1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. กรมวิชาการเกษตร ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ ผลผล…

กรมวิชาการเกษตร ส่งเจ้าหน้าที่ติดตามสถานการณ์ ผลผลิตเงาะไม่ได้คุณภาพจากการใช้สารเร่งสุกแก่

นายชูชาติวัฒนวรรณ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า ปัจจุบันเป็นช่วงเริ่มเก็บเกี่ยวผลเงาะ โดยเฉพาะเกษตรกร ในเขตพื้นที่อําเภอเมือง อําเภอเขาสมิง อําเภอบ่อไร่ จังหวัดตราด ซึ่งราคาเงาะในช่วงต้นฤดูมี การรับซื้อในราคาสูง ทําให้เกษตรกรมีการเร่งเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อให้ทันกับช่วงราคาดังกล่าว ส่งผลให้เกิดเงาะที่ ไม่ได้คุณภาพ ซึ่งกรมวิชาการเกษตร ไม่ได้นิ่งนอนใจ ลงพื้นที่ให้ความรู้เกษตรกร

โอกาสนี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้กําชับให้ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน พร้อมหน่วยงานในพื้นที่เข้าติดตามสถานการณ์ดังกล่าว ทั้งนี้ นายสมพร เหรียญรุ่งเรือง ผู้อํานวยการ ศูนย์วิจัยพืชสวนจันทบุรี ได้เข้าติดตามในพื้นที่ ต.นนทรี อ.บ่อไร่ จ.ตราด พบว่า มีการใช้สารควบคุมการ เจริญเติบโตกลุ่ม อีทีฟอน เพื่อเร่งให้ผลเงาะเป็นสีแดง โดยเฉพาะในระยะที่เงาะเริ่มเข้าสี เพื่อให้เงาะมีสีแดง สม่ําเสมอ แต่ได้มเีกษตรกรบางรายนํามาพ่นในระยะที่เนื้อของผลเงาะยังไม่พัฒนาเต็มที่ เพื่อที่จะเร่งให้สีเงาะ เปลี่ยนเป็นสีแดง และสามารถเร่งขายให้ทันในช่วงต้นฤดูกาลที่มีราคาสูง

ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตรไม่แนะนําให้ใช้สารเพื่อเร่งการสุกหรือ เร่งให้มีสีกับผลผลิตเงาะ เพราะหากมีการใช้ไม่ถูกต้องหรือผิดวิธีจะทําให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ ส่งผลกระทบต่อ ปลายทางหรือระบบตลาดได้ โดยเฉพาะในกรณีของ สารกลุ่มเอทธิลีน เช่น สารอีทีฟอน ที่สามารถเร่งการสุกของ ผลไม้ได้ หากมีการใช้ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง ทั้งปริมาณและช่วงเวลาที่ใช้ กล่าวคือต้องใช้ในปริมาณที่ เหมาะสม และระยะที่เนื้อผลมีการพัฒนาเต็มที่ หรือ ระยะที่ 3 ตามรูป หากมีการใช้มากเกินไปในช่วงที่ผลยัง ไม่มีความสมบูรณ์ทางสรีรวิทยา (ระยะที่ 1 -2) ถึงแม้จะทําให้ผิวเปลือกเปลี่ยนเป็นสีแดงได้ แต่เนื้อภายในจะ ยังไม่มีการพัฒนาจนสุกตามปกติ ทําให้ผลผลิตไม่ได้คุณภาพ

 

ท้ายนี้ ผู้อํานวยการสถาบันวิจัยพืชสวน ได้เร่งประสาน กรมส่งเสริมการเกษตร และหน่วยงานในพื้นที่ ร่วมกันรณรงค์ห้ามใช้สารเร่งสุกแก่ และให้สารวัตรเกษตร ไปย้ําเตือนผู้ขาย ร้านเคมีเกษตร ให้แนะนําวิธีการใช้ที่ ถูกต้องให้กับผู้ซื้อ เกษตรกร ห้ามใช้ผิดประเภท พร้อมกําชับเจ้าหน้าที่กรมวิชาการเกษตรในพื้นที่ตรวจสอบความ เข้มข้นสารตกค้าง ป้องกันอันตราย รักษาคุณภาพตลาด เน้นย้ําหลักการผลิตพืชตาม GAP ซึ่งเป็นหลักการผลิต ทางการเกษตรที่ดี ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อเป็นการรักษามาตรฐาน คุณภาพของผลไม้ไทย ให้เป็นที่ต้องการ ของผู้บริโภคและตลาด

 

#กรมวิชาการเกษตร#DOATOGETHER

#50ปีกรมวิชาการเกษตร

Related
แชท
Skip to content