กำหนดรหัสในการใช้และแสดงเครื่องหมายในการรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน

นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า พร้อมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งออกผลไม้ไปจีน ผ่านระบบซูม กับอัครราชทูต ที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการวางแนวปฏิบัติการเปลี่ยนรหัสรับรองรูปแบบใหม่สำหรับสินค้าผลไม้ที่ส่งออกไปจีน ให้สอดคล้องกับประกาศของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เรื่อง กำหนดรหัสในการใช้และแสดงเครื่องหมายในการรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน

โดยการส่งรายชื่อสวนผลไม้ส่งออกไปจีนรอบต่อไปกำหนดไว้ในช่วงต้นเดือนธันวาคม 2565 ซึ่งกรณีแปลงใหม่ที่ยื่นขอรับรองแปลง GAP และแปลงเก่าที่ขอยื่นต่ออายุ GAP ไปแล้วนั้น กรมได้เปลี่ยนรหัสให้เป็นรูปแบบใหม่ทั้งหมดแล้ว ส่วนแปลงเก่าที่ GAP ยังไม่หมดอายุ เกษตรกรสามารถติดต่อมายัง สวพ. ในพื้นที่ใกล้บ้าน เพื่อยื่นขอเปลี่ยนเป็นรหัสรูปแบบใหม่ได้แล้ว ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปจนถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565
“กรมวิชาการเกษตรจะเดินหน้าปรับรหัสใหม่ตามที่ มกอช. ออกประกาศภายในกรอบเวลาที่กำหนด เนื่องจากกรมเห็นว่าเป็นโอกาสดี ที่จะได้ปรับปรุงระบบให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น รองรับฤดูส่งออกผลไม้ใหม่ทั้งทุเรียนและลำไยที่จะเริ่ม ก.พ. ปีถัดไป โดยกรมได้วางแผนรับมือไว้แล้ว และจะเร่งประสานกับทูตเกษตรปักกิ่งเพื่อทำความเข้าใจกับฝ่ายจีนโดยเร็วต่อไป เพื่อมิให้เกิดผลกระทบกับการส่งออก
ทั้งนี้ ในโอกาสที่จะปรับรหัสสวนใหม่ ได้มอบนโยบายให้ กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ในการนำเครื่องหมายคิวอาร์โค้ดไปใส่ไว้ในใบรับรองแปลง GAP ใหม่นี้ด้วย เพื่อป้องกันการสวมสิทธิ์ และนอกจากนี้สั่งการให้ทุกด่านตรวจพืชเข้มงวดในการตรวจทุเรียนส่งออก หากพบเจ้าหน้าที่กระทำไม่ถูกต้อง “พิจารณาลงโทษตามกฏระเบียบราชการ” ทันที กรณีเอกชนรายใดมีประวัติว่าเคยพบการเตรียมส่งทุเรียนด้อยคุณภาพ ให้ตรวจสอบ 100% ทั้งต้นทาง และปลายทาง ก่อนออกนอกประเทศ” อธิบดีกรมวิชาการเกษตรกล่าว

ขอเชิญร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “การขนส่งสินค้าทางเรือและโอกาสการค้าผลไม้สดในภาคเหนือของจีน”

ด้วยสถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองซิงต่าว ร่วมกับ Shandong Port Group มีกำหนดจัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ หัวข้อ “การขนส่งสินค้าทางเรือและโอกาสการค้าผลไม้สดในภาคเหนือของจีน” โดยมีวั๖ถุประสงค์ในการให้ข้อมูลด้านโลจิสติกส์ทางเรือ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของผู้ประกอบการไทยในการเข้าถึงตลาดในบริเวณภาคเหนือของจีน โดยเฉพาะบริเวณมณฑลซานตง รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับนโยบาย กฎระเบียบ และแนวทางปฎิบัติของจีนที่จำเป็นในวันพฤหัสบดีที่ 22 กันยายน 2565 เวลา 13.30 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) ผ่านระบบการปรุชุมออนไลน์ Zoom Meeting ดังปรากฎใน QR Code ดังนั้นจึงขอเชิญผู้ที่สนใจเข้าร่วมรับฟังตามวันเวลาดังกล่าว

การประชุมติดตามและแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้

วันที่ 14 กันยายน 2565 นายพิทวัฒน์ อ่อนทองหลาง ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ร่วมประชุมกับรองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร นายภัสชญภณ หมื่นแจ้ง และด่านตรวจพืช ของสำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร ในการประชุมคณะทำงานติดตามและแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้ครั้งที่ 2/2565 ณ ห้องประชุม 201 ตึกกสิกรรมและผ่านระบบ Video Conference

           

มกอช.ร่วมกับ กวก. เร่งแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้สดจากไทยไปยังจีน

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) และกรมวิชาการเกษตร ร่วมการประชุมผู้เชี่ยวชาญด้านการกักกันพืช (Export Consultation Meeting on Plant Quarantine) ระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงานศุลกากรแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน (GACC) ผ่านระบบ ZOOM Cloud Meetings โดยมี นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นหัวหน้าผู้แทนฝ่ายไทย และสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) โดยกองนโยบายมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารเป็นฝ่ายเลขานุการการประชุม เมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2565

นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เปิดเผยว่า การประชุมครั้งนี้ มุ่งเน้นถึงเรื่องการหารือประเด็นความร่วมมือด้านการค้าสินค้าพืชระหว่างไทย-จีน และการแก้ไขปัญหาการส่งออกผลไม้สดจากไทยไปยังจีน

โดยฝ่ายไทย ได้เร่งรัดให้ฝ่ายจีนเปิดด่านนำเข้าทางบกที่ยังไม่พร้อมรองรับการนำเข้าผลไม้จากไทย จำนวน 6 ด่าน โดยเฉพาะด่านรถไฟโม่ฮาน ตามที่ระบุในพิธีสารว่าด้วยข้อกำหนดในการกักกันโรคและตรวจสอบสำหรับการส่งออกและนำเข้าผลไม้ผ่านประเทศที่สามระหว่างไทยและจีน เพื่อให้ผู้ส่งออกผลไม้ไทยสามารถใช้ประโยชน์ได้โดยเร็ว รวมถึงนำเสนอเส้นทางผสม (Hybrid) จากด่านทางบกของไทย (มุกดาหาร นครพนม หรือบึงกาฬ) ผ่านท่าเรือเวียดนามเพื่อไปยังท่าเรือซินโจวของจีน และมาตรการควบคุมผลไม้ที่ขนส่งบนเส้นทางดังกล่าว ซึ่งฝ่ายจีนได้เห็นชอบในหลักการให้เป็นเส้นทางการส่งออกชั่วคราวเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ประกอบการไทยในช่วงที่การจราจรทางบกแออัด โดยทั้งสองฝ่ายจะต้องดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันให้เส้นทางที่ฝ่ายไทยเสนอสามารถใช้ได้จริงเพื่อรองรับการส่งออกในช่วงฤดูผลไม้ต่อไป

นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ติดตามความคืบหน้าการเปิดตลาดเสาวรส สละ และอินทผลัมส่งออกไปยังจีน โดยฝ่ายจีนจะเร่งดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องให้ฝ่ายไทยต่อไป เลขาธิการ มกอช. กล่าว…..

สหราชอาณาจักรแจ้งการปรับแก้มาตรการสุ่มตรวจสอบควบคุมสินค้าพริก และใบพลู ที่นำเข้าจากประเทศไทย

สหราชอาณาจักรแจ้งการปรับแก้มาตรการสุ่มตรวจสอบควบคุมสินค้าพริก และใบพลู ที่นำเข้าจากประเทศไทย โดยรายละเอียดศึกษาได้ ดังนี้

ประชาสัมพันธ์พริก และใบพลูส่ง UK

Amendments to Retained Regulation 20191793 Controls Applied to Imported Food and Feed not of Animal Origin

