Skip to content
  1. Home
  2. »
  3. ประชาสัมพันธ์
  4. »
  5. อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการ…

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ติดตามผลการดำเนินงาน โครงการสกัดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และการสนับสนุนพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ปี 2567/2568

นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เป็นประธานในการประชุมติดตามการดำเนินโครงการสกัดการระบาดของโรคแมลงศัตรูพืช เชื้อรา และการสนับสนุนพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ปี 2567/2568 โอกาสนี้ นางสาวจงรัก อิ่มใจ ผอ.สวพ.1 เข้าร่วมประชุมด้วย ณ ห้องประชุม 1 สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 1 ซึ่งการดำเนินงานประกอบด้วย 5 กิจกรรม ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 สกัดการระบาดของโรคและแมลงศัตรูพืชฉุกเฉินในพื้นที่ประสบอุทกภัยของส้มเขียวหวานและส้มโอ ดำเนินการสนับสนุนชีวภัณฑ์ ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม DOA-TH50 และบาซิลัส ซับทิลิส และสารเคมีกำจัดโรคพืช ได้แก่ แมนโคเซบ, คาร์เบนดาซิม, แมนโคเซบ+วาลิฟีนาเลท, ฟอสอีทิล  อะลูมิเนียม, เมทาแลกซิล และกรดฟอสโฟนิก สารปรับปรุงดิน รวมถึงการบริการบินโดรนในพื้นที่ปลูกส้มเขียวหวาน อ.ลอง และอ.วังชิ้น จ.แพร่ และพื้นที่ปลูกส้มโอ อ.เวียงแก่น จ.เชียงราย โดยมีเกษตรกรเป้าหมาย จำนวน 877 ราย ปริมาณชีวภัณฑ์ที่ส่งมอบ จำนวน 12,161.85  ตัน ซึ่งจะมีการส่งมอบภายในเดือนมิถุนายน 2568

กิจกรรมที่ 2 สนับสนุนการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชไร่ และพืชสวนแก่เกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่  ลำปาง พะเยา น่าน และแม่ฮ่องสอน โดยการสนับสนุนเมล็ดพันธุ์พืช 26.27 ตัน และอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร 67 ราย ดังนี้

1.1 เมล็ดพันธุ์ถั่วเหลืองกวก.เชียงใหม่ 60 ชั้นพันธุ์ขยาย (ศวม.เชียงใหม่ และ ศวพ.น่าน)

    – จ.เชียงใหม่ อ.แม่ริมและ อ.แม่แตง 10.26 ตัน และอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยี  การผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วเหลือง” แก่เกษตรกร 22 ราย

    – จ.น่าน 3.44 ตัน และอบรมเกษตรกรหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช” แก่เกษตรกร 15 ราย

    1.2 เมล็ดพันธุ์ถั่วลิสงชั้นพันธุ์ขยาย (ศวพ.ลำปาง, ศวพ.แพร่ และ ศวพ.แม่ฮ่องสอน)

       – จ.ลำปาง อ.แม่ทะ 2 ตัน (รายเดี่ยว 1 ราย 2 ไร่ และเครือข่าย 9 ราย 14 ไร่) และอบรมหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ถั่วลิสง” 10 ราย

         – จ.พะเยา ต.สระ อ.เชียงม่วน 1.38 ตัน 7 ราย 11.5 ไร่

         – จ.แม่ฮ่องสอน อ.แม่ลาน้อย และ อ.เมือง 2.24 ตัน

      1.3 เมล็ดพันธุ์ข้าวโพดเทียน ชั้นพันธุ์ขยาย (ศวพ.แพร่ และ ศวพ.น่าน)

           – จ.พะเยา ต.สระ อ.เชียงม่วน 4.2 ตัน

           – จ.น่าน 2.63 ตัน และอบรมเกษตรกรหลักสูตร “เทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์พืช” 20 ราย

        1.4 เมล็ดพันธุ์ถั่วเขียว 0.12 ตัน อ.แม่ลาน้อย และ อ.เมือง จ.แม่ฮ่องสอน (ศวพ.แม่ฮ่องสอน) ซึ่งจะมีการดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2568

