กระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มสาร Triazophos ในพริก

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มตรวจสาร Triazophos ในพริกสดและผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างง่ายนำเข้าจากประเทศไทย  เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 18 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป รายละเอียดตามเอกสารแนบ

กระทรวงสาธารณสุขฯญี่ปุ่นปรับระดับการสุ่มสาร Triazophos ในพริก

ขอให้เพิ่มความเข้มงวดในการใช้สารเคมีในพริก สำหรับส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นจะปรับระดับการสุ่มพริกและผลิตภัณฑ์แปรรูปอย่างง่ายนำเข้าจากประเทศไทย  เนื่องจากการตรวจพบสารเคมี Triazophos ตกค้างเกินค่ามาตรฐาน ในพริกแดงแช่แข็ง ดังนั้น กมพ. ขอให้ผู้ส่งออกเพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมการใช้สารเคมีกับเกษตรกร และทำการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้างในผลผลิตก่อนการส่งออกทุกครั้ง  รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ขอให้เพิ่มความเข้มงวดในการใช้สารเคมีในพริก

การประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 6

          เมื่อวันที่ 23 – 24 กันยายน 2564 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้เข้าร่วมการประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 6 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อหารือแนวทางการดำเนินงานภายใต้ความตกลงยอมรับร่วม สาขาผลิตภัณฑ์อาหาร (MRA on PF) ของอาเซียน โดยมีคณะทำงานจากหน่วยงานของไทย เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.)
          โดยมีนางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร ทำหน้าที่หัวหน้าคณะทำงานในการเข้าร่วมการประชุมแทน พร้อมด้วยนางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ที่ปรึกษา มกอช. นางสาวยุพา เหล่าจินดาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักกำหนดมาตรฐาน นางศศิวิมล ทับแย้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยพืช นายพิทักษ์ ชายสม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์ นางสาวณมาพร อัตถวิโรจน์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ และนางสาวมินตรา ลักขณา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ
          การประชุมดังกล่าวมีการหารือเกี่ยวกับโปรแกรมการอบรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญ แผนงาน และงานเบื้องต้นในการเริ่มแจ้งความพร้อมการเข้าร่วม MRA on PF ซึ่งประเทศไทยได้เสนอหัวข้อการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับสร้างขีดความสามารถในการสนับสนุนการงานด้านระบบการตรวจสอบและการให้การรับรองด้านสุขลักษณะอาหารของผลิตภัณฑ์อาหารสำเร็จรูป เพื่อให้ประเทศสมาชิกสามารถดำเนินงาน ตาม MRA on PF ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

การฝึกอบรม “เทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ”

          เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช เป็นประธานเปิดการฝึกอบรม เรื่อง “เทคนิคการคัดเกรดเมล็ดกาแฟทางกายภาพ” ภายใต้โครงการ “การจัดลำดับชั้นคุณภาพเมล็ดกาแฟทางกายภาพ” ผ่านช่องทางออนไลน์ ( Video Zoom) โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ เกษตรกร กลุ่มสหกรณ์ เจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรตาก และศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร รวมถึงผู้ที่สนใจเข้าร่วมฝึกอบรมในครั้งนี้ ได้แก่ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรที่สูงเชียงราย ศูนย์วิจัยพืชสวนเลย ศูนย์วิจัยเกษตรที่สูงเพชรบูรณ์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรสตูล และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น
          การฝึกอบรมในครั้งนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ การจัดทำตัวชี้วัดระดับความสำเร็จของการนำผลงานวิจัยสู่กลุ่มเป้าหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตร ประจำปีงบประมาณ 2564 ของกรมวิชาการเกษตร

ขอแจ้งสถานที่ให้บริการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019

ตามที่สถานะการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ดังนั้น กมพ. ขอแจ้งผู้รับบริการงานจดทะเบียนผู้ส่งออกและงานออกใบรับรองสุขอนามัย (Health Certificate) สำหรับผักผลไม้สดและสินค้าเกษตรแปรรูปด้านพืช ทราบว่า ตั้งแต่ วันจันทร์ ที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นต้นไป กมพ. จะปิดสถานที่ให้บริการบริเวณห้องกลุ่มจดทะเบียนและออกใบรับรอง ชั้น 2 อาคารกองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลแปรรรูป (กวป.) และจัดตั้งสถานที่ให้บริเวณทางเข้าอาคาร กวป. จนกว่าจะมีการเปลี่ยแปลงเป็นอย่างอื่น รายละเอียดตามเอกสารแนบ

หนังสือแจ้งสถานที่ให้บริการในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 2019

จีนตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุมะพร้าว ส่งออกไปจีน


          เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 กรมวิชาการเกษตร โดย กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช (กมพ.) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 5 (สวพ.5) สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 2 (สวพ.2) สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร (สคว.) และสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช (สอพ.) รับการตรวจประเมินสวนและโรงคัดบรรจุมะพร้าว ส่งออกไปจีน ผ่านช่องทางการตรวจประเมินระยะไกล (Remote Audit) Video Zoom
          ซึ่งจีนได้ตรวจประเมินสวนมะพร้าว จำนวน 3 สวน ได้แก่ สวนของนางสาวปราณี ประสูตร์แสงจันทร์ สวนของบริษัทซีพี แพลนท์ จำกัด (ฟาร์มพรานกระต่าย) และสวนของนายพิเชษฐ์ อยู่แก้ว
          โรงคัดบรรจุมะพร้าว จำนวน 3 โรง ได้แก่ โรงคัดบรรจุของบริษัท โนรี ฟรุ๊ต (ประเทศไทย) จำกัด โรงคัดบรรจุของบริษัท เอ็นซี โคโคนัท จำกัด และโรงคัดบรรจุของบริษัท ซีพี เนเจอร์ จำกัด
          เพื่อประเมินการจัดการศัตรูพืช ความปลอดภัย รวมถึงมาตรการป้องกันการปนเปื้อนโควิด (Covid 19) ในสินค้ามะพร้าวส่งออกไปจีน ทั้งนี้จีนมีกำหนดการตรวจประเมินผลไม้ส่งออกไปจีน 4 ชนิด ได้แก่ มะพร้าว มังคุด ทุเรียน และลำไย ระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน 2564 – 7 กรกฎาคม 2564 ซึ่งการตรวจประเมิน มังคุด ทุเรียน และลำไย มีกำหนดการตรวจประเมิน ระหว่างวันที่ 2 – 7 กรกฎาคม 2564

แจ้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบใบรับรองการส่งออกมะม่วงภายใต้โครงการการจัดการสารเคมีในผักผลไม้ เพื่อการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control Measures)

เนื่องด้วยใบรับรองการส่งออกมะม่วงภายใต้โครงการการจัดการสารเคมีในผักผลไม้ เพื่อการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control Measures) เจ้าหน้าที่ด่านนำเข้าประเทศญี่ปุ่นมีความเข้าใจคลาดเคลื่อน ในรูปแบบใบรับรองสุขอนามัย ( Health Certificate) บ่อยครั้ง กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช  จึงพิจารณาปรับเปลี่ยนรูปแบบใบรับรองประกอบการส่งออกมะม่วงภายใต้โครงการฯ โดยให้มีผลในใบรับรองฯ ที่ออกให้ (Issue date) ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2564 รายะเอียดตามแนบ

หนังสือแจ้งเปลี่ยนแปลงรูปแบบใบรับรองการส่งออกมะม่วงภายใต้โครงการการจัดการสารเคมีในผักผลไม้ เพื่อการส่งออกไปประเทศญี่ปุ่น (Control Measures)

หากมีข้อสงสัยประการใด สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ที่เบอร์ 02-5796133 หรือกลุ่มไลน์ผู้ส่งออก Control Measures

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น แก้ไขมาตรฐานสาร Chlorpyrifos

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ปรับแก้ไขมาตรฐานสาร Chlorpyrifos บางพืชที่ส่งไปประเทศญี่ปุ่น  โดยออกประกาศเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม 2564 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป  รายละเอียดตามเอกสารแนบ

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น แก้ไขมาตรฐานสาร Chlorpyrifos

คณะกรรมาธิการยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพริก

คณะกรรมาธิการยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชตกค้างที่ระดับร้อยละ 20 (จากเดิมร้อยละ 10 ) ในพริก (Capsicum) ที่ไม่ใช่พริกหวานจากไทย (สด แช่เย็น และแช่แข็ง) ซึ่งกฎระเบียบดังกล่าวจะมีผลบังคับใช้ 20 วัน หลังจากประกาศใน EU  Official Journal  (ประกาศ ณ วันที่ 15 เมษายน 2564) เป็นต้นไป และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมการใช้สารกำจัดศัตรูพืชตกค้างอย่างเคร่งครัด รายละเอียดตามเอกสารแนบ

คณะกรรมาธิการยุโรปเพิ่มความเข้มงวดในการตรวจสอบสารกำจัดศัตรูพืชตกต้างในพริก

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ปรับระดับการตรวจสารเคมีตกค้างในถั่วหวานและถั่วลันเตา

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นจะปรับระดับการสุ่มตรวจสารเคมีตกค้าง Diniconazole, Flusilazole และ Hexaconazole  ในถั่วหวานและถั่วลันเตา เพิ่มเป็นร้อยละ 30 ตั้งแต่วันที่ 30 เม.ย. 2564 เป็นต้นไป และขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการควบคุมการใช้สารเคมีอย่างเคร่งครัด รายละเอียดตามเอกสารแนบ

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่น ปรับระดับการตรวจสารเคมีตกค้างในถั่วหวานและถั่วลันเตา