-มีนาคม

พื้นที่แนะนำ    เหมาะกับพื้นที่ดอนที่มีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างดี ไม่มีน้ำท่วมขัง ในสภาพดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว

 ข้อควรระวัง    อ้อยโคลน NSUT13-154 อ่อนแอปานกลางต่อโรคแส้ดำ หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคแส้ดำ และ/หรือในพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อ้อยโคลน NSUT13-154

—————————————–

NSUT13-289

ประวัติ

อ้อยโคลน NSUT13-289 เป็นลูกผสมที่ได้จากการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์แม่ Q76 และพันธุ์พ่อ 04-2-1383 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี 2556 แล้วนำมาคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2556-2559 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ นำเข้าประเมินผลผลิตและการไว้ตอ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตน้ำตาลสูง และเหมาะกับสภาพการปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตน้ำฝน ในขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2560-2562 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในอ้อยปลูก และตอ 1 การเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2562-2564 ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และแปลงเกษตรกร ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท และศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ในปี 2559-2561

ลักษณะประจำพันธุ์

อ้อยโคลน NSUT13-289 ทรงกอตั้งตรง กาบใบหลวมปานกลาง สีของยอดอ้อย สีเขียว ลักษณะปล้องกลางคอด ลักษณะปล้องตัดขวางกลม จำนวน 6-9 ลำต่อกอ ขนาดลำ 2.40-2.60 ซม. การเรียงตัวของปล้องค่อนข้างตรง มีไขที่ปล้องปานกลาง สีปล้องเมื่อต้องแสงเขียวอมน้ำตาล และเมื่อไม่ต้องแสงเป็นเหลืองเหลือบเขียว ไม่มีร่องเหนือตา          ไม่มีรอยแตกของปล้อง  สีของวงเจริญเมื่อต้องแสงสีเขียว วงเจริญเรียบเท่ากับปล้อง การเรียงตัวของจุดกำเนิดราก 2 แถวไม่เป็นระเบียบ ความกว้างของวงรากปานกลาง มีวงไข ตาลักษณะรูปกลม นูนเล็กน้อย ตำแหน่งยอดตาเท่ากับวงเจริญ ไม่มีขนที่ตา ปลายใบชัน โค้ง  ขนที่ขอบใบมีน้อย ลิ้นใบตรงกลางโป่งออก ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ข้าง หูใบขอบด้านนอก และด้านในสามเหลี่ยมขอบตรงมุมฉาก คอใบสามเหลี่ยมชายธง สีของคอใบสีเขียวอมน้ำตาล มีขนเฉพาะที่ข้างกาบใบ

ลักษณะเด่น

  1. ให้ผลผลิตอ้อยจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 17.40 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 ซึ่งมีผลผลิต 15.51 ตัน/ไร่ หรือร้อยละ 12
  2. ให้ผลผลิตน้ำตาลจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 2.48 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.18 ตันซีซีเอส/ไร่) หรือร้อยละ 13 และอยู่ในระดับเดียวกับพันธุ์ขอนแก่น 3 (2.49 ตันซีซีเอส/ไร่)
  3. ความหวานเฉลี่ย 14.01 ซีซีเอส อยู่ในระดับเดียวกันกับพันธุ์ LK92-11 และขอนแก่น 3
  4. เจริญเติบโตเร็ว ทรงกอตั้งตรง ไม่หักล้ม
  5. ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

ช่วงปลูก ตุลาคม-ธันวาคม          ช่วงเก็บเกี่ยว พฤศจิกายน-มกราคม

พื้นที่แนะนำ  เหมาะกับพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขัง ในสภาพดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว

ข้อควรระวัง  อ้อยโคลน NSUT13-289 อ่อนแอต่อโรคแส้ดำ และแมลงหวี่ขาว หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาด และควรมีการป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของกรมวิชาการเกษตร

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อ้อยโคลน NSUT13-289

—————————————–

NSUT13-106

ประวัติ

โคลนอ้อย NSUT13-106 เป็นลูกผสมระหว่างพันธุ์แม่ Q76 และพันธุ์พ่อ UT13 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ในปี 2556 แล้วนำมาคัดเลือกครั้งที่ 1 และ 2 ในปี 2556-2559 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ นำเข้าประเมินผลผลิตและการไว้ตอ เพื่อคัดเลือกพันธุ์ที่มีศักยภาพการให้ผลผลิตน้ำตาลสูง และเหมาะกับสภาพการปลูกในดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว เขตน้ำฝน ในขั้นตอนการเปรียบเทียบเบื้องต้น ระหว่างปี 2560-2562 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ในอ้อยปลูก และตอ 1 การเปรียบเทียบมาตรฐาน ในปี 2562-2564 ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ ศูนย์วิจัยพืชไร่สุพรรณบุรี ศูนย์วิจัยพืชไร่อุบลราชธานี ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรนครราชสีมา และแปลงเกษตรกร ต.แพรกศรีราชา อ.สรรคบุรี จ.ชัยนาท และศึกษาปฏิกิริยาต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง และโรคแส้ดำ ในปี 2559-2561

ลักษณะประจำพันธุ์

          ทรงกอตั้งตรง กาบใบหลวมปานกลาง สีของยอดอ้อยสีเขียว ลักษณะปล้องกลางคอด ลักษณะปล้องตัดขวางกลม จำนวน 4-6 ลำต่อกอ ขนาดลำ 2.90-3.15 ซม. การเรียงตัวของปล้องซิกแซกเล็กน้อย มีไขที่ปล้องปานกลาง สีปล้องเมื่อต้องแสงสีม่วงเหลือบน้ำตาล และเมื่อไม่ต้องแสงเป็นเขียวเหลือบเหลือง ร่องเหนือตาตื้นและสั้น ไม่มีรอยแตกของปล้อง  สีของวงเจริญเมื่อต้องแสงสีเขียว วงเจริญเรียบเท่ากับปล้อง การเรียงตัวของจุดกำเนิดรากไม่เป็นระเบียบ ความกว้างของวงรากปานกลาง มีวงไข ตาลักษณะนูนรูปกลม ตำแหน่งยอดตาเท่ากับวงเจริญ ไม่มีขนที่ตา ปลายใบตรงส่วนยอดของลำโค้งลง  ขนที่ขอบใบไม่มี ลิ้นใบตรงกลางโป่งออก ปลายเรียวแหลมทั้ง 2 ข้าง หูใบขอบด้านนอกสามเหลี่ยมขอบตรงมุมฉาก หูใบขอบด้านในใบหอกสั้น คอใบสามเหลี่ยมชายธงปลายคด สีของคอใบสีเขียวอมน้ำตาล ไม่มีขนที่กาบใบ

ลักษณะเด่น

  1. ผลผลิตอ้อยจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 17.73 ตัน/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (15.51 ตัน/ไร่) หรือร้อยละ 14
  2. ผลผลิตน้ำตาลจากอ้อยปลูก และอ้อยตอ 1 เฉลี่ย 2.40 ตันซีซีเอส/ไร่ สูงกว่าพันธุ์ LK92-11 (2.18 ตันซีซีเอส/ไร่) หรือร้อยละ 10
  3. ความหวานเฉลี่ย 13.49 ซีซีเอส
  4. การเจริญเติบโตเร็ว ขนาดลำปานกลาง-ใหญ่ เหมาะกับการเก็บเกี่ยวด้วยแรงงานคนและเครื่องจักร
  5. ต้านทานปานกลางต่อโรคเหี่ยวเน่าแดง

ช่วงปลูก ตุลาคม-ธันวาคม          ช่วงเก็บเกี่ยว พฤศจิกายน-มกราคม

พื้นที่แนะนำ  เหมาะกับพื้นที่ดอนไม่มีน้ำท่วมขัง ในสภาพดินร่วน ร่วนเหนียว และดินเหนียว

ข้อควรระวัง อ้อยโคลน NSUT13-106 อ่อนแอปานกลางต่อโรคแส้ดำ หลีกเลี่ยงการปลูกในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคแส้ดำ และ/หรือในพื้นที่ลุ่ม น้ำท่วมขัง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์อ้อยโคลน NSUT13-106

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม : ศูนย์วิจัยพืชไร่นครสวรรค์ | เลขที่ 146 หมู่ 1 ถนนพหลโยธิน ต.สุขสำราญ อ.ตากฟ้า จ.นครสวรรค์ 60190 โทรศัพท์ 0-5624-1019 โทรสาร 0-5624-1498   อีเมล์ nsfcrc@doa.in.th, หรือ knattapat@hotmail.com