Imported Food Consultation – Regulation 2019.1793

การปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารญี่ปุ่น

รายละเอียดการปรับปรุงแก้ไขมาตรฐานสารเคมีตกค้างและสารปรุงแต่งอาหารญี่ปุ่น

เชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การเข้าร่วมโครงการ Preclearance เพื่อส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกา”

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงวอชิงตัน ดี. ซี. ขอเชิญชวนผู้สนใจเข้าร่วมการสัมมนาออนไลน์ ในหัวข้อ “การเข้าร่วมโครงการ Preclearance เพื่อส่งออกผลไม้ไปยังสหรัฐอเมริกา” ในวันพุธที่ 16 มีนาคม 2565 เวลา 09.00 – 11.00 น (เวลาประเทศไทย) โดยได้รับเกียรติจาก นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นผู้กล่าวเปิดการสัมมนา วิทยากรประกอบด้วยเจ้าหน้าที่จากกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA APHIS) บริษัท Agri Active (Cooperator) และกงสุล (ฝ่ายเกษตร) ประจำสถานกงสุลใหญ่ ณ นครลอสแอนเจลิส เมื่อลงทะเบียนแล้ว จะส่ง Zoom Meeting Link ไปยังอีเมล์ตามที่ผู้ลงทะเบียนได้ระบุไว้

สามารถลงทะเบียนได้ที่ Link นี้ : https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLScuHEyXKAdyAmi9azbcvnaWrAerh8uYgNAhrCZkwabAwPb0ow/viewform

การประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 7

          เมื่อวันที่ 24-25 กุมภาพันธ์ 2565 นางสาวปรียานุช ทิพยะวัฒน์ ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช กรมวิชาการเกษตร
เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย (Head of delegates) เข้าร่วมประชุม Joint Sectoral Committee on MRA for Inspection and Certification Systems on Food Hygiene for Prepared Foodstuff Products (JSC MRA on PF) ครั้งที่ 7 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ร่วมด้วยคณะทำงานจากหน่วยงานต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ ได้แก่ ผู้แทนกรมวิชาการเกษตร ผู้แทนกรมประมง ผู้แทนกรมปศุสัตว์ ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) และผู้แทนสำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (สมอ.) พร้อมด้วยนางสาวเมทนี สุคนธรักษ์ ที่ปรึกษา มกอช. นางสาวยุพา เหล่าจินดาพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักกำหนดมาตรฐาน นางศศิวิมล ทับแย้ม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยพืช นายพิทักษ์ ชายสม ผู้เชี่ยวชาญด้านมาตรฐานสุขอนามัยสัตว์ นางสาวณมาพร อัตถวิโรจน์ นักวิชาการมาตรฐานชำนาญการพิเศษ และนางสาวมินตรา ลักขณา นายสัตวแพทย์ชำนาญการพิเศษ

          การประชุมครั้งนี้ได้มีการหารือเกี่ยวกับการแจ้งความพร้อมในการเข้าร่วมความตกลงยอมรับร่วมสาขาผลิตภัณฑ์อาหาร (MRA on PF) ของอาเซียน แผนการทำงานและสร้างขีดความสามารถในการสนับสนุนการทำงาน โดยประเทศไทยได้เสนอให้มีการปรับปรุงโปรแกรมการอบรมสำหรับผู้เชี่ยวชาญของอาเซียน เพื่อให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถตรวจประเมินความสอดคล้องของระบบงานภายใต้ MRA on PF ได้อย่างมีประสิทธิภาพตลอดกระบวนการตรวจประเมิน

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น

สำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว แจ้งว่า หน่วยงานกักกันพืชญี่ปุ่นแจ้งระงับการส่งออกมะม่วงเวียดนามไปยังประเทศญี่ปุ่น ด้วยมะม่วงที่นำเข้าจากประเทศเวียดนามเป็นสายพันธ์ุอื่นซึ่งไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้า ดังนั้น กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ขอแจ้งให้ผู้ส่งออกเพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น รายละเอียดตามเอกสารแนบ

ขอให้เพิ่มความระมัดระวังในการส่งออกสินค้าเกษตรที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดไปญี่ปุ่น