เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2566 นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร และ ดร.พงศ์ไท ไทโยธิน รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร หารือ Mr. Tang Rixin รองประธานบริษัท Alibaba Cloud Computing จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Alibaba Group ยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์สของจีน พร้อมคณะ เรื่องการใช้เทคโนโลยี AI IoT พัฒนาเกษตรอัจฉริยะ การเพาะปลูก การจัดการแปลง การควบคุมคุณภาพ ระบบการจัดการการตรวจสอบผลผลิต และ การขยายฐานทางการตลาดให้กับผลไม้ไทยในจีน Alibaba Cloud Computing Co.,Ltd. เป็นบริษัทที่ให้บริการด้าน Cloud Computing ที่เปิดให้บริการทั่วโลก ในงานบริการด้านการเกษตร มีการใช้ AI ช่วยพัฒนาเกษตรอัจฉริยะ ด้วยการสร้าง knowledge system และ knowledge engine, ใช้เทคโนโลยี IoT (Internet of Thing) และ Remote Sensing พัฒนาการเพาะปลูก การจัดการแปลง และการเก็บเกี่ยวให้ได้มาตรฐาน (Standardization) รวมถึงใช้ Knowledge engine ช่วยเพิ่มความแม่นยำการใช้สารกำจัดศัตรูพืชในการป้องกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืช, ใช้เทคโนโลยี Remote Sensing ช่วยให้มีการตัดสินใจที่แม่นยำในการป้องกัน หรือบรรเทาภัยพิบัติที่เกิดจากสภาพอากาศที่ผิดปกติ สามารถปรับใช้กับการทำการเกษตรแบบ digital ในด้านการเพาะปลูก การจัดการแปลงได้ Alibaba มีการพัฒนาเทคโนโลยีด้านเกษตรอัจฉริยะที่หลากหลายในช่วงเวลาที่ผ่านมา ที่เชื่อมโยงกับพื้นที่แปลงปลูกของเกษตรกร ทั้งข้อมูลคุณภาพดิน คุณภาพน้ำ การวางแผนการใส่ปุ๋ย การใช้เทคโนโลยี Remote Sensing ในการแจ้งเตือนโรคและแมลงศัตรูพืช ซึ่งในขั้นแรก การดำเนินการเป็นไปด้วยความยากลำบาก ต้องนำข้อมูลที่บันทึกไว้ในช่วงเวลา 30-50 ปีที่ผ่านมามาทำเป็นข้อมูล digital มาปรับปรุงให้ทันสมัย ซึ่งข้อมูลดังกล่าวหลังจากแปลงเป็น digital แล้ว ทางการสามารถพยากรณ์การปลูกพืชในอีก 5-10 ปี ข้างหน้าได้ ซึ่งในอนาคตเกษตรกรจีนที่เคยมีหลายร้อยล้านคน จะลดจำนวนเหลือแค่หลายสิบล้านคน แต่ต้องผลิตอาหารให้ได้ปริมาณเท่าเดิม เพื่อเลี้ยงดูประชากรกว่า 1,300 ล้านคน ภายใต้นโยบาย food security ดังนั้น เทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยให้ เติมเต็มในส่วนนี้ ซึ่งเทคโนโลยี AI IoT ที่ Alibaba นำมาหารือกับกรมวิชาการเกษตรในวันนี้ จะสามารถนำไปพัฒนาโมเดลการผลิตพืชอัจฉริยะที่กรมวิชาการเกษตรได้ดำเนินการอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำสวนผลไม้อัตโนมัติ ที่จะทำให้ได้คุณภาพ ผลผลิต เพิ่มขึ้น ซึ่งก็อยากทำความร่วมมือในด้านเทคโนโลยีกับประเทศไทย ตลอดจนการค้าขายผลไม้ระหว่างประเทศ ที่ บริษัทได้ลงทุนพัฒนาด้านฐานข้อมูลในระบบ Supply Chain และระบบ Logistics เพื่อลดความสูญเสีย (Food lose) ของผลิตผล การรักษาคุณภาพสินค้า และบริหารจัดการในการเลือก Mode (ช่องทาง) ในการขนส่ง ได้อย่างเหมาะสมและรวดเร็ว โดยมุ่งเน้นการผลิตภายใต้ความต้องการของตลาด สอดคล้องกับกรมวิชาการเกษตรที่ต้องการมี platform หรือ application ที่ช่วยลดความสูญเสียผลิตผล และแก้ไขปัญหาคอขวดในการส่งออก เพื่อให้ผลไม้ไทยส่งออกไปจีนยังคงรักษาคุณภาพและความสดได้ โดยการใช้ AI, Application หรือ Platform ต่างๆ ในการดูแลผลผลิตตั้งแต่แหล่งปลูกที่มีคุณภาพ จนถึงผู้บริโภค Platform เหล่านี้ จะทำให้เกิดการกำหนดราคาสำหรับผู้บริโภคอย่างแม่นยำ และ เป็นการพัฒนาคุณภาพของการผลิตผลไม้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ทางบริษัทมีการเก็บข้อมูลการบริโภคผลไม้ของชาวจีน ซึ่ง Alibaba ยินดีสนับ สนุนข้อมูลให้กับประเทศไทยในโอกาสต่อไป









พัฒนาคุณภาพ ตลาด ผลไม้ไทยในสาธารณรัฐประชาชนจีน