ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาเกษตรอินทรีย์ของ สวพ. 2 จังหวัดสุโขทัย

วันที่ 17 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ชนิดพืชผักผสมผสาน ณ อำเภอศรีนคร จังหวัดสุโขทัย ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ของ สวพ. 2 จังหวัดอุตรดิตถ์

วันที่ 16 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ชนิดพืชทุเรียน ณ อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาเกษตรอินทรีย์ของ สวพ. 1 จังหวัดลำปาง

วันที่ 14 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาเกษตรอินทรีย์ ชนิดพืชผักผสมผสาน ณ อำเภอห้างฉัตร จังหวัดลำปาง ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

ตรวจคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ 2568 สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ของ สวพ. 1 จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 13 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ประธานคณะทำงานคัดเลือกเกษตรกรดีเด่นด้านการผลิตพืช และคณะทำงานฯ ลงพื้นที่พิจารณาคัดเลือกเกษตกรดีเด่นแห่งชาติ สาขาการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (GAP) ชนิดพืชทุเรียน ณ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ส่งเข้าประกวดโดยสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1

การเตรียมความพร้อมการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบสาร Basic yellow 2

วันที่ 16 มกราคม 2568 เวลา 13.30 – 17.00 น. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมหารือ เรื่อง การเตรียมความพร้อมการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบสาร Basic yellow 2 ผ่านระบบ zoom meeting ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 6 ผู้อำนวยการสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 7 เจ้าหน้าที่จากสำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1-8 เจ้าหน้าที่กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช รวมถึงห้องปฏิบัติการทดสอบสาร Basic yellow 2 จำนวน 6 แห่ง ได้แก่
1. บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสงขลา
2.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขากรุงเทพฯ
3.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาฉะเชิงเทรา
4.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาสมุทรสาคร
5.บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด สาขาเชียงใหม่
6.บริษัท ศูนย์ห้องปฏิบัติการและวิจัยทางการแพทย์และการเกษตรแห่งเอเซีย จำกัด (มหาชน)
โดยสามารถเริ่มดำเนินการสุ่มเก็บตัวอย่างทุเรียน เพื่อทดสอบ BY2 ตั้งแต่วันที่ 17 มกราคม 2568 ตามมาตรการเข้มงวดในการนำเข้าทุเรียนของสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยอธิบดีกรมวิชาการเกษตร เน้นย้ำขอความร่วมใจ ร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อ Set Zero ในแก้ไขปัญหาการปนเปื้อนสารห้ามใช้ ด้วยมาตรการ 4 ไม่ “ไม่อ่อน ไม่หนอน ไม่สวมสิทธิ์ ไม่มีสีไม่มีสาร” เพื่อให้การส่งออกทุเรียนไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน ของประเทศไทยกลับมาดำเนินการได้

การประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดเพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 14 มกราคม 2568 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในการประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับการทดสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดเพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมี ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายเสกสรร วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช พร้อมด้วยผู้แทนจากห้องปฏิบัติการเอกชนที่ได้รับการยอมรับความสามารถจากกรมวิชาการเกษตร และผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมกองแผนงาน ชั้น 3 ตึกกสิกรรม กรมวิชาการเกษตร และช่องทางอออนไลน์ ประเด็นสำคัญของการประชุม: 1. ความพร้อมของห้องปฏิบัติการในทดสอบสาร Basic Yellow 2 ในทุเรียนสดเพื่อการส่งออกไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน ปัจจุบันมีห้องปฏิบัติการที่สามารถดำเนินการทดสอบสาร Basic Yellow 2 ได้จำนวน 6 ห้องปฏิบัติการ และอยู่ระหว่างการเตรียมความพร้อมเพิ่มเติมอีก 18 ห้องปฏิบัติการ รวมทั้งสิ้น 24 ห้องปฏิบัติการ 2. กระบวนการสุ่มตัวอย่างทุเรียนสด ต้องดำเนินการสุ่มตัวอย่างทุเรียนเพื่อทดสอบสาร Basic Yellow 2 จำนวน 5 ผล ต่อ Shipment ก่อนส่งออก 3. การสนับสนุนการส่งออกทุเรียนไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน การประชุมนี้มีเป้าหมายเพื่อยกระดับความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบคุณภาพของทุเรียนสด ส่งเสริมภาพลักษณ์ของสินค้าเกษตรไทยในตลาดโลก และรองรับการเติบโตของการส่งออกสินค้าเกษตรไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีน อย่างยั่งยืน การประชุมครั้งนี้แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของกรมวิชาการเกษตรในการยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรไทยและสร้างความมั่นใจให้กับคู่ค้าต่างประเทศ

