ประกาศแจ้งผู้ส่งออกพืชผักผลไม้ และสินค้าอาหารด้านพืชเกี่ยวกับมาตรการ SPS/TBT

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ขอแจ้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า (TBT) ของประเทศต่างๆ ที่สำ คัญที่แจ้งผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) เดือนกันยายน 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนี้

SPS_TBT เดือนกันยายน 2567 DOWNLOAD

ประกาศแจ้งผู้ส่งออกพืชผักผลไม้ และสินค้าอาหารด้านพืชเกี่ยวกับมาตรการ SPS/TBT

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ขอแจ้งมาตรการด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า (TBT) ของประเทศต่างๆ ที่สำ คัญที่แจ้งผ่านองค์การการค้าโลก (WTO) เดือนสิงหาคม 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนี้

SPS_TBT เดือนสิงหาคม 2567 DOWNLOAD

SPS/TBT เดือนกรกฎาคม เรื่องประกาศแจ้งผู้ส่งออกพืชผักผลไม้ และสินค้าอาหารด้านพืชเกี่ยวกับมาตรการ SPS/TBT

กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร ขอแจ้งมาตรการด้านสุขอนามัย และสุขอนามัยพืช (SPS) และมาตรการที่เป็นอุปสรรคทางการค้า (TBT) ของประเทศต่างๆ ที่สำคัญ ที่แจ้งผ่าน องค์การการค้าโลก (WTO) เดือนกรกฎาคม 2567 ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้ว ดังนี้
SPS_TBT เดือนกรกฎาคม 2567

 

การขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้สดส่งออกจากไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

การขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้สดส่งออกจากไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

ประชาสัมพันธ์แจ้งเงื่อนไขในการส่งออกผลไม้สดจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนทางบก

เส้นทางในการส่งออกผลไม้สดจากประเทศไทยไปยังสาธารณรัฐประชาชนจีนสามารถดำเนินการได้ทั้งทางบก น้ำ และอากาศ โดยเมื่อต้นปี 2566 ที่ผ่านมาหลังจากมีการเปิดเส้นทางขนส่งด้วยรถไฟความเร็วสูงจีน-สปป.ลาว เพิ่มเติมจากการขนส่งโดยรถยนต์เท่านั้น ในเส้นทางบกส่งผลให้การส่งออกผลไม้สดของไทยมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว นอกจากนี้เมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2566 ที่ผ่านมา ไทยและจีนมีการเพิ่มเติมชนิดของผลไม้สดของไทยที่ให้แลกเปลี่ยนทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุอีก 9 ชนิด รวมเป็น 22 ชนิด โดยรายละเอียดสำหรับผู้ประกอบการที่ประสงค์จะส่งออกผลไม้สดของไทยไปจีนทางบก จะต้องปฏิบัติดังนี้

U.S. FDA แจ้งสิ้นสุดการใช้ “UNK” แทนหมายเลขสถานประกอบการในเอกสารนำเข้าสินค้า

          กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก ฝ่ายเกษตร ประจำกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เกี่ยวกับระเบียบโปรแกรมการตรวจทวนสอบผู้จัดหาสินค้า
ในต่างประเทศ (Foreign Supplier Verification Program: FSVP) และการยื่นหมายเลขสถานประกอบการในเอกสารนำเข้าอาหาร 

สหภาพยุโรปปรับแก้กฎระเบียบด้านการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราวและการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม

กรมวิชาการเกษตรได้รับแจ้งจาก สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป เกี่ยวกับ คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออกประกาศ Commission implementing regulation (EU) 2022/913 ว่าด้วย การปรับแก้ไข Commission Implementing regulation (EU) 2019/1793 ในการเพิ่มการตรวจสอบควบคุมชั่วคราว และการปรับใช้มาตรการฉุกเฉินกับสินค้าที่นำเข้าจากประเทศที่สาม ภายใต้ Regulation (EU) 2017/625 และ Regulation (EC) No 178/2002

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ยาสัตว์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ในประเทศญี่ปุ่น (The 248th Conference for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีทางการเกษตร ยาสัตว์และสารปรุงแต่งอาหารสัตว์ รวม ๙ รายการ รวมทั้งแจ้งกำหนดวันปิดรับข้อมูลเกี่ยวภาชนะบรรจุอาหารที่ทำจากพลาสติกที่มีการผลิต จำหน่าย นำเข้าและใช้มาก่อนวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๖๕ และประสงค์จะขึ้นทะเบียนในระบบการควบคุมความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร (Positive List) ตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น  รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณะสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณที่บังคับใช้อยู่ ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาได้ตามความสะดวก (Based on Application) แม้จะประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 248th Materials for Promotion of Food Import Facilitation

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารในประเทศญี่ปุ่น (The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation)

กรมวิชาการเกษตร ได้รับแจ้งจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง กระทรวงสาธารณสุข แรงงาน และสวัสดิการญี่ปุ่น ได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งตามพระราชบัญญัติสุขอนามัยอาหารญี่ปุ่น The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation รายละเอียดดังที่ปรากฏในเอกสารแนบ ทั้งนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยสามารถติดต่อ ขอความร่วมมือกระทรวงสาธารณะสุขฯ ญี่ปุ่น พิจารณาแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างญี่ปุ่นให้สอดคล้องกับปริมาณ     ที่บังคับใช้อยู่ในประเทศไทย โดยการนำเสนอข้อมูลด้านวิชาการสนับสนุนประกอบการพิจารณาของกระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นได้ตามความพร้อมและความสะดวก (Based on Application) แม้ว่าจะมีการประกาศใช้มาตรฐานใหม่ในญี่ปุ่นแล้ว

เอกสารแนบ : The 247th Materials for Promotion of Food Import Facilitation