ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ของ สวพ. 5 จังหวัดปทุมธานี

วันที่ 29 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ชนิดพืชกล้วยหอมทอง ณ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขา สาขาเกษตรอินทรีย์ ของ สวพ. 5

วันที่ 30 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ชนิดพืชมะพร้าวน้ำหอม ณ อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5

การอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การตรวจรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ (มกษ. 9000 – 2564) ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์

วันจันทร์ที่ 27 มกราคม 2568 ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดและให้โอวาทในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร การตรวจรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ (มกษ. 9000 – 2564) ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และ และนายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของโครงการดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 -31 มกราคม 2568 ณ โรงแรมไอโฮเทล จังหวัดขอนแก่น

การฝึกอบรมดังกล่าวจัดขึ้นโดยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ดังนี้มีผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 60 คน ซึ่งเป็นผู้ตรวจประเมินแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ ของสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 กรมวิชาการเกษตร การฝึกอบรมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ตรวจประเมินมีความรู้ความเข้าใจข้อกำหนดและมาตรฐานการตรวจรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ ตามมาตรฐานกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (มกษ.9000 – 2564) และเพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนผู้ตรวจประเมินแหล่งผลิตพืชอินทรีย์ให้มีจำนวนเพียงพอ ต่อการขอรับรองของเกษตรกรและผู้ประกอบการ

การเข้าร่วมการส่งออกผลมังคุดสดไปสาธารณรัฐเกาหลี ประจำปี 2568

สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร ขอประชาสัมพันธ์แจ้งผู้ส่งออกที่ประสงค์จะเข้าร่วมโครงการส่งออกผลมังคุดสดไปสาธารณรัฐเกากหลี ในปี 2568 ให้ส่งใบคำร้องแสดงความจำนงเข้าร่วม “โครงการส่งออกผลมังคุดสดไปสาธารณรัฐเกาหลี” ภายในวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 นี้

แบบฟอร์ม- คำร้องการยื่นความประสงค์เพื่อส่งออกผลมังคุดสดไปสาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2568 ——-> Download file PDF

แบบฟอร์ม- คำร้องการยื่นความประสงค์เพื่อส่งออกผลมังคุดสดไปสาธารณรัฐเกาหลี ในปี 2568 ——-> Download file Microsoft Word

แบบฟอร์ม- แบบ ก.ก. 2 เอกสารแนบ ——-> Download file PDF

แบบฟอร์ม- แบบ ก.ก. 2 เอกสารแนบ ——-> Download file Microsoft Word

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาเกษตรอินทรีย์ของ สวพ. 2 จังหวัดสุโขทัย

วันที่ 17 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ชนิดพืชผักผสมผสาน ณ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ของ สวพ. 2 จังหวัดอุตรดิตถ์

วันที่ 16 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ชนิดพืชทุเรียน ณ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาเกษตรอินทรีย์ของ สวพ. 1 จังหวัดลำปาง

วันที่ 14 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ชนิดพืชผักผสมผสาน ณ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ของ สวพ. 1 จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 13 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ชนิดพืชทุเรียน ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

การเตรียมความพร้อมการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบสาร Basic yellow 2

วันที่ 16 มกราคม 2568 เวลา 13.30 – 17.00 น. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมหารือ เรื่อง การเตรียมความพร้อมการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบสาร Basic yellow 2 ผ่านระบบ zoom meeting ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 เจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 เจ้าหน้าที่กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช รวมถึงห้องปฏิบัติการทดสอบสาร Basic yellow 2 จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสงขลา
2.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขากรุงเทพฯ
3.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาฉะเชิงเทรา
4.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสมุทรสาคร
5.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่
6.บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน)
โดยสามารถเริ่มดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบ BY2 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 ตามมาตรการเข้มงวดในการนำเข้าทุเรียนของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เน้นย้ำขอความร่วมใจ ร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อ Set Zero ในแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารห้ามใช้ ด้วยมาตรการ 4 ไม่ “ไม่อ่อน ไม่หนอน ไม่สวมสิทธิ์ ไม่มีสีไม่มีสาร” เพื่อให้การส่งออกทุเรียนไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ของประเทศไทยกลับมาดำเนินการได้

การประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดเพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 14 มกราคม 2568 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดเพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายเสกสรร วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช พร้อมด้วยผู้แทนจากห้องปฏิบัติการเอกชนที่ได้รับการยอมรับความสามารถจากกรมวิชาการเกษตร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกองแผนงาน ชั้น 3 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และช่องทางอออนไลน์ ประเด็นสำคัญของการประชุม: 1. ความพร้อมของห้องปฏิบัติการในทดสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดเพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการที่สามารถดำเนินการทดสอบสาร Basic Yellow 2 ได้จำนวน 6 ห้องปฏิบัติการ และอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมอีก 18 ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 24 ห้องปฏิบัติการ 2. กระบวนการสุ่มตัวอย่างทุเรียนสด ต้องดำเนินการสุ่มตัวอย่างทุเรียนเพื่อทดสอบสาร Basic Yellow 2 จำนวน 5 ผล ต่อ Shipment ก่อนส่งออก 3. การสนับสนุนการส่งออกทุเรียนไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน การประชุมนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบคุณภาพของทุเรียนสด ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก และรองรับการเติบโตของการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างยั่งยืน การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกรมวิชาการเกษตรในการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรไทยและสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าต่างประเทศ