การประชุมติดตามการขับเคลื่อนแผนบูรณาการการควบคุม กำกับ ดูแลความปลอดภัยของสินค้าเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐาน

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มกราคม 2568 เวลา 13.00 น. นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมติดตามการขับเคลื่อนแผนบูรณาการการควบคุม กำกับ ดูแลความปลอดภัยของสินค้าเกษตรที่ไม่ได้มาตรฐาน ร่วมกับสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 – 8 และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ เพื่อรายงานผลการตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีได้รับการแจ้งเตือนตรวจพบการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนผลสดส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน และกรณีพบสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ตกค้างในลำไยสดเกินค่ามาตรฐานของสาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมทั้งร่วมกันพิจารณาแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาการตรวจพบการปนเปื้อนแคดเมียมในทุเรียนและแนวทางการแก้ไขปัญหาการตรวจพบสารตกค้างของสารซัลเฟอร์ไดออกไซด์ในลำไยส่งออกไปจีน และมาตรการควบคุมการปนเปื้อนสารห้ามใช้ในทุเรียนผลสดส่งออกไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

การประชุมสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการเกษตรด้วยระบบการผลิตพืชที่มีคุณภาพ

เมื่อวันที่ 9 มกราคม 2568 นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานการประชุมสนับสนุนการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภาคการเกษตรด้วยระบบการผลิตพืชที่มีคุณภาพ โดยมี ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร และนายเสกสรรค์ วรรณกรี พร้อมด้วย คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจาก สวพ.1 – 8 ณ ห้องประชุมใหญ่ ชั้น 2 อาคารศูนย์ปฏิบัติการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี กรมวิชาการเกษตร หัวข้อการประชุมเกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน เพื่อสนับสนุนและบูรณาการของหน่วยงานด้านการตรวจรับรองมาตรฐานการผลิตพืช กมพ.และ สวพ. 1 – 8 ประกอบด้วย การจัดสรรงบประมาณในปี พ.ศ. 2568 การถ่ายโอนภารกิจ ปัญหาการถูกการแจ้งเตือนจากประเทศคู่ค้าด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชสำหรับสินค้าเกษตร การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สารวัตรผู้ตรวจประเมินโรงงานผลิตสินค้าพืช (GMP) และระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability System) ที่กรมวิชาการเกษตรกำลังดำเนินการ

การประชุม คณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ครั้งที่ ๑/๒๕๖๘

ในวันพุธที่ 8 มกราคม 2568 นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นผู้แทน กรมวิชาการเกษตร เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเกษตรกร สถาบันเกษตรกรและสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติครั้งที่ 1/2568 โดยมี นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในการประชุม ร่วมกับกรมการข้าว กรมชลประทาน กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมหม่อนไหม สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม และสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เพื่อเตรียมความพร้อมในการดำเนินการคัดเลือกเกษตรกร บุคคลทางการเกษตร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ที่มีผลงานดีเด่น ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการคัดเลือกฯ เป็นประจำทุกปี เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูเกียรติแก่เกษตรกร บุคคลทางการเกษตร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ ที่มีผลงานดีเด่นให้เป็นที่ปรากฏต่อสาธารณะ โดยการประชุมครั้งนี้ เป็นการประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการคัดเลือก เกษตรกร สถาบันเกษตรกร และสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เวลา 09.30 – 12.00 น. ณ ห้องประชุม 134 ชั้น 3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

การประชุมคณะกรรมการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๗

วันที่ ๑๘ ธันวาคม ๒๕๖๗ นายเสกสรรค์ วรรณกรี ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุม กำกับ ดูแลห้องปฏิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช ครั้งที่ ๑๓/๒๕๖๗ ประเด็นการหารือเพื่อพิจารณาผลการตรวจติดตามและประเมินห้องปฎิบัติการทดสอบสินค้าเกษตรและอาหารด้านพืช จำนวน ๑ แห่ง ผลการตรวจติดตามและประเมินบริษัทที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ จำนวน ๓ ครั้ง พิจารณาการต่ออายุหนังสือสำคัญแสดงการขึ้นทะเบียนเป็นผู้สุ่มเก็บตัวอย่างพืชควบคุมเฉพาะ จำนวน ๑ ราย