           กิจกรรมที่ 3 สนับสนุนเกษตรกรผลิตก้อนเชื้อเห็ดเศรษฐกิจ ดำเนินการในพื้นที่ จ.เชียงใหม่ ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ พะเยา เชียงราย

          1. สนับสนุนก้อนเชื้อเห็ด ได้แก่ เห็ดนางฟ้าภูฏาน เห็ดนางรมสีเทา เห็ดขอนขาว เห็ดหอม และเห็ดโคนน้อย แก่เกษตรกร 209 ราย แบ่งเป็นรายเดี่ยวและรายกลุ่ม จำนวน 404,800 ก้อน
          2.  อบรมให้ความรู้แก่เกษตรกร จำนวน 2 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรเทคโนโลยีการผลิตเห็ดเศรษฐกิจ และ หลักสูตรการแปรรูปสินค้าเห็ดเพิ่มมูลค่าเพื่อสร้างความยั่งยืน จำนวน 550 ราย
          3. สนับสนุนโรงเรือนต้นแบบ 35 โรงเรือนๆ ละ 2,000 ก้อน รวม 70,000 ก้อน

          คาดว่าจะสร้างรายได้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัยพิบัติในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน 7 จังหวัด เป็นเงิน 5,016,000 บาท เกษตรกรได้รับความรู้เรื่องการผลิตเห็ด และการแปรรูปเพื่อนำไปต่อยอดอาชีพต่อไป

          กิจกรรมที่ 4 สนับสนุนปัจจัยการผลิต ปริมาณสารชีวภัณฑ์รวม 3.02 ตันเกษตรกรที่ได้รับ 5,704 ราย พื้นที่ 43,083.28  ไร่ ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย และพะเยา ดังนี้

          1. ลำไย จังหวัดพะเยา เชียงใหม่ ลำพูน เชียงราย

          2. ทุเรียน จังหวัดพะเยา เชียงใหม่

          3. ส้มเขียวหวาน จังหวัดพะเยา เชียงใหม่

          โดย จ.เชียงใหม่ เกษตรกร 1,293 ราย พื้นที่ 7,442 ไร่ ปริมาณชีวภัณฑ์ 51,329 กก. จ.ลำพูน เกษตรกร 2,768 ราย พื้นที่ 5,689 ไร่  ปริมาณชีวภัณฑ์ 19,827 กก. จ.เชียงราย  เกษตรกร 356 ราย พื้นที่ 1,952 ไร่  ปริมาณชีวภัณฑ์ 13,664 กก. จ.พะเยา เกษตรกร 1,643 ราย พื้นที่ 28,106 ไร่  ปริมาณชีวภัณฑ์ 196,747 กก.

          สนับสนุนปัจจัยการผลิต ได้แก่ เชื้อราไตรโคเดอร์มา ฮาร์เซียนัม DOA-TH50  บาซิลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ BS-DOA24  และบาซิลัส ซับทิลิส สายพันธุ์ 20W16/20W33

          กิจกรรมที่ 5 การซ่อมแซมและฟื้นฟูเครื่องจักรกลเกษตรขนาดเล็กหลังน้ำท่วม ดำเนินการในพื้นที่ จ. เชียงใหม่ เชียงราย พะเยา ลำพูน ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัย เกษตรกรที่ลงทะเบียนเข้าร่วม 1,060 ราย จำนวนเครื่องมือที่ได้รับการซ่อมแซม 1,340 เครื่อง และอยู่ในระหว่างการจัดซื้ออะไหล่ จำนวน 532 ชุด คาดว่าจะออกจุดบริการได้ในเดือนกรกฎาคม 2568

          อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวในตอนท้ายว่า การประชุมติดตามโครงการในครั้งนี้ สะท้อนถึงความมุ่งมั่นของกรมวิชาการเกษตร ในการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยพิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ผ่านการสนับสนุนพันธุ์พืช ปัจจัยการผลิต และการฟื้นฟูศักยภาพการผลิตในทุกมิติ เพื่อให้เกษตรกรสามารถฟื้นตัวได้อย่างยั่งยืน

          Related
          แชท