การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗

เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๕๖๗ นางพัจนา สุภาสูย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาระบบตรวจสอบคุณภาพสินค้าเป็นประธาน การประชุมคณะกรรมการวิจัยและพัฒนากองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ครั้งที่ ๑/๒๕๖๗ ณ ห้องประชุม เอ ชั้น ๒ อาคาร กวป. เพื่อพิจารณาการจัดทำแผนปฏิบัติงานโครงการวิจัยพร้อมงบประมาณ (ว-๑ สกสว.) ประจำปี ๒๕๖๘ ข้อเสนอโครงการวิจัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๙ ภายใต้แผนงานวิจัยและพัฒนาระบบควบคุม กำกับ การตรวจรับรองคุณภาพและความปลอดภัยสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก และพิจารณาข้อเสนอโครงการวิจัย เรื่อง การจัดทำแอปพลิเคชันเพื่อตรวจสอบย้อนกลับผลทุเรียน เพื่อเสนอของบประมาณจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน)

ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Pyridaben และ Hexaconazole ในใบเตยที่นำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Pyridaben และ Hexaconazole ในใบเตยที่นำเข้าจากประเทศไทย นั้น

การรับฟังความคิดเห็นต่อ “ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง มาตรการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง (PM 2.5 Free Plus)”

ปัญหาฝุ่นควันที่ทวีความรุนแรงมากขึ้น ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากการเผาในพื้นที่ป่าและพื้นที่ที่มีการปลูกพืชในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน การเผาส่วนใหญ่เกิดในพื้นที่ปลูกข้าวโพด การแก้ปัญหาฝุ่นควัน โดยเฉพาะ PM 2.5 จึงถือเป็นปัญหาเร่งด่วนที่กรมวิชาการเกษตร จะสามารถมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาดังกล่าวได้ จึงกำหนด “มาตรการมาตรการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง (PM 2.5 Free Plus)” ซึ่งรายการตรวจประเมินตามมาตรการลดปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกระบวนการผลิตข้าวโพดเมล็ดแห้ง (PM 2.5 Free Plus) เป็นรายการตรวจประเมินเพิ่มเติม (Plus) จากมาตรฐานสินค้าเกษตร การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับข้าวโพดเมล็ดแห้ง (มกษ. 4402) เพื่อให้การตรวจประเมินครอบคลุมขั้นตอนที่มีความเสี่ยงต่อการเผาในกระบวนการปลูกข้าวโพดเมล็ดแห้ง กรมวิชาการเกษตรจึงออกระเบียบไว้ ดังต่อไปนี้  “โปรดแสดงความคิดเห็นภายในวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2567”

การขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้สดส่งออกจากไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

การขึ้นทะเบียนสวนและโรงคัดบรรจุผลไม้สดส่งออกจากไทยไปสาธารณรัฐประชาชนจีน

ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Pirimiphos-methyl ในใบมะกรูดที่นำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Pirimiphos-methyl ในใบมะกรูดที่นำเข้าจากประเทศไทย นั้น

การขอรับการจัดสรรโควตากล้วยส่งออกประเทศญี่ปุ่น ปีที่ ๑๘

ตามที่กรมวิชาการเกษตรและกรมการค้าต่างประเทศ ได้จัดสรรโควตากล้วยส่งออกประเทศญี่ปุ่นภายใต้ข้อตกลง JTEPA (Japan-Thailand Economic Partnership Agreement) ปีที่ ๑๗ (ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๖ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๗) นั้น ขณะนี้ใกล้จะถึงเวลาของการพิจารณาจัดสรรโควตากล้วยจำนวน ๘,๐๐๐ ตัน ภายใต้กรอบ JTEPA ปีที่ ๑๘ (ระหว่างวันที่ ๑ เมษายน ๒๕๖๗ – ๓๑ มีนาคม ๒๕๖๘)

การรับฟังความคิดเห็นต่อ “ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลากและการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ พ.ศ. ๒๕xx”

การรับฟังความคิดเห็นต่อ “ระเบียบกรมวิชาการเกษตร ว่าด้วยการรับรองการผลิตพืชอินทรีย์ตามมาตรฐานสินค้าเกษตร เกษตรอินทรีย์ การผลิต การแปรรูป การแสดงฉลากและการจำหน่ายผลิตผลและผลิตภัณฑ์อินทรีย์ พ.ศ. ๒๕xx”

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การจัดสรรโควตาส่งออกกล้วยสดไปประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ปีที่ ๑๘

ประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง การจัดสรรโควตาส่งออกกล้วยสดไปประเทศญี่ปุ่น ภายใต้กรอบความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ปีที่ ๑๘  (วันที่ ๒๖ ธ.ค. ๒๕๖๖ เล่ม ๑๔๐ ตอนพิเศษ ๓๒๔ ง หน้า ๑๓)

กระทรวงสาธารณสุขฯ ญี่ปุ่นปรับลดระดับการสุ่มตรวจสาร Imidacloprid ในกล้วยนำเข้าจากประเทศไทย

ด้วยกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ได้รับหนังสือจากสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำกรุงโตเกียว เรื่อง ปรับระดับการส่มตรวจสาร Imidacloprid ในกล้วยนำเข้าจากประเทศไทย นั้น

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่

การจัดแสดงสินค้า International Green Week (IGW 2024)

ด้วยสถานเอกอัครราชฑูต ณ กรุงเบอร์ลิน (สอท. เบอร์ลิน) ได้แจ้งข้อมูล การจัดแสดงสินค้า International Green Week (IGW 2024) ซึ่งมีกำหนดจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 19-28 มกราคม 2567 ณ ศูนย์การประชุม City Cube Berlin ณ กรุงเบอร์ลิน โดย สอท. เบอร์ลิน มีแผนที่จะเข้าร่วมจัดคูหาประเทศไทย ภายใต้หัวข้อ “Local to Global” บนพื้นที่ประมาณ 150 ตารางเมตร ซึ่งจะสะท้อนยุทธศาสตร์ชาติ โดยเฉพาะประเด็นนโยบาย BCG Model โดย สอท. เบอร์ลินขอความอนุเคราะห์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประชาสัมพันธ์หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนที่มีความสนใจเปิดร้านในคูหาประเทศไทย หรือเข้าร่วมงานในห้วงระยะเวลาดังกล่าว ซึ่งจะเป็นโอกาสอันดีในการสร้างเครือข่ายกับภาคเอกชนของเยอรมนีเพื่อเปิดตลาดและต่อยอดธุรกิจต่อไป ทั้งนี้รายละเอียดสามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ตามเอกสารแนบ

อ่านรายละเอียดได้ที่